หลักพุทธธรรมเพื่อการส่งเสริมพัฒนาการบุตรของหน่วยสาธิตการสร้างเสริมสุขภาพเด็กเล็ก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ศรีเพ็ญ สิงห์แก้ว

คำสำคัญ:

หลักพุทธธรรม, การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง หลักพุทธธรรมเพื่อการส่งเสริมพัฒนาการบุตรของหน่วยสาธิตการสร้างเสริมสุขภาพเด็กเล็ก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1. เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมในการส่งเสริมพัฒนาการของบุตรในพระพุทธศาสนา 2. เพื่อศึกษาบทบาทการส่งเสริมพัฒนาการบุตร 3. เพื่อวิเคราะห์การนำหลักพุทธธรรมเพื่อการส่งเสริมพัฒนาการบุตร ในหน่วยสาธิตการสร้างเสริมสุขภาพเด็กเล็ก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ผลการวิจัยพบว่า  หลักพุทธธรรมในการส่งเสริมพัฒนาการบุตรในพระพุทธศาสนา ได้แก่ ไตรสิกขา 3  พรหมวิหาร 4  สังคหวัตถุ 4  ฆราวาสธรรม 4  เบญจศีล 5 และทิศ 6  บทบาทการส่งเสริมพัฒนาการบุตรของหน่วยสาธิตการสร้างเสริมสุขภาพเด็กเล็ก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการจัดกิจกรรมต่างๆ โดยนำหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ใช้ให้บุตรมีพัฒนาการ 4 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านร่างกาย 2. ด้านอารมณ์ 3. ด้านสังคม 4. ด้านสติปัญญา นำไปสู่พัฒนาการปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี อีกทั้งปลูกฝังให้มีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อเป็นรากฐานในการใช้ชีวิตอย่างมั่นคงและมีความสุข     วิเคราะห์การนำหลักพุทธธรรมเพื่อการส่งเสริมพัฒนาการบุตร พบว่า หลักฆราวาสธรรม 4 ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย พรหมวิหาร 4 ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ สังคหวัตถุ 4 และศีล 5 ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม และไตรสิกขา 3 ส่งเสริมพัฒนาการสติปัญญา สรุปได้ว่า พุทธธรรมเหล่านี้สามารถนำมาส่งเสริมพัฒนาการของบุตรได้เป็นอย่างดี

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ). (2550). รักลูกให้ถูกทาง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.

พุทธทาสภิกขุ. (2527). พ่อแม่สมบูรณ์แบบ. กรุงเทพมหานคร: สมชายการพิมพ์.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2546). ความสุขของครอบครัวคือสันติสุขของสังคม. กรุงเทพมหานคร: กองทุนอริยมรรค.

ปรียกมล เลิศตระการนนท์ และคณะ. (2558). ทฤษฎีพฤติกรรมที่มีการวางแผนกับการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. พยาบาลสาร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พระมหาบุญเพียร ปุญญวิริโย (แก้ว วงศ์น้อย). (2554). แนวคิดและวิธีขัดเกลาทางสังคมในสถาบันครอบครัวตามแนวพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหา บัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-05