การศึกษาบทเพลงในพิธีศีลล้างบาป ของวัดพระหฤทัยแห่งพระเยซูเจ้า อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษามูลบท กระบวนการสืบทอด การบรรเลงดนตรีในพิธีศีลล้างบาป 2) วิเคราะห์โครงสร้างรูปแบบบทเพลงในพิธีศีลล้างบาป ของวัดพระหฤทัยแห่งพระเยซูเจ้า อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี โดยใช้ระเบียบวิธีงานวิจัยเชิงคุณภาพ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และสังเกตผู้ที่เกี่ยวข้องหลักของวัดพระหฤทัยแห่ง พระเยซูเจ้า อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี แบ่งออกเป็นบาทหลวงจำนวน 3 ท่าน นักดนตรีและนักขับร้องจำนวน 5 ท่าน และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการวิเคราะห์บทเพลง จำนวน 3 ท่าน
ผลการวิจัยพบว่า
1) วัดพระหฤทัยแห่งพระเยซูเจ้า อำเภอขลุง จังหวัดจันทุบรี เกิดขึ้นจากการอพยพของชาวเวียดนามและจันทบูร ที่ย้ายเข้ามาในตำบลวันยาว อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรีเป็นจำนวนมาก และมีการสร้างวัด ขยายวัฒนธรรมและความเชื่อ มาจนถึงปัจจุบัน รูปแบบของพิธีกรรมและวัฒนธรรมการบรรเลงดนตรีมีการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นโดยการเรียนหลักธรรมคำสอนจากพระคัมภีร์ การเรียนทฤษฎีดนตรีสากล การบันทึกโน้ตและการถ่ายทอดด้วยปากเปล่า ซึ่งบทเพลงที่ใช้ในพิธีศีลล้างบาป ประกอบด้วย 3 บทเพลง ได้แก่ เพลงบทพรมน้ำเสก เพลงพรมน้ำเสก และเพลงเชิญพระจิต บทเพลงมีความหมายสื่อถึงสัญลักษณ์ของพิธีกรรม คือ น้ำและการเชิญพระจิตเจ้า
2) การวิเคราะห์โครงสร้างรูปแบบบทเพลงในพิธีศีลล้างบาปทั้ง 3 บทเพลง จำนวน 10 ประเด็น เพลงที่ 1 บทพรมน้ำเสก มีลักษณะเด่นในการใช้ขั้นคู่ที่แตกต่างจากเพลงอื่น คือ M6th, min6th และ P8th มีช่วงเสียงกว้างเป็นระยะขั้นคู่ผสม P12th ใช้อัตราจังหวะธรรมดา และไม่มีการสัมผัสระหว่างวรรคของบทเพลง เพลงที่ 2 พรมน้ำเสก มีลักษณะเด่น คือ บทเพลงใช้อัตราจังหวะธรรมดา อยู่ในกุญแจเสียง D Major และมีการสัมผัสระหว่างวรรคในบางท่อนของบทเพลง และเพลงที่ 3 เชิญพระจิต มีการใช้ขั้นคู่ที่แตกต่างจากเพลงอื่น คือ min2nd และ P4th เป็นบทเพลงที่ใช้อัตราจังหวะธรรมดา และมีการใช้กลอน 8 คำร้องโดยรวมประกอบด้วย 2 บาท บาทละ 2 วรรค วรรคละ 9 คำ โดยมีความคล้ายคลึงกันในการใช้ขั้นคู่เป็นขั้นคู่ P1st, M2nd, M3rd, min3rd มีช่วงเสียงกว้างเป็นขั้นคู่ผสมประกอบด้วย M9th และ M12th มีการเคลื่อนทำนองแบบตามขั้นผสมการเคลื่อนทำนองแบบข้ามขั้น และการซ้ำเสียง มีการดำเนินคอร์ดเป็นไปตามไดอาทอนิกคอร์ดของกุญแจเสียงเมเจอร์ การจบคอร์ดในแต่ละประโยคเพลงมีจุดพักแบบสมบูรณ์ คีตลักษณ์ มีการใช้เพลงสามท่อนประกอบด้วยท่อนที่ 1 (A) ท่อนที่ 2 (B) ท่อนที่ 3 (A’ หรือ C)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
คณาจารย์ภาควิชาสังคมวิทยาและมนุษย์วิทยา. (2551). สังคมและวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 11). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัชชา พันธุ์เจริญ. (2554). ทฤษฎีดนตรี. สำนักพิมพ์เกศกะรัต.
ณัฐวดี แสงชู และนัฏฐิกา สุนทรธนผล. (2560). การศึกษาดนตรีในศาสนพิธีของวัดแม่พระเมืองลูร์ดบางแสน. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 9(2), 74-89.
นงเยาว์ ชาญณรงค์. (2542). วัฒนธรรมและศาสนา (พิมพ์ครั้งที่ 4). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ประสาน ธัญญะชาติ. (2548). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาสุนทรียภาพของชีวิต. ม.ป.พ.
ปรัชญา ใจภักดี. (2556). เนื้อหาและการใช้ภาษาไทยในเพลงนมัสการพระเจ้าของคริสเตียน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพมหานคร. (2556,24 สิงหาคม). ศีลล้างบาป. http://www.kamsonbkk.com/catholic/7493.
พีระพงศ์ ชอบชื่นสุข. (2556). ศึกษาวัฒนธรรมดนตรีการนมัสการในศาสนาคริสต์กาย โรมันคาทอลิกกรณีศึกษา: วัดแม่พระลูกประคำ (วัดกาลหว่าร์). [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วรธรรม สละวาสี. (2559). วัฒนธรรมดนตรีนมัสการของคริสเตียน กรณีศึกษา : คริสตจักรกิจการของพระคริสต์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วัดพระหฤทัยแห่งพระเยซูเจ้า อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี. (2563). 150 ปี วัดพระหฤทัยแห่งพระเยซูเจ้าขลุง จังหวัดจันทบุรี. ม.ป.พ.
สราวุธ โรจนศิริ. (2559). เพลงสวดคริสต์ศาสนา กรณีศึกษา โบสถ์เซนต์แอนโทนี แปดริ้ว. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 35(4), 148-161.
สุวัฒน์ ทรงเกียรติ. (2542). องค์ประกอบดนตรีสากล. ภูเก็ต:ภาควิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์สถาบันราชภัฏภูเก็ต.