ล้านนา,คติความเชื่อ และกระบวนการสร้างความรู้แบบสหวิทยาการ ของนักวิชาการตะวันตก
คำสำคัญ:
คติความเชื่อ, วิถีชีวิตล้านนา, สหวิทยาการบทคัดย่อ
บทความนี้เรียบเรียงจากรายงานวิจัยเรื่อง ล้านนา คติความเชื่อ และกระบวนการ
เสริมสร้าง ความรู้แบบสหวิทยาการของนักวิชาการตะวันตก เพื่อ 1) ศึกษาคติความเชื่อ และวิถีชีวิตของคนล้านนา ในมุมมองของนักคิดนักเขียนชาวตะวันตก 2) ศึกบทบาทและกระบวนการเสริมสร้างความรู้แบบสหวิทยาการของชาวตะวันตกต่อล้านนา
3) ศึกษาวิเคราะห์ มุมมองของนักคิดตะวันตกที่มีต่อคติความเชื่อ และวิถีชีวิตของคนล้านนา บทบาทและกระบวนการเสริมสร้างความรู้แบบสหวิทยาการของชาวตะวันตกต่อล้านนา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ผู้วิจัยใช้เอกสารเป็นข้อมูลการศึกษา และได้สร้างแบบสัมภาษณ์ขึ้นมา บันทึกการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง 2 ท่าน ด้วยเครื่องบันทึก ผลของการศึกษาพบว่า 1. คติความเชื่อ และวิถีชีวิตของคนล้านนา ในมุมมองของนักเขียนชาวตะวันตก คือ คอนราด ชิงส์ชิลล์ (Konrad Kingshill) และ เรจินอลด์ เล เม (Reginald le May) ในการศึกษา 6 เรื่อง ในแต่ละเรื่องส่วนใหญ่มีผสมผสานกับความเชื่อเรื่องวิญญาณและสิ่งเหนือธรรมชาติด้วย 2. ดร.ฮันส์ เพนธ์ (Hans Penth) เป็นผู้มีบทบาทในงานการจารึกของล้านนา นำความรู้ทางด้าน วิทยาศาสตร์ เช่น ค้นพบวิธีการละลายน้ำรัก ชาดและทองออก โดยไม่ทำลายวัตถุจารึก นำหลักการด้านภาษาศาสตร์มาบูรณาการกับประวัติศาสตร์ โบราณคดี และภูมิศาสตร์ ขณะที่ศาสนาจารย์แดเนียล แมคกิลวารี(Daniel McGilvary) และคณะ ได้นำกระบวนการในการสร้างความรู้สหวิทยาการด้านต่างๆ เช่น ด้านวิทยาศาสตร์ การแพทย์และการศึกษา 3. นักเขียนตะวันตกบันทึกเหตุการณ์ตามที่ตนได้พบเห็น หรือจากการสัมภาษณ์ แต่ความเข้าใจบางประการมีความคลาดเคลื่อน เช่น เช่นศีลข้อที่ 1 เขียนว่า I reverently promise not kill animalsÖÖ. ศีลข้อที่ 3 I reverently promise not to follow lustful love. ซึ่งไม่สื่อความหมายตรงกับหลักที่แท้จริง
References
ประเทศ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
โครงการเสริมสร้างและปรับแต่งอัตลักษณ์ เพื่อสร้างเสน่ห์การท่องเที่ยวการค้าและการ
ลงทุนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กิจกรรม ตามรอยอารยธรรมล้านนา. (2558).
ประเพณี อารยธรรมล้านนา คุณค่าและความเชื่อ, มปป. 7 กันยายน.
จิราภรณ์ ภัทราภานุภัทร. (2528). สถานภาพการศึกษาเรื่องคติความเชื่อของไทย.
กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชวิศา ศิริ. 2550. การค้าของอาณาจักรล้านา ตั้งแต่ต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 22. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ประสิทธ์ พงศ์อุดม. (ค.ศ. 1828-2003). “มิชชันนารีโปรเตสแตนต์กับการแพทย์และ
การสาธารณสุขในสังคมไทย : การวางรากฐานการแพทย์สมัยใหม่จาก
สยามสู่ล้านนา”, ใน 175 ปีพันธกิจคริสต์ศาสนาโปรเตสแตนต์ในประเทศไทย.
พระมหาสุทิตย์อาภากโร (อบอุ่น). (2548).“ความรู้และภูมิป๎ญญาท้องถิ่นที่ปรากฏใน
วรรณกรรมพระพุทธศาสนา : เรื่องอานิสงส์และคัมภีร์ที่ใช้เทศน์ในเทศกาล
ต่างๆ ของล้านนา”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย :
มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย.
ทัศนีย์ ทองสว่าง. (2549). สังคมวิทยา. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
ภาคภูมิ พรหมชา, สาธิต ทิมวัฒนบรรเทิง. (2558). วารสารวิชาการและวิจัย
สังคมศาสตร์. ปีที่ 10 ฉบับพิเศษ (สหวิทยาการด้านมนุษย์ศาสตร์และ
สังคมศาสตร์ กรกฎาคม).
มณี พยอมยงค์. (2543). ประเพณีสิบสองเดือนล้านนาไทย. เชียงใหม่ : ส.ทรัพย์การพิมพ์.
สันติ เล็กสุขุม. (2538). ศิลปะภาคเหนือ : หริภุญชัย – ล้านนา. กรุงเทพมหานคร :
เมืองโบราณ.
เอกวิทย์ ณ ถลาง. (2544). ภูมิปัญญาล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สำนัก
พิมพ์อมรินทร์.
Biesanz, John and Mavis Biesanz. (1969). Introduction to Sociology. New
Jersey : Prentice Hall Inc.
Daniel McGilvary. (2001). A Half Century Among the Siamese and the
Lao An Autobiography. Bangkok: White Lotus Co.,Ltd, 1912,
reprint with new introduction.
Horton, Paul B. and Chester L. (1976). Hunt Sociology. New York : McGraw
– Hill Book Company.
Konrad Kingshill. (1991). Ku Daeng – Thirty Years Later A Village Study in
Northern Thailand, Northern Illinoise University.
Linda L. Lindsey and Stephen Beach. (2003). Essentials of Sociology. New
Jersey : Prentice Hall.
Reginald Le May. (1986). An Asian Arcady; The land and people of Northern
Siam, Bangkok: White Lotus co,.
Richard T. Schaefer. (2004). Sociology. New York : McGraw – Hill Book Company.
Rokeach, M. Beliefs.(1972). attitudes, and values: A theory of organization
and change. San Francisco: Jossey-Bass.