การจัดการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมชุมชนบ้านตะปอน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี เพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาการจัดการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และปัญหาอุปสรรคการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านตะปอน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี โดยวิธีเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการ วิเคราะห์จากเอกสารลงพื้นที่สัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม และจัดเวทีระดมความคิดเห็นกับผู้ให้ ข้อมูลสำคัญได้แก่ กลุ่มแกนนำ และคณะกรรมการชุมชนตะปอน กลุ่มสมาชิกเครือข่ายของชุมชนตะปอน พบว่า การจัดการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนด้านการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมจะพัฒนาได้อย่างยั่งยืนและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อคนท้องถิ่น ต้องเริ่มต้นจาก “การมีส่วนร่วม” ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มทั้งคนในชุมชนและคนภายนอกชุมชนจากการใช้มรดกทางวัฒนธรรมเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวผ่านแกนนำสมาชิกจนเกิดเป็นเครือข่ายความสำเร็จร่วมกัน ใช้การเจรจา พูดคุยสร้างข้อตกลงร่วมกันระหว่างสมาชิกเครือข่าย เป็นการทำงานในลักษณะการบูรณาการในการรับผลประโยชน์ร่วมกัน อีกทั้งยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงการสร้างความรัก ความสามัคคี การสืบสาน อนุรักษ์ของคนในชุมชนแห่งนี้ โดยสื่อความหมายจากเอกลักษณ์เฉพาะตัวของชุมชน โดยพบว่าปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นประกอบด้วย 2 ประการ คือ การขาดงบประมาณสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง การสื่อสารที่มุ่งเฉพาะกลุ่มผู้นำชุมชนและนักขับเคลื่อนทางสังคม และการบริหารจัดการชุมชน เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความร่วมมือ ยังไม่มีประสิทธิภาพดีพอเพื่อให้เกิดความยั่งยืน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
กาญจนา แก้วเทพ. (2548). ก้าวต่อไปของการสื่อสารเพื่อการพัฒนาชุมชน. (น.28). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ชณัฎฐ์ พงศ์ธราธิก, สุมนรตรี นิ่มเนติพันธ์ และอนันต์ มาลารัตน์. (2564). การพัฒนากลยุทธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมใน
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์,6(3), 7.
ชาญ ปฐมกาญจนา และนรินทร์ สังข์รักษา. (2558). แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมของ
ชุมชนตลาดบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 26(1), 5.
นุชนารถ รัตนสุวงศ์ชัย. (2554). กลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. วารสารมนุษยศาสตร์, 18(1), 31-50.
ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ.(2554). การวางแผนและการประเมินผลการสื่อสารเชิงกลยุทธ์. (น.121). คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สรชัย ชวรางกูร. (2561). การพัฒนาสื่อดิจิทัลมรดกทางวัฒนธรรมไทยด้วยแบบจำลอง 3 มิติเชิงสถาปัตยกรรมวัดไชย
วัฒนารามในสมัยกรุงศรีอยุธยา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา, 8(15), 42-52.
สุชานาถ สิงหาปัด. (2560). ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม : กิจกรรมสร้างรายได้เพิ่มแก่ชุมชนผู้ไทบ้านโพน
จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา, 5(1), 53-67.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). เอกสารอัดสำเนา.
Lasswell, H. (1948). The communication of ideas. New York : Harper and Row Richards, G. (2010). Cultural
Tourism : A review of recent research and trends. Journal of Hospitality and Tourism Management, 3(6), 12-21.
Um, S., & Crompton, J. L. (1990). Development of pleasure travel attitude dimensions. Annals of TourismResearch, 1(8), 374-378.