ผลการใช้รูปแบบการสอนการคิดแก้ปัญหาอนาคตที่มีต่อความสามารถ ในการคิดแก้ปัญหาในวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • ศิริขวัญ เบ็ญจกรรณ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การคิดแก้ปัญหาอนาคต; ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา; ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาในวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบการคิดแก้ปัญหาอนาคต 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบการคิดแก้ปัญหาอนาคต  ใช้ระเบียบวิธีวิจัย เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) ประชากรสำหรับการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านดอนปิน อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561

ผลการวิจัยพบว่า

1) นักเรียนได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบการคิดแก้ปัญหาอนาคต มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดแก้ปัญหาในวิชาวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 2) นักเรียนได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบการคิดแก้ปัญหาอนาคต
มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้เรื่อง มนุษย์และสิ่งแวดล้อม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

การสอนโดยใช้รูปแบบการสอนการคิดแก้ปัญหาอนาคตสามารถพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาในวิชาวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ให้สูงขึ้นได้

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

ทิศนา แขมมณี. (2544). ศาสตร์การสอนเพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: บพิธการพิมพ์.

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นันทิยา บุญเคลือบ. (2540). มาตรฐานการศึกษาวิทยาศาสตร์. สสวท. 25 (99): 7-12.

ประพันธ์ศิริ สุเสาวัจ. (2551). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ประพันธ์ศิริ.

พิทยา ณ พัทลุง. (2554). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการแก้ปัญหาอนาคตตามแนวคิดของทอร์แรนซ์กับรูปแบบการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีระดับความสามารถทางการเรียนต่างกัน. ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

พูนสุข อุดม. (2553). ครูผู้สอน : การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. สสวท. 38(165), 60.

ภาวินี บุญธิมา. (2553). การจัดกิจกรรมแนะแนวด้วยเทคนิคการคิดแก้ปัญหาอนาคตตามแนวคิดของ ทอร์แรนซ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา และการแนะแนว. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

มิ่งขวัญ ศิริบุญ. (2554). การเปรียบเทียบผลของการฝึกคิดแบบมีประสิทธิภาพของเดอโบโนและการคิดแบบแก้ปัญหาอนาคตตามแนวคิดของทอร์แรนซ์ ที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวิสุทธิกษัตรี อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเอกจิตวิทยาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2547). เทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้สำหรับครูมืออาชีพ. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิวดล กุลฤทธิการ. (2554). การคิดเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์การศึกษาและการสอน.  บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกระทรวงศึกษาธิการ. (2545). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอน.

Bruner, J. (1971). The relevance of eduation. New York. NY : Norton & Co.

Klopfer, L.E. (1971). Evaluation of Learning in Science, Handbook on Formative and Summative Evaluation of Stu Learning. New York : McGraw - Hill Book Company.

Osborn, A.F. (1963). Creative Imagination. 3rd ed. New York : Charles Scridners Sons.

Piaget, J. (1962). The Origins of Intelligence in Children. New York : W.W. Norton.

Torrance. Palue E. (1969). Guiding Creative Talent. New Delhi : Prentice – Hall of India Private Limited.

Torrance. Palue E. (1972). Creative Learning Talent. New York : Macmillan.

Tuckman. Bruce W. (1999). Conducting Educational Research. 5th ed. U.S.A. : Harcourt Brace Collage.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-29