นโยบายสาธารณะ : ศึกษากรณีโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล พ.ศ. 2554 - 2557
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยรั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษานโยบายรับจำนำข้าวที่เป็นนโยบายประชานิยมของนโยบายหนึ่งในหลายนโยบายประชานิยมที่พรรคเพื่อไทยนำมารณรงค์หาเสียงในการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 สาระสำคัญของนโยบายรับจำนำข้าวคือ การรับจำนำข้าวเปลือกทุกเมล็ดในราคาตันละ 15,000 บาท และจากนโยบายนี้เองเป็นปัจจัยสำคัญทำให้พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งและนำมาปฏิบัติทันทีเมื่อเข้ามาบริหารประเทศ 2) เพื่อศึกษาผลกระทบที่จะเกิดตามมาจากนโยบาย 3) เพื่อหาแนวการแก้ปัญหาของรัฐบาล การศึกษาเรื่องนี้ผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การสังเกต และศึกษาเอกสารเป็นหลักในการวิเคราะห์ปัญหาและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาจากนโยบาย
ผลการวิจัยพบว่า
- เมื่อรัฐบาลนำนโยบายรับจำนำข้าวไปปฏิบัติในรอบการผลิต พ.ศ. 2554/2555 และ 2555/2556 ได้ใช้เงินหมุนเวียนประมาณ 500,000 ล้านบาท แต่ในปีการผลิต 2556/2557 ไม่สามารถจ่ายค่าจำนำข้าวให้ชาวนาได้ เพราะเงินที่ใช้ในการหมุนเวียนรับจำนำข้าวไม่เพียงพอและรัฐบาลระบายข้าวได้น้อยมากทำให้มีจำนวนเงินค้างจ่ายให้ชาวนาประมาณ 130,000 ล้านบาท
- ผลกระทบจากนโยบาย จากการศึกษายังพบว่าโครงการนี้ได้มีปัญหาตามมาหลายประการที่ทำให้ชาวนาไม่ได้รับเงินค่าจำนำข้าว ได้แก่ ปัญหาการทุจริตระหว่างผู้กำหนดนโยบายและผู้ปฏิบัติตามนโยบาย ปัญหาแจ้งจำนวนข้าวเข้าโครงการเกินความจริง ปัญหาข้าวจากต่างประเทศเข้ามาสวมสิทธิ์ ปัญหาการหมุนเวียนข้าวจำนำในประเทศ ปัญหาการผลิตข้าวคุณภาพต่ำปัญหาการล่มสลายของตลาดการค้าข้าวเสรีในประเทศจากปัญหาดังกล่าวเป็นภาระของรัฐบาลที่ต้องแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากนโยบายจำนำข้าวอย่างเร่งด่วนต่อไป
- รัฐบาลได้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้เพียงเฉพาะหน้าแต่ก็มีปัญหาตามมาอีกเป็นจำนวนมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
กรุงเทพธุรกิจ. (15 ธันวาคม 2556). ธ.ก.ส.ยันรัฐบาลเดินหน้าจำนำข้าว. 11
เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2546). ประชานิยม-นักบุญหรือคนบาป. สงวนกิจการพิมพ์.
สุภางค์ จันทวานิช. (2551). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 8). โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์แห่งวิทยาลัย.
กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์. (2555). หลักเกณฑ์การดำเนินการโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555.
อัมมาร์ สยามวาลา. (2556). ข้าวในเศรษฐกิจไทย. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมพร อิศวลานนท์. (2557). แนะทบทวนจำนำข้าว. สัมภาษณ์กรุงเทพ. 21.
ฐานเศรษฐกิจ. (2557). ธีระชัย-นิพนธ์ ผลโครงการจำนำข้าวถึงเวลาประเทศเลิก. 9.
เดลินิวส์. (2556). การทุจริตจำนำข้าวช่วง 3 ปี มีถึง 242 คดี. 22.
เดลินิวส์. (2556). ลงนามขายข้าวจีทูจีฉลุย 1.2 ล้านตัน คาดขาดทุน 50%. 11.
Suksamrar Somboon. (1990). “Socio-Political Constraints on the Decision making process in
Thailand”. In Samart Chiasakul and Mikimasa Yoshida. Eds, Thai Economy in changing decade and industrial promotion policy. (129-156). Bangkok: Inthamara Communication Service.
Cress Well. J. W. (1994). Research Design: Qualitative and Qualitative Approaches.
California: SAGE Publication.
Panizza, F. (2003). Populism and the mirror of democracy. United Kingdom : University of Leicester.
Zedillo, E. (2002).“Lula: The end of Latin America populism”. Forbes Global.
Eyestone Robert. (1978). Form Social Issues to Public Policy. John Wiley and sons, Inc.