MONK CHAT: รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนากับชาวต่างชาติของพระสงฆ์ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนา, ชาวต่างชาติ, ของพระสงฆ์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษารูปแบบและวิธีการในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา (2) เพื่อศึกษากำเนิดและพัฒนาการเผยแผ่พระพุทธศาสนากับชาวต่างชาติของพระสงฆ์ในโครงการ MONK CHAT เขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และ (3) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนากับชาวต่างชาติของพระสงฆ์ในโครงการ MONK CHAT เขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
โครงการ MONK CHAT มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) วิทยาเขตเชียงใหม่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2542 เพื่อเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องราวของพระพุทธศาสนา จึงมีรูปแบบหลักในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอยู่ 3 รูปแบบคือ การสนทนา ถามตอบ การบรรยาย และการอบรมวิปัสสนากรรมฐาน ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 โครงการ MONK CHAT มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.) วิทยาเขตล้านนา ได้เกิดขึ้นเพื่อเปิดเวทีให้พระนักศึกษากลุ่มหนึ่งที่ต้องการจะฝึกภาษาอังกฤษและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรมไทย และเรื่องทั่วไป จึงทำให้มีรูปแบบหลักในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและวัฒนธรรม เป็นรูปแบบการสนทนาถามตอบเรื่องรอบตัวไปสู่คำสอนเชิงลึกเพื่อเลือกเฟ้นธรรมสู่การปฏิบัติในชีวิตประจำวันอย่างมีพัฒนาการที่น่าสนใจ
ผลการดำเนินงานของโครงการ MONK CHAT ของมหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งมีความสำเร็จมาก ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกแก่ชาวต่างชาติ ที่เข้าร่วมในโครงการในระดับดีมาก (มจร. 96 % ระดับดีมาก และ มมร. 92% ระดับดีมาก) และมีชาวต่างชาติเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 5,019 คน (แยกเป็น มจร. 3,367 คน และ มมร. 1,652 คน จากข้อมูลในปี 2559) ทางโครงการได้พัฒนารูปแบบการทำงานจากการสื่อสารทางพุทธศาสนามาสู่การสร้างเครือข่ายการทำงานเพื่อส่งเสริมชาวต่างชาติให้มีศรัทธาในพุทธศาสนาเพิ่มมากขึ้น
References
จำนงค์ ทองประเสริฐ. (2524). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในเอเชียอาคเนย์. กรุงเทพมหานคร : อภิธรรมมูลนิธิมหาธาตุวิทยาลัย.
ชูศักดิ์ ทิพย์เกสรและคณะ. (2440). พระพุทธเจ้าสอนอะไร. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. ศ. (2553). เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : ศรีอนันท์กาพิมพ์.
พระครูโสภณกวีวัฒน์. (2552). สมโภชพระวิหารหลวง วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่ : นันทพันธ์.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พุทธวิธีในการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : พิมพ์สวย จำกัด.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฏกภาษาบาลี. ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2535.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฏกภาษาไทย. ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. อรรถกถาบาลี ฉบับมหาจุฬาอัฏฐกถา . กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย, 2538.