แนวทางการพัฒนาสมรรถนะและพฤติกรรมด้านการสอนต่อประสิทธิผลการสอน ของอาจารย์พิเศษทางคลินิกกายภาพบำบัดในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาปัจจัยสมรรถนะและพฤติกรรมด้านการสอนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการสอนของอาจารย์พิเศษทางคลินิกกายภาพบำบัด 2)หาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะและพฤติกรรมด้านการสอนของอาจารย์พิเศษทางคลินิกกายภาพบำบัด โดยมีรูปแบบการวิจัยแบบผสมวิธีรูปแบบขั้นตอนเชิงอธิบาย ซึ่งใช้การวิจัยเชิงปริมาณด้วยการเก็บแบบสอบถามกับอาจารย์พิเศษทางคลินิกกายภาพบำบัด จำนวน 268 คน วิเคราะห์ด้วยสถิติ Multiple Regression Analysis ตามด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1)ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการสอนทางคลินิก คือ สมรรถนะของอาจารย์พิเคษทางคลินิกด้านความรู้และทักษะทางวิชาชีพ ด้านภาวะผู้นำ และพฤติกรรมด้านการสอนช่วงก่อนปฏิบัติงานทางคลินิก ระหว่างปฏิบัติงานทางคลินิก และหลังปฏิบัติงานทางคลินิก
2)แนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านความรู้และทักษะทางวิชาชีพโดยการเข้ารับการอบรมเพิ่มความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านร่วมกับการพัฒนาทักษะด้านการวิจัย ด้านภาวะผู้นำโดยการพัฒนาตามที่หน่วยงานวางแผน และการพัฒนาพฤติกรรมด้านการสอนผ่านหลักสูตรการพัฒนาอาจารย์พิเศษทางคลินิกขั้นต้น ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากหน่วยงานต้นสังกัดของอาจารย์พิเศษทางคลินิก องค์กรวิชาชีพ และสถาบันการศึกษาเพื่อให้มีแนวทางการควบคุมการฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
กล้าหาญ ณ น่าน. (2559). การจัดการผลการปฏิบัติงาน. ซีเอ็ดยูเคชั่น.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2561). แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข (พ.ศ.2560-2579) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 (พ.ศ.2561).
ชฎาพร เยาว์เจริญสุข และทักษ์ อุดมรัตน์. (2560). การพัฒนาชุดฝึกอบรมการสอนทางคลินิกกายภาพบำบัด. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(4), 78-94.
ประกาศสภากายภาพบำบัด เรื่อง มาตรฐานบริการกายภาพบำบัด พ.ศ. 2553. (8 ธันวาคม 2553). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 128 ตอนพิเศษ 7ง หน้า 82-88.
พระราชบัญญัติวิชาชีพกายภาพบำบัด พ.ศ. 2547. (22 ตุลาคม 2547). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 121 ตอนพิเศษ 65ก หน้า 52-70.
สภากายภาพบำบัด. (2561). (กรกฎาคม 2561). ประกาศสภากายภาพบำบัด เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาวิชาชีพกายภาพบำบัด พ.ศ. 2561. หน้า 1-9.
สภากายภาพบำบัด. (2563). (พฤษภาคม 2563). ประกาศสภากายภาพบำบัด เรื่อง สมรรถนะนักกายภาพบำบัด. หน้า 1-2.
สภากายภาพบำบัด. (2565). (มิถุนายน 2565). ประกาศสภากายภาพบำบัด เรื่อง รายละเอียดสมรรถนะนักกายภาพบำบัด.หน้า 1-7.
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. (2558). การบริหารบุคคลากรแบบ 360 องศา: เทคนิคการสร้างองค์การสู่ Happy Workplace. เอช อาร์ เซ็นเตอร์.
Akram, AS., Mohamad, A., & Akram, S. (2018). The Role of Clinical Instructor in Bridging the Gap between Theory and Practice in Nursing Education. International Journal of Caring Sciences, 11(2), 876-882.
Amir, S., Khodayar, O., & Yaser, M. (2019). Explaining the Inhibitory Characteristics of Clinical Instructors in the Process of Developing Clinical Competence of Nursing Students: a Qualitative Study. Journal of Family Medicine and Primary Care, 8(5), 1664-1670.
Aziz, K., Asif, M., Arif, A., Shahid, G., & Fahim, MF. (2018). Perceptive of Physical Therapy Student Regarding Effectiveness of Clinical Teaching in Physical Therapy Education at Karachi. Biometrics & Biostatistics International Journal, 7(3), 212-216.
Barlow, SJ., Elam PS., Elam, SW., & Eagler, LA. (2022). A Feasibility Study for Utilizing a Peer-teaching Experiential Learning Activity to Alter Student Perceptions of Attributes Present in Effective Clinical Instructors. Internet Journal of Allied Health Science and Practice, 20(2), 33-45.
Collier, AD. (2017). Characteristics of an Effective Nursing Clinical Instructor: The State of the Science. Journal of Clinical Nursing, 27(1-2), 363-374.
D’Costa MP., & Swarnadas, GS. (2016). Students’ Perceptions of Effective Clinical Teaching Skills and Teacher Behaviours on Learning. Manipal Journal of Nursing and Health Sciences, 2(2), 1-8.
Ghobad, R., Akram, H., Ghadir, P., Azam, N., Forouzan, K., & Zohreh, H. (2022). Explaining Internal Medicine and Surgery Residents’ Perceptions of Mentor as a Role Model: A Qualitative Study. Med J Islam Repub Iran, 20(6), 36:88.
Helberget, LK., Frilund, ML., & Molnes, SI. (2021). A Model for Guidance and Reflection in Practice Studies for Nursing Students. International Journal of Educational Research Open, 10(6), 1-7.
Kimberly CF., Melissa T., Shari RA., & Aaron R. (2019). Achieving Clinical Instructor Competence: A Phenomenological Study of Clinical Instructors’ Perspectives. Journal of Physical Therapy Education, 33(3), 224-235.
Mukherjee, S. & Guha, K. (2022). Effectiveness of Clinical Instructors During Clinical Training for Physiotherapy Student: Online Pilot Survey. International Journal for research Trends and Innovation, 7(8), 346-356.
Nazari, R., & Mohammadi, E. (2015). Characteristics of Competent Clinical Instructor: A Review of the Experiences of Nursing Students and Instructors. Journal of Nursing an Midwifery Science, 2(2), 11-22.
Soroush, A., Andaieshgar, B., Vahdat, A. & Katony, A. (2021). The Characteristics of an Effective Clinical Instructor from the Perspective of Nursing Students: Qualitative Descriptive Study in Iran. BMC Nursing, 20:36, https://doi.org/10.1186/s12912-021-00556-9.
Wafaa Gmeel, MA. (2012). Caring and Effective Teaching Behavior of Clinical Nursing Instructor in Clinical Area as Perceived by Their Students. Journal of Education and Practice, 3(7), 15-26.
Wijbenga MH., Bovend’Eerdt, TJH., & Driessen, EW. (2019). Physiotherapy Students’ Experiences with Clinical Reasoning During Clinical Placements: A Qualitative Study. Health Professions Education 5,(2), 126-135.