การศึกษาสมญานามที่สื่อมวลชนตั้งให้ตำรวจ

Main Article Content

ทรงยศ บัวเผื่อน

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “การศึกษาสมญานามที่สื่อมวลชนตั้งให้ตำรวจ” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมญานามที่สื่อมวลชนตั้งให้ตำรวจ และเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบในการตั้งสมญานามให้ตำรวจในปี พ.ศ. 2566 เป็นการวิจัยเอกสาร (Document Research)  ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ไทยรายวัน 2 ฉบับ ได้แก่ ไทยโพสต์ และ ไทยรัฐ โดยศึกษาช่วงระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2566 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.​ 2566


ผลการวิจัยพบว่า


องค์ประกอบในการสร้างสมญานาม 2 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบแรก ชื่อเล่น ประกอบด้วย 6 สมญานาม ได้แก่  1) “ต่อ เฟรนลี่” 2) “โจ๊ก รอได้” 3) “หลวงโดดปราบยา” 4) “บิ๊กอรรถกัดไม่ปล่อย” 5) “ที่สุดของแจ้” และ 6) “เชอร์ล็อคนพ” องค์ประกอบที่สอง คือ พฤติกรรม ประกอบด้วย 5 สมญานาม ได้แก่ 1)“เพชฌฆาตโจรไซเบอร์” 2) “มือปราบกังฉิน” 3) “โคนันนครบาล” 4) “สุภาพบุรุษสีกากี” และ 5) “จ้าว แข็งโป๊ก”

Article Details

How to Cite
บัวเผื่อน ท. (2024). การศึกษาสมญานามที่สื่อมวลชนตั้งให้ตำรวจ. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 7(2), 97–107. https://doi.org/10.14456/issc.2024.28
บท
บทความวิจัย

References

ทรงยศ บัวเผื่อน และ นนทชา คัยนันทน์. (2562). การวิเคราะห์สมญานามที่สื่อมวลชนตั้งให้กับคนกีฬา.วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 2(1), 1-13.

พีรดนย์ บุญมา. (2560). การวิเคราะห์สัญญะของนักกีฬาในภาพยนตร์โฆษณาไทย. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต. ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วุฒินันท์ แก้วจันทร์เกตุ. (2559). หยิกแกมหยอก: สมญานามดาราไทยกับการเล่นทางภาษาของสื่อมวลชน. วารสาร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 38(1), 41-55.

ศราวุธ หล่อดี พิกุลแก้ว กาษร. (2562). ประเภทที่มาและรูปแบบการสร้างฉายาดาราไทย พ.ศ. 2553-2561. วารสารศิลป ศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 7(2), 62-80.

ศิโรรัตน์ ศิริเพ็ญ. (2559). กลวิธีการสื่อความหมายและการสร้างอัตลักษณ์ของผู้บริโภคในบทโฆษณาที่อยู่อาศัยทางโทรทัศน์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิโรรัตน์ ศิริเพ็ญ. (2566, 1 กุมภาพันธ์). ข่าว: ตำรวจไทยท็อปฟอร์ม ฉาวตั้งแต่ต้นปี 66. เวิร์คพ้อยท์ทูเดย์,1.

Fiske John. (1982). Introduction to communication study. Routledge.

Orden, C.K. & Richard, I. A. (1989). The Meaning of Meaning. Orlando: Harcourt Brace Jovanovich, Inc.

Saussure. (1986). Course in General Linguistics. Translation of Cours de Linguistique Generale. Translated by Harris, R. Peru: Open Court Publishing Company.