หลักการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุของชุมชนเทศบาลตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • วสันต์ วิเชียร

คำสำคัญ:

หลักการมีส่วนร่วม, การดูแลผู้สูงอายุ, ชุมชนเทศบาลตำบลหนองหอย

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งสารนิพนธ์เรื่อง “หลักการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุของชุมชนเทศบาลตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุของชุมชนเทศบาลตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ รวบรวมข้อมูลจากการสำรวจพื้นที่ สังเกตสภาพชีวิตชองชุมชน การสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม

ผลการวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุในตำบลหนองหอยได้ป่วยเป็นโรคเรื้อรังมีจำนวนมาก และโรคเรื้อรังนี้ยังไม่แสดงอาการและส่งผลต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุอีกจำนวนหนึ่งก็จัดว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงของโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ โรคข้อเสื่อม โรคประสาทและสมอง โรคปอด โรคกระเพาะอาหารและโรคซึมเศร้า การดูแลผู้สูงอายุในชุมชนจะเน้นการดูแลสุขภาพโดยทั่วไปขั้นพื้นฐาน ในผู้สูงอายุกลุ่มที่หนึ่ง การฟื้นฟูสภาพร่างกายในผู้สูงอายุกลุ่มที่สองและการดูแลแบบประคับประคองในผู้สูงอายุกลุ่มที่สาม โดยกำหนดรูปแบบของการดูแลให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันปัญหาและอุปสรรคคือ การขาดแคลนบุคลากรด้านสุขภาพ ด้านการฟื้นฟูสภาพร่างกายของผู้สูงอายุ ปัญหาหน่วยงานที่ทำงานแยกส่วนทำให้มีความซ้ำซ้อนของการบริการหรือการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน

References

จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ และ คณะ. (2547). ระบบวิจัยสุขภาพ : สมองระบบของสุขภาพ. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

ชาลิณี ภัทรพงศ์. (2550). การปฏิบัติของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลชุมชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ดุสิต ปิยวรกุล. (2551). ศักยภาพของชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพด้านการออกกำลังกายของผู้สูงอายุใน ตำบลวังเหนือ จังหวัดลำปาง. การค้นคว้าแบบอิสระ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลชุมชนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทฤษฎีการสื่อสารของ ชแรมม์. สืบค้น 15 พฤศจิกายน 2559. จาก www.baanjomyut.com/library/ communication_theory/03_4.html.

ธราธร ดวงแก้ว และ หิรัญญา เดชอุดม. (2550). พฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ประชาธิป กะทา. (2551). มิติทางสังคมวัฒนธรรมของการเจ็บป่วยเรื่อรัง. ใน วัฒนธรรมสุขภาพกับการเยียวยาแนวคิดทางสังคมและมานุษยวิทยา. นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ บรรณาธิการ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: สำนักงานวิจัยสังคมและสุขภาพ.

ปาณิศา ติใหม่. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุบ้านไร่ป่าคา ตำบลท่าตุ้ม อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. การค้นคว้าแบบอิสระ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลชุมชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ. วารสารคลินิก เล่มที่: 288 (ธันวาคม 2551) คอลัมน์: คู่มือครอบครัว นักเขียนหมอชาวบ้าน: ผศ.พญ.สายพิณ หัตถีรัตน์ นักเขียนรับเชิญ: นศพ.ศุภชัย ครบตระกูลชัย,นศพ.อรรัมภา ชื่นวิภาสกุล. สืบค้น 15 มกราคม 2560. จาก https://www.doctor. or.th/clinic/detail/7186.

รังสิยา นารินทร์. (2558). คู่มือแนวทางสำหรับนักบริบาลเพื่อการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: สยามพิมพ์นานา.

ราม รังสินธุ์ และคณะ. (2554). รายงานผลการวิจัย เรื่อง “การประเมินผลการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2553”. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ: กระทรวงสาธารณสุข.

วิโรจน์ แซมรัมย์. (2554). การนำนโยบายระบบการบริการการแพทย์ฉุกเฉินไปปฏิบัติ. วารสารพัฒนาสังคม, 13 (2), 112-130.

วิศาล คันธารัตนกุล. (2555). การออกกำลังกายในภาวะโรคเรื้อรัง. ใน สรุปรายงานหลังการประชุมฟื้นฟูวิชาการสำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติเรื่องพยาบาลเวชปฏิบัติกับการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน. กรุงเทพมหานคร: คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.

องค์การอนามัยโลก. (2556). รายงานอนามัยโลก ประจำปี 2553 การคลังระบบสุขภาพ เส้นทางสู่ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า. วิรัตน์ เอื้องพูลสวัสดิ์ บรรณาธิการ. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

Downloads

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2018-07-07