วีดีโอสตรีมมิ่ง: การวิเคราะห์กระบวนการสื่อสารของธุรกิจสื่อบันเทิงออนไลน์ กับการเปลี่ยนแปลงหลังยุคโควิด-19

Main Article Content

สุเทพ เดชะชีพ
บริรักษ์ บุณยรัตพันธุ์
พิณทิพย์ สัตย์เพริศพราย
วรเชษฐ์ มูฮัมหมัดสอิ๊ด

บทคัดย่อ

ตั้งแต่ปี 2019 ที่มนุษย์โลกได้พบกับวิกฤติการณ์โควิด-19 เป็นต้นมา ส่งผลให้วิถีชีวิตของทุกคนเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ทั้งความเป็นอยู่ การกิน รวมไปถึงการเสพสื่อบันเทิงประเภทภาพยนตร์ เมื่อก่อนเรารับชมภาพยนตร์ด้วยการซื้อบัตรเดินเข้าไปรับชมในโรงภาพยนตร์ แต่หลังจากเกิดเหตุการณ์โควิด-19 เป็นต้นมา โรงภาพยนตร์ก็ถูกปิดไปในระยะเวลาหนึ่ง และผู้คนก็เริ่มต้องถูกกักตัวอยู่ที่บ้าน รูปแบบการรับชมภาพยนตร์เริ่มเปลี่ยนไป เปลี่ยนเป็นการชมภาพยนตร์ที่บ้านมากขึ้น สื่อภาพยนตร์จากระบบสตรีมมิ่งเริ่มเข้ามามีส่วนร่วมกับชีวิตผู้คนมากขึ้น และหลังจากวิกฤติการณ์โควิด-19 ผ่านไป โรงภาพยนตร์ได้กลับมาเปิดให้บริการแบบปรกติอีกครั้ง แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปแล้วคือพฤติกรรมของมนุษย์ คนหลายกลุ่มเลือกที่จะเสพสื่อทั้งสองระบบคือทั้งในโรงภาพยนตร์และระบบสตรีมมิ่งโดยรับชมอยู่ที่บ้าน สิ่งที่น่าสนใจคือระบบสตรีมิ่งจะต่อสู้กับโรงภาพยนตร์ที่กลับมาเปิดได้อย่างไร


            จากการศึกษาพบว่า หลังจากที่โรงภาพยนตร์กลับมาเปิดให้บริการดังเดิม ระบบสตรีมมิ่งไม่ได้ประสบภาวะขาดทุนเลย นอกจากนี้ ยังมีกำไรและมีผู้สมัครสมาชิกเพิ่มขึ้นด้วย เหตุเพราะระบบสตรีมมิ่งได้เปลี่ยนพฤติกรรมการรับชมภาพยนตร์ของผู้คนไปแล้ว อีกทั้ง ยังมีไม้เด็ดคือการที่มีภาพยนตร์ที่เรียกว่า “ออริจินัล” อันเป็นลิขสิทธ์และฉายเฉพาะในระบบสตรีมมิ่งเท่านั้น และด้วยความน่าสนใจของภาพยนตร์ออริจินัลนี้ทำให้ผู้ชมที่รับชมระบบสตรีมมิ่งยังคงสมัครสมาชิกอย่างเหนียวแน่น ซึ่งผู้เขียนจะขอยกกระบวนการสื่อสาร SMCR ของ เดวิด เค เบอร์โล (Devid K. Berlo) มาวิเคราะห์ในงานครั้งนี้โดยจะเห็นได้ชัดเจนจากการที่ผู้ผลิตสื่อสตรีมมิ่งทุกเจ้านั้น นำรูปแบบการผลิตแบบเดิมมาใช้โดยใช้รูปแบบลักษณะพิเศษซึ่งก็คือสิ่งที่เรียกว่าออริจินัลคอนเทนท์ แต่การสื่อสารนั้นก็เป็นแบบเดิม ไม่ได้เปลี่ยนแปลง แต่มีการเพิ่มเติมเทคนิคเข้าไป ทำให้กลุ่มผู้รับสารมีช่องทางในการเลือกรับสารได้มากขึ้น ซึ่งการแข่งขันกันนี้ผลประโยชน์นั้นก็จะตกอยู่ที่ผู้รับสารอย่างไม่ต้องสงสัย

Article Details

How to Cite
เดชะชีพ ส., บุณยรัตพันธุ์ บ. ., สัตย์เพริศพราย พ., & มูฮัมหมัดสอิ๊ด ว. (2024). วีดีโอสตรีมมิ่ง: การวิเคราะห์กระบวนการสื่อสารของธุรกิจสื่อบันเทิงออนไลน์ กับการเปลี่ยนแปลงหลังยุคโควิด-19. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 7(2), 235–245. https://doi.org/10.14456/issc.2024.39
บท
บทความวิชาการ

References

กิติมา สุรสนธิ. (2548). ความรู้ทางการสื่อสาร = Introduction to communication. คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ฉัตร เกล้า. (2563). ช่วงเวลาแห่งความสำเร็จ วิกฤติที่สร้างโอกาสของเน็ทฟลิกซ์. เอนเตอร์เทน.

ธนาคารกรุงเทพ. (2563, 3 มีนาคม). Netflix – WeTV เปิดศึกชิงเจ้าแห่งวีดิโอสตรีมมิ่ง. https://www.bangkokbanksme.com/en/netflix-wetv-video-streaming

บดินทร์ เทพรัตน์. (2563, 3 กรกฎาคม). Cinema after Covid-19. สตาร์พิคส.

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2563, 6 มีนาคม). โรงหนังอเมริกา (ยัง) เหงา ยอดตั๋วหด-หนังฟอร์มยักษ์เลื่อนอีก.https://www.prachachat.net/marketing/news-525166.

ลงทุนแมน (นามแฝง). (2018, 6 มีนาคม). ธุรกิจโรงภาพยนตร์ กำลังถูก NETFLIX ทำลาย?.https://www.blockdit.com/posts/5c010bba421c0c19a2581105.

เอไอเอส (AIS). (2021, 6 มีนาคม). แพ็กเกจ Disney+ Hotstar.https://www.ais.th/disney/?cid=sem-disneyplushs- Jun21-package.

Boom Praniti. (2020, 6 มีนาคม). สรุปประวัติ NETFLIX ฉบับสมบูรณ์ จากร้านเช่าวิดีโอ สู่ธุรกิจสตรีมมิ่งมูลค่า 6 ล้านล้าน. https://www.billionway.co/netflix-history-complete-edition/

Donnelly, Matt. (2020, 2 March). A Day on a Film Set in the Time of Coronavirus. https://variety.com/2020/flm/news/day-on-a-flm-set-coronavirus1234765348.

Finnomena (นามแฝง). (2562, 13 มีนาคม). Disney+: โปรเจ็กต์เงินล้านของดิสนีย์ มีอะไรน่ารู้บ้าง?. https://www.finnomena.com/z-admin/disney-plus/.

Obsmoscou. (2018, 13 มีนาคม). ท่านรู้หรือไหม Streaming คืออะไร. https://www.obsmoscou.net/.