การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีต่อวิถีชีวิตชนเผ่าละว้าหมู่ที่ 11 ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ผู้แต่ง

  • พระมงคล สุมงฺคโล

คำสำคัญ:

การเปลี่ยนแปลงทางสังคม, วิถีชีวิต, ชนเผ่า

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีต่อวิถีชีวิตของชนเผ่าละว้า  2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของชนเผ่าละว้า ตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูลวิจัยคือประชากรที่อาศัยอยู่ในหมู่ที่ 11 จำนวน 30 คนคือพระสงฆ์ ผู้อาวุโส ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน ครู กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มพ่อบ้าน กลุ่มเยาวชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ นักวิชาการจากโครงการหลวงแม่สะเรียง เก็บข้อมูลโดยการสำรวจพื้นที่ การสังเกตสภาพชีวิตของชุมชน การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการสนทนากลุ่ม แล้วนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปของการพรรณนาตามปรากฏการณ์ที่พบเห็น

ผลการวิจัยพบว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคมต่อวิถีชีวิตของชนเผ่าละว้ามีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างมาก มีผลมาจากปัจจัย 2 ด้านคือ ปัจจัยภายในคือการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ลักษณะครอบครัวและที่อยู่อาศัย ความต้องการทางด้านวัตถุ การยอมรับประเพณีและวัฒนธรรมใหม่ ๆ วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป ความเชื่อ ประเพณีและวัฒนธรรม ส่วนปัจจัยภายนอก ได้แก่ การพัฒนาของภาครัฐ การจัดการศึกษา เศรษฐกิจ และความเจริญด้านเทคโนโลยีจากภายนอก

การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชาวละว้าพบว่า มีการเปลี่ยนแปลงด้านครอบครัวและประชากรด้านภูมิศาสตร์และสภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจด้านการปกครองด้านการศึกษาด้านประเพณีและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงนำไปสู่สภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่บางกรณีนำไปสู่ปัญหาทางสังคม เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาด้านการเสื่อมถอยทางศีลธรรม ส่วนกระบวนการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตสมาชิกในชุมชนมีค่านิยมแบบใหม่ มีการรับวัฒนธรรมจากสังคมภายนอกเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวันของตน ซึ่งส่งผลทางด้านสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และสภาพแวดล้อม ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

References

พิมุข ชาญธนะวัฒน์. (2546). การปรับปรนเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของชาวไทยใหญ่.กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย.

พระอินจันทร์ กนฺตจารี. (ศรีบุญ). (2549). วิถีชีวิตการเปลี่ยนแปลงทางด้านวัฒนธรรมของชุมชน. ชาวยองชุมชนบ้านดอนปีน ตำบลแช่ช้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

วราคม ทีสุกะ. (ม.ป.ป., 2544). ความคิดทางสังคมและทฤษฎีทางสังคมวิทยา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สร้างสรรค์. สังคมและวัฒนธรรมไทยกรุงเทพมหานคร: ศูนย์พัฒนาศึกษา.

วันเพ็ญ บุญประกอบ. (2540). สถาบันครอบครัว. สืบค้น 4 มิถุนายน 2549. https://www.msociety.go.th/article_attach/3768/4500.doc.

สมศักดิ์ ศรีสันติสุข และ สุวรรณ บัวบาน. (2527). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนสองแห่งในจังหวัดขอนแก่น กรณีศึกษาหมู่บ้านอัมพวัน และหมู่บ้านคำแก่นคูณ. รายงานการวิจัย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อดิศร ศักดิ์สูง. (2550). ความสำคัญของโลกาภิวัตน์. สืบค้น 15 มกราคม 2559. https://ge.kbu.ac.th/Download9_files/img/09.pdf

อารีย์ พานทอง. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของปกาเกอะญอ บ้านวัดจันทร์ หมู่ 3 ตำบลบ้านจันทร์ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

Downloads

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2018-07-07