วิเคราะห์แนวคิดทางจริยศาสตร์ของเหลาจื้อที่ ปรากฎในวรรณกรรมของโกวเล้ง

ผู้แต่ง

  • พระชวนชัย สุทฺธปญฺโญ

คำสำคัญ:

เต๋า เต็ก เก็ง, จริยศาสตร์เหลาจื้อ, วรรณกรรมโกวเล้ง

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง “วิเคราะห์แนวคิดทางจริยศาสตร์ของเหลาจื้อที่มีปรากฏในวรรณกรรมของโกวเล้ง” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจริยศาสตร์ของเหลาจื้อในคัมภีร์เต๋า เต็ก เก็ง และเพื่อวิเคราะห์หาแนวคิดทางจริยศาสตร์ของเหลาจื้อที่ปรากฏในวรรณกรรมของโกวเล้ง

ผลศึกษาพบว่า จุดมุ่งหมายหลักของเหลาจื้อคือ การดำเนินชีวิตตามธรรมชาติมีชีวิตอย่างเรียบง่าย มีความอดทน อ่อนน้อมถ่อมตน ให้สอดคล้องกับธรรมชาติ จริยศาสตร์สำคัญของเหลาจื้อในคัมภีร์เต๋าเต็กเก็ง คือ ๑. จื้อใจ รู้จักตัวเองให้ถูกต้อง ก็คือการรู้จักธรรมชาติของชีวิต, ๒. จื้อเซ่ง ชนะตัวเองได้ ก็คือการปฏิบัติตามกฎธรรมชาติของชีวิตจนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาตินั้น, ๓. จื้อจก มีความรู้จักพอ ไม่ทะเยอทะยาน คือมีความสันโดษ, ๔. จื้ออีเต๋า มีเต๋าเป็นจุดหมายของชีวิต และทั้งหมดนี้คือชีวิตในอุดมคติของเต๋า

วรรณกรรมของโกวเล้งนี้ ตัวละครทุกตัวละครมีลักษณะเด่นเฉพาะ มีอิสรเสรีในการเลือกใช้ชีวิต และไม่ยอมถูกกฎเกณฑ์ของสังคมจำกัด มีคุณธรรม มีจิตใจห้าวหาญ รักความยุติธรรม มีกิเลสตัณหาความรู้สึกเหมือนปุถุชน มีแนวคิดทางจริยศาสตร์ของเหลาจื้อปรากฎให้เห็นในลักษณะของการกระทำตามหน้าที่ แสดงออกมาในรูปแบบของการกระทำต่างๆ ในแต่ละช่วงของชีวิต มีมโนธรรมประจำใจ มีความรักเพื่อนมนุษย์ ไม่สนใจเกียรติยศ ใช้ชีวิตเรียบง่าย ไม่เห็นแก่ตัว ทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นและสังคม ไม่แสวงหาความฟุ่มเฟือยทางด้านวัตถุ ประการสำคัญที่พบจากวรรณกรรมของโกวเล้งคือ อุดมคติและปรัชญาของผู้เขียน สะท้อนให้เห็นถึงแก่นแท้แห่งชีวิตและสังคมมนุษย์ ได้ในสังคมแห่งความจริง

References

โกวเล้ง. แปลโดย น. นพรัตน์. (2517). ชุดอาวุธทั้งเจ็ดตอนที่หนึ่ง กระบี่ยั่งยืนยาว. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพฯ : สยามอินเตอร์บุ๊ค.

โกวเล้ง. แปลโดย น. นพรัตน์. (2517). ชุดอาวุธทั้งเจ็ดตอนที่สอง ขนนกยูง. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพฯ : สยามอินเตอร์บุ๊ค.

โกวเล้ง. แปลโดย น. นพรัตน์. (2517). ชุดอาวุธทั้งเจ็ดตอนที่สาม ดาบมรกต. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพฯ : สยามอินเตอร์บุ๊ค.

โกวเล้ง. แปลโดย น. นพรัตน์. (2518). ชุดอาวุธทั้งเจ็ดตอนที่สี่ ห่วงมากรัก (แค้นสั่งฟ้า). พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพฯ : สยามอินเตอร์บุ๊ค.

โกวเล้ง. แปลโดย น. นพรัตน์. (2518). ชุดอาวุธทั้งเจ็ดตอนที่ห้า ทวนทมิฬ. พิมพ์ครั้งที่ 18 กรุงเทพฯ : สยามอินเตอร์บุ๊ค.

โกวเล้ง. แปลโดย น. นพรัตน์. (2521). ชุดอาวุธทั้งเจ็ดตอนที่หก ตะขอจำพราก. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพฯ : สยามอินเตอร์บุ๊ค.

โกวเล้ง. แปลโดย น. นพรัตน์. (2518). ชุดอาวุธทั้งเจ็ดตอนที่เจ็ด ยอดมือปราบ. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพฯ : สยามอินเตอร์บุ๊ค.

โกวเล้ง. เรียบเรียงโดย น. นพรัตน์. (2544). โกวเล้งมังกรเมรัย. กรุงเทพฯ : สยามอินเตอร์บุ๊ค.

ขวัญชัย ตั้งเรือนรัตน์. (2554). มโนทัศน์ที่คล้ายกันของปรัชญาเต๋าและพุทธปรัชญานิกายเซน : ศึกษาเชิงเปรียบเทียบ.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จงดี ยั่งยืน. (2527). การศึกษาเปรียบเทียบแนวความคิดทางอภิปรัชญาและจริยศาสตร์ ในคัมภีร์ภควัทคีตาและคัมภีร์เต๋าเต้อจิง. วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์.(2530). คัมภีร์เต๋าฉบับสมบูรณ์พร้อมอรรถกถา. พิมพ์ครั้งที่ 3. เชียงใหม่ : จารึก.

ชาตรี แซ่บ้าง. (2543). ศึกษาคัมภีร์เต้าเต้อ. กรุงเทพมหานคร : สุขภาพใจ.

โชติช่วง นาดอน. (2548). เต๋า เต็ก เก็ง. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : ข้าวหอม.

ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์. (2545). ศาสนาและปรัชญา ในจีน ทิเบต และญี่ปุ่น. กรุงเทพมหานคร : สุขภาพใจ.

ปราการ กรอิสรานุกูล. (2547). ความหมายและคุณค่าของสตรีในวรรณกรรมของโกวเล้ง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พาสนา แพรวพรรณ. (2536). ยุทธจักรมังกรโบราณ. กรุงเทพมหานคร : คนหนังสือ.

วิทย์ วิศทเวทย์. (2532). จริยศาสตร์เบื้องต้น.พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์.

สกล นิลวรรณ. (2522). ปรัชญาจีน. กรุงเทพมหานคร : วิทยาลัยครูสวนดุสิต.

สุวรรณา สถาอนันท์. (2539). กระแสธารปรัชญาจีน ข้อโต้แย้ง ธรรมชาติ อำนาจ และจารีต. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสถียร โพธินันทะ. (2544). เมธีตะวันออก. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : สร้างสรรค์บุ๊ค.

อัมพรพรรณ อุปพงษ์. (2542). ความสอดคล้องระหว่างปรัชญากับพฤติกรรมของตัวละครเอกในนวนิยายจีนกำลังภายในของโกวเล้งฉบับแปลโดย ว.ณ เมืองลุง และ น.นพรัตน์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เอื้อนจิตร จั่นจตุรพันธ์. (2524). วิเคราะห์วรรณกรรมจีน(แปล)ประเภทกำลังภายใน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Ch’u Ta-kao. (1976). Tao Te Ching. London: Unwin Paperback.

Chan Wing Tsit. (1994). A Source Book in Chinese Philosophy. Princeton: Princeton Englewood Cliffs: Prentice-Hall.
Fung Yu-lan. (1976). The Spirit of Chinese Philosophy. Boston: Beacon Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-07