การเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์คะฉี่น บ้านใหม่สามัคคี ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิต, กลุ่มชาติพันธุ์คะฉี่นบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของชาติพันธุ์คะฉี่น บ้านใหม่สามัคคี ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จัดหวัดเชียงใหม่ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลจากการสำรวจพื้นที่ สังเกตสภาพชีวิตชองชุมชน การสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม
ผลการวิจัย พบว่า ชาวคะฉี่น มีด้านความเชื่อ ศาสนาแบบดั้งเดิม วัฒนธรรม และประเพณี ที่ได้เชื่อถือกันมายุคต่อยุคจนถึงปัจจุบัน ภายหลังจากได้รับการยอมรับการเป็นชนเผ่าแล้วชีวิตความเป็นอยู่ค่อยๆ พัฒนาขึ้นมาตามลำดับ วัฒนธรรม และประเพณีของชนชาติพันธุ์คะฉี่น ได้เปลี่ยนแปลงไปตามสังคมที่เปิดกว้าง สามารถแสดงออกได้อย่างเปิดเผย เช่น ด้านวัฒนธรรมประเพณีการแต่งกาย ภาษา และประเพณีการเต้นรำ แต่อย่างไรก็ตามยังมีบางส่วนที่ยังไม่สามารถยอมรับตามกฎหมาย ดังการศึกษาที่ทุกคนก็เข้าใจตรงกันว่าการศึกษาเป็นสิ่งที่ดี แต่ขึ้นอยู่กับการขวนขวายในการเรียนรู้ศึกษาที่แตกต่างกัน บางคนส่งเสริมลูกหลานให้การศึกษาอย่างดีก็มีอนาคตสดใส บางคนไม่มีโอกาสให้ลูกหลานให้การศึกษาได้จึงคล้อยตามกระเสค่านิยมจึงแตกต่างกันในความรู้ความเข้าใจกันอย่างมาก แต่ประชาชนชาวคะฉี่นก็มีความสุขในความเป็นอยู่ในชีวิตปัจจุบันเป็นอย่างดี
References
สุดฤทัย อรุณศิโรจน์ และ เฉลิมชัย ไชยชมภู. (2560). การพัฒนาแบบฝึกการออกเสียงภาษาไทยมาตรฐานของนักเรียนไทยเชื้อสายคะฉิ่นระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนบ้านแม่นะ ตําบลเมืองนะ อําเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 11(1), 89-98.
อัคราชัย เสมมณี. (2558). คนจีนยูนนานมุสลิมในเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2 (2), 39-49.