ภาวะผู้นำในการพัฒนาชุมชนต้นแบบตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงบ้านโป่ง ตำบลบ้านโป่ง อำเภองาว จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำ, พัฒนาชุมชน, เศรษฐกิจพอเพียงบทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ภาวะผู้นำในการพัฒนาชุมชนต้นแบบ เศรษฐกิจพอเพียงบ้านโป่ง หมู่ 4 ตำบลบ้านโป่ง อำเภองาว จังหวัดลำปาง 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง ตามบทบาทผู้นำบ้านโป่ง หมู่ 4 ตำบลบ้านโป่ง อำเภองาว จังหวัดลำปาง ประชากรที่ศึกษา จำนวน 30 คน ประกอบด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หัวหน้าคุ้มประจำหมู่บ้านโป่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านโป่ง นักวิชาการสาธารณสุข นักวิชาการพัฒนาชุมชน พระสงฆ์ และผู้นำชุมชน โดยใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูลคือ การสำรวจพื้นที่ การสัมภาษณ์ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การศึกษาเอกสาร และการสนทนากลุ่ม แล้วนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปของการพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 50 ñ 59 ปี มีสถานภาพสมรส มีระดับการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีอาชีพอิสระและระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งของผู้นำชุมชนอยู่ในระหว่าง 10 ñ 14 ปี ภาวะผู้นำในการพัฒนาชุมชนต้นแบบตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงบ้านโป่ง หมู่ 4 โดยภาพรวมมีคุณลักษณะที่ดีและมีภาวะผู้นำเหมาะสมในด้านผู้ประสานงาน ด้านบริหารสังคมและด้านบริหารโครงการ ส่วนปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง ตามบทบาทผู้นำบ้านโป่ง หมู่ 4 ส่วนใหญ่พบว่า งานล่าช้า ขาดความต่อเนื่อง ขาดการสนับสนุนจากหน่วยงานของภาครัฐ
References
คันธรส อยู่คง. (2555). ความร่วมมือของผู้นำชุมชนในการพัฒนาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงในตำบลน้ำแพร่ อำเภอหางดง จังหวัดของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง บ้านป่าไผ่ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต การเมืองและการปกครอง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ทองใบ สิงสีเทา. (2552). การพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงบ้าน รางแจง หมู่ที่ 9 ตำบลทาดิน อำเภอเดิมบงนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลป ศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี.
ธีรศักดิ์ กำบรรณารักษ์. (2549). การบริหารลูกค้าสัมพันธ์เชิงรุก. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บุญทัน ดอกไธสง. (2535). การจัดการองค์การ. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และเทคโนโลยีชนบท.
สมนึก คำใจหนัก. (2552). ภาวะผู้นำของกำนันและผู้ใหญ่บ้าน อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ต่อการเสริมสร้างเศรษฐกิจพอเพียง. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต การเมืองและการปกครอง.
สุภชัย เอาะน้อย. (2550). ภาวะผู้นำของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดขอนแก่น. รายงานการศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิต สาขาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อรุณ รักธรรม. (2547). หลักมนุษยสัมพันธ์กับการบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
John M Pliffner and Robert V. Presthus. (1965). Public Administration.
Eaglewood Cliffs.