แนวทางการประยุกต์ใช้หลักฆราวาสธรรมในการทำงานของบุคลากร สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • สุภาพ สิทธิพานิช

คำสำคัญ:

การประยุกต์, หลักฆราวาสธรรม, บุคลากร

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาบริบทการทำงานของสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้หลักฆราวาสธรรมในการทำงานของบุคลากรสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การดำเนินการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มย่อย

ผลการวิจัย พบว่า บริบทการทำงานของบุคลากรสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นองค์กรที่มีภารกิจมุ่งเน้นให้บริการวิชาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแก่นักศึกษา บุคลากร ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน และงานการเรียนการสอนในทุกระดับให้มีประสิทธิภาพ

แนวทางการประยุกต์ใช้หลักฆราวาสธรรมในการทำงานของบุคลากรสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้วิจัยได้นำเอาวิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยมร่วม ในการบริหารจัดการองค์กร เพื่อทราบบริบทและปัญหาในการทำงานของบุคลากร พร้อมทั้งวิเคราะห์หลักฆราวาสธรรม 4 สำหรับเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา

พันธกิจที่ให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและหน่วยสนับสนุนพันธกิจ ส่วนใหญ่ยึดหลักขันติ ความอดทน เนื่องจากมีการติดต่อประสานงานกับบุคคลภายนอกองค์กรที่มีพฤติกรรมแตกต่างกัน บุคลากรต้องจัดการกับข้อร้องเรียนของผู้รับบริการด้วยความอดทน

References

กาญจนา พิมพ์สุข. (2556). การประยุกต์ใช้หลักสาราณียธรรม 6 ในการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสุตธรรมวิสุทธิ์ (วีระชัย ฐิตธมฺโม). (2556). การศึกษาวิเคราะห์หลักขันติในการดำเนินชีวิตของชาวตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูประดิษฐ์สมณคุณ. (2556). การนำหลักสังคหวัตถุธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรเทศบาลตำบลจตุรพักตรพิมาน อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

บดินทร์ วิจารณ์. (2552). ชุดเครื่องมือการพัฒนาองค์การ ตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ: หมวด 5 การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล. กรุงเทพมหานคร: วิชั่นพริ้นท์แอนด์มีเดีย.

ประครอง พงษ์ชนะ. (2556). การบริหารงานบุคคลตามหลักฆราวาสธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2018-07-07