การศึกษาเชิงวิเคราะห์กฎแห่งกรรมที่ปรากฏในอรรถกถาธรรมบท

ผู้แต่ง

  • พระมหาสาคร วรธมฺโมภาโส

คำสำคัญ:

กฎแห่งกรรม, อรรถกถาธรรมบท

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) เพื่อศึกษาความหมายและประเภทกฎแห่งกรรมในพระไตรปิฎก 2) เพื่อศึกษากฎแห่งกรรมที่ปรากฏในอรรถกถาธรรมบท 3) เพื่อวิเคราะห์กฎแห่งกรรมที่ปรากฏในอรรถกถาธรรมบทที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย โดยมีวิธีดำเนินการวิจัย โดยการศึกษาข้อมูลจากเอกสารคือคัมภีร์พระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีฉบับแปลอรรถกถา คัมภีร์ธัมมปทัฏฐกถา ตลอดถึงเอกสาร ตำรา วิชาการ และงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

ผลการวิจัยพบว่า 1) กรรม หมายถึง การกระทำทาง กาย วาจา ใจ ทั้งทางดีและไม่ดีที่ประกอบด้วยเจตนา และกฎแห่งกรรม คือผลของการกระทำของมนุษย์ หรือผลของการกระทำที่ประกอบจากเจตนา 2) กฎแห่งกรรมในอรรถกถาธรรมบทนั้นแสดงให้เห็นถึงกรรม 12 อย่างชัดเจน ในเรื่องของกระบวนการการทำหน้าที่ของกรรมเกี่ยวข้องกันอย่างมากกับระยะเวลาที่ให้ผล การให้ผลตามหน้าที่ และการให้ผลตามระดับความแรงของกรรม 3) กฎแห่งกรรมที่ปรากฏในอรรถกถาธรรมบทมีอิทธิพลต่อสังคมไทยหลายด้านคือ ความเชื่อกรรม หลักคำสอนเรื่องกรรม พฤติกรรม การดำเนินวิถีชีวิตระดับครอบครัว ระดับสังคม ขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ การแก้กรรมและคุณค่าทางจริยศาสตร์ เป็นต้น ทำให้เข้าใจเรื่องกรรมได้อย่างถูกต้อง

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณ
ราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2532). อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาอรรถกถา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ธมฺมปทฏฺฐกถาวณฺณนา ปฐโม ภาโค-อฏฺฐโม ภาโค. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2018-07-07