การศึกษาวิเคราะห์ความรักในทัศนะ อัลแบรต์ กามูส์
คำสำคัญ:
ความรัก, อัลแบรต์ กามูส์, อัตถิภาวนิยมบทคัดย่อ
บทความเรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์ความรักในทัศนะ อัลแบรต์ กามูส์” มี วัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องความรักในทัศนะของนักปรัชญาตะวันตก 2. เพื่อ วิเคราะห์แนวคิดเรื่องความรักในทัศนะของ อัลแบรต์ กามูส์ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงเอกสารผ่าน งานเขียนของกามูส์จำนวน 12 เรื่อง การศึกษาพบว่าแนวคิดเรื่องความรักในปรัชญาตะวัน ตกนั้น ปรัชญากรีกกล่าวถึงความรักในความรู้ ความรักเชิงมิตรภาพ และความรักเชิงจิต วิญญาณอันบริสุทธิ์ ในปรัชญายุคกลางกล่าวถึงความรักที่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างพระผู้ เป็นเจ้ากับมนุษย์ ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ มนุษย์เริ่มตระหนักตนเองและเหตุผลจึงเกิดความ รักเพื่อนมนุษย์ ปรัชญาสมัยใหม่แนวคิดทางปรัชญามีความหลากหลาย ส่งผลให้ความรักมี หลายรูปแบบ เช่น ความรักคือหลักจริยธรรมสากล คือการดำรงอยู่ของมนุษย์ เจตจำนงที่จะ มีชีวิต ความเป็นเอกภาพ ความรักในทัศนะ อัลแบรต์ กามูส์ สรุปได้ 5 รูปแบบ คือ 1. ความ รักในธรรมชาติ เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ ให้มนุษย์เข้าใจตนเองและ รักตัวเอง 2. ความรักในสังคมและการเมือง เป็นการกบฏต่อกฎเกณฑ์ทางสังคมและการเมือง ที่ละเมิดชีวิตและเสรีภาพ 3. ความรักในครอบครัว คือความรักในชีวิตและวิถีแบบปัจเจก เปรียบได้กับการเรียนรู้ความปรารถนาอันแรงกล้าในการดำรงชีวิตในรูปแบบต่างๆ 4. ความ รักในมิตรภาพ คือความรักที่มองเห็นคุณค่าของทุกชีวิต และ 5. ความรักในอิตถีเพศ หมาย ถึงความรักต่อผู้หญิงที่สัมพันธ์กับเขาในฐานะคนรักและเพื่อน โดยการให้ชีวิตดำเนินไปตามความปรารถนาอันแรงกล้าของปัจเจก และเคารพในเสรีภาพ
References
and Literature Vol. 1. กรุงเทพมหานคร : Vice Versa.
ธเนศ วงศ์ยานนาวา. (2553). ความรัก ความรู้ ความตาย. กรุงเทพมหานคร : ศยาม.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2552). ปรัชญากรีก บ่อเกิดภูมิปัญญาตะวันตก.
พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: บริษัทเคล็ดไทยจำกัด.
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล. Hegel on Love : ในความรัก ฉันค้นพบตัวตนของฉัน ในตัวตนของ
เธอ, เธอค้นพบตัวตนของเธอ ในตัวตนของฉัน. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2559
แหล่งที่มา : https://somsakjeam.blogspot. com/2010/01/hegel-onlove.
html
Armstrong, John. (2551). Conditions of Love – ความลับในความรัก. แปลโดย จิระ
นันท์ พิตรปรีชา. กรุงเทพมหานคร: ฟรีฟอร์ม.
Brée, Germaine and Guiton, Margaret. (2526). The French Novel : From Gide to Camus – นวนิยายฝรั่งเศสยุคใหม่. แปลโดย สดชื่น ชัยประสาธน์. กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Camus, Albert. (2541). Le Premier Homme : มนุษย์คนแรก. แปลจากภาษาฝรั่งเศส โดย อำพรรณ โอตระกูล. กรุงเทพมหานคร: สามัญชน.
_________. (2553). L’Étranger : คนนอก. แปลจากภาษาฝรั่งเศสโดย อำพรรณ โอตระกูล. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : สามัญชน.
_________. (2549). La Mort heureuse : ความตายอันแสนสุข. แปลจากภาษาฝรั่งเศสโดย อำพรรณ โอตระกูล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สามัญชน.
_________. (2536). Le Malentendu : ความเข้าใจผิด และ Les Justes : ผู้บริสุทธิ์. แปลจากภาษาฝรั่งเศสโดย อำพรรณ โอตระกูล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สามัญชน.
_________. (2541). Le Premier homme : มนุษย์คนแรก. แปลจากภาษาฝรั่งเศสโดย อำพรรณ โอตระกูล. กรุงเทพมหานคร : สามัญชน.
_________. (2558). L’Étranger : คนแปลกหน้า และ La Chute : ผู้ตกต่ำ, แปลจากภาษา ฝรั่งเศสโดย วิภาดา กิตติโกวิท. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิหนังสือเพื่อสังคม.
_________. (2549). La Peste : กาฬวิบัติ. แปลจากภาษาฝรั่งเศสโดย ประหยัด นิชลานนท์. กรุงเทพมหานคร: สามัญชน.
_________. (1970). Lyrical and Critical Essays. Edited by Philip Thody. Translated by Ellen Conroy Kennedy. United State: Vintage Press.
_________. (2006). Caligula and Other Plays. New York: Penguin Press.
_________. (1962). Exile and the Kingdom. Translated by Justin O’Brien. New York: Penguin Press.
_________. (1995). The Myth of Sisyphus. Translated by Justin O’Brien. New York: Penguin Press.
_________. (1982). The Rebel. Translated by Translated by Anthony Bower. New York: Penguin Press.
Fullbrook, Edward and Fullbrook, Kate. (2008). Sex and Philosophy: Rethinking de Beauvoir and Sartre. New York: Bloomsbury Press.
Lottman, Herbert R.. (1997). Albert Camus: A Biography. California: Gingko Press.Plato. (2010). Dialogues of Plato. Transl