การประยุกต์ใช้หลักเบญจศีลเบญจธรรมในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในโรงเรียนเทศบาลตำบลสันมหาพน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
การประยุกต์ใช้, หลักเบญจศีลเบญจธรรมบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักเบญจศีลเบญจธรรมในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในโรงเรียนเทศบาลตำบลสันมหาพน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการประยุกต์ใช้หลักเบญจศีลเบญจธรรมในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในโรงเรียนเทศบาลตำบลสันมหาพน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือวิจัยที่ใช้คือ1) การสำรวจพื้นที่วิจัย (Field Survey) 2) การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม (Participant Observation) 3) การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) โดยจะเน้นการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) 4) การสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group) 5) การศึกษาเอกสาร (Documentary study) การวิเคราะห์ข้อมูลเน้นการแยกแยะเชิงเนื้อหาและนำเสนอเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า ด้านการประยุกต์ใช้หลักเบญจศีล ศีลข้อ1 พบว่า มีการอาศัยแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ในโรงเรียน ในชุมชน มาใช้ในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน ศีลข้อที่ 2 พบว่า มีการจัดกิจกรรมเก็บของได้ส่งคืนเจ้าของ ศีลข้อที่ 3 พบว่า มีการประสานความร่วมมือกับองค์กรท้องถิ่นและผู้ปกครองในการดำเนินการจัดกิจกรรม ศีลข้อที่ 4 พบว่า มีการประยุกต์ใช้การเล่านิทานที่มีเนื้อหาสอดแทรกคติธรรม ศีลข้อที่ 5 พบว่า มีการประยุกต์ใช้กิจกรรมนันทนาการต่างๆทั้งภายในและนอกโรงเรียน
ด้านการประยุกต์ใช้หลักเบญจธรรม เบญจธรรมข้อที่1 พบว่า มีการประยุกต์ใช้กิจกรรมไหว้พระสวดมนต์แผ่เมตตา กิจกรรมจิตอาสา เบญจธรรมข้อที่ 2 พบว่า มีการจัดประสบการในอาชีพต่างๆ เช่น การทำขนมพื้นเมือง จักสาน เบญจธรรมข้อที่ 3 พบว่า มีการส่งเสริมการจัดกิจกรรมคนดีของสังคม เบญจธรรมข้อที่ 4 พบว่า มีการส่งเสริมให้นักเรียนกล้ายอมรับความผิดเมื่อตนเองทำผิด เบญจธรรมข้อที่ 5 พบว่า มีการประยุกต์ใช้การจัดกิจกรรมสวดมนต์นั่งสมาธิ กิจกรรมกล่าวคำพิจารณาอาหาร
ด้านปัญหาและอุปสรรค ได้แก่ ครูบางท่านยังขาดทักษะการใช้สื่อในการสอนที่หลากหลาย
References
คุณธรรมจริยธรรม. การค้นคว้าแบบอิสระ. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
หลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ชำเลือง วุฒิจันทร์. (2524). คุณธรรมและจริยธรรม. กรุงเทพมหานคร: การศาสนา.
ชำเลือง วุฒิจันทร์. (2524). การพัฒนาจริยธรรมสำหรับนักเรียนในสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
ณัชชารีย์ นาคนคร. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดเหตุปาหินในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
ของตำรวจภูธร ภาค 1. สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารงาน
ยุติธรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ดวงทิพย์ อันประสิทธิ์. (2555). รูปแบบการขัดเกลาทางสังคมเพื่อเสริมสร้างจิตอาสาใน
ชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนบางน้ำหวาน อำเภอพระประแดง จังหวัสมุทรปราการ.
วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิต
พัฒนาบริหารศาสตร์.
พนัส หันนาคินทร์. (2526). การสอนค่านิยมและจริยธรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์
พิฆเนศ.
พระครูปลัดสำรวย สิริสาโร (ช่างกระโทก). (2555). บทบาทพระสงฆ์ในการส่งเสริมคุณธรรม
จริยธรรม ในอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. พุทธศาสตรมหาบัณฑิต
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
พระสถิต มหาลาโภ (ศรีเมือง). (2553). การสอนวิชาพระพุทธศาสนาของพระสอนศีล
ธรรมในโรงเรียน วิถีพุทธ : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านโนนม่วง ตำบลศิลา อำเภอ
เมือง จังหวัดขอนแก่น. พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
วินิตตา ก้องธรนินทร์. (2545). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความซื่อสัตย์ของนักเรียนใน
กรุงเทพมหานคร: ศึกษาเฉพาะนักเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนสังกัด
กรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตร์
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
สุวิทย์ รุ่งวิสัย. (2532). พันธะทางสังคม. ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา.
คณะสังคมศาสตร์: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อภิชา แดงจำรูญ. (2548). การศึกษาการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณธรรมในโรงเรียนประถม ศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร. ครุศาสตรมหา
บัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.