แนวทางในการจัดการของผู้ประกอบการโรงแรมในเขตพื้นที่ อ.เกาะช้าง จ.ตราด ในสภาวะการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1)เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการ 2)เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการจัดการ และ 3)เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาการจัดการของผู้ประกอบการโรงแรมในเขตพื้นที่ อ.เกาะช้าง จ.ตราด ในสภาวะการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ใช้รูปแบบการวิจัยแบบเชิงคุณภาพ โดยทำการศึกษาจากผู้ประกอบการโรงแรมในพื้นที่ อ.เกาะช้าง จำนวน 12 คน คัดเลือกด้วยการเจาะจงและมีการปรึกษากันระหว่างผู้วิจัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสัมภาษณ์โดยนำข้อมูลที่ได้มาสรุปความตามประเด็นสำคัญ (Content Analysis) งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาการจัดการโรงแรม ในสภาวะการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
ผลการวิจัยพบว่า
1.เมื่อไวรัสโควิด-19 แพร่ระบาดในเขตพื้นที่ อ.เกาะช้าง จ.ตราด ผู้ประกอบการโรงแรมทุกระดับได้รับผลกระทบกันอย่างถ้วนหน้า เนื่องจากมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของรัฐบาลและความหวาดวิตกของนักท่องเที่ยวส่งผลให้ผู้ประกอบการหลายแห่งต้องปิดกิจการและอีกหลายแห่งต้องปรับกลยุทธ์ในการจัดการ โดยเฉพาะการบริการ การตลาด และการสร้างความเชื่อมั่น รวมถึงด้านราคา
- การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ผู้ประกอบการทั้งหมดเกิดปัญหาและอุปสรรคในการจัดการกับโรงแรม เมื่อไวรัสโควิด-19 ได้มีการแพร่ระบาดในพื้นที่ อ.เกาะช้าง จ.ตราด ทำให้ผู้ประกอบการโรงแรมในเขตพื้นที่ อ.เกาะช้าง ได้รับผลกระทบกันอย่างถ้วนหน้า เนื่องจากการแพร่ระบาดนั้นมีหลายระลอกและมีการออกมาตรการที่ล่าช้าจากภาครัฐ ทำให้เกิดการวิตกกังวลที่มาจากนักท่องเที่ยวและมาจากทั้งตัวผู้ประกอบการเอง ทำให้เกิดเป็นปัญหาและอุสรรคในการจัดการโรงแรม แต่ทางผู้ประกอบการก็ได้มีการปรับตัวให้เข้ากับปัญหาและอุปสรรคให้เข้ากับสภาวะการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
- เมื่อไวรัสโควิด-19 แพร่ระบาดในเขตพื้นที่ อ.เกาะช้าง จ.ตราด ผู้ประกอบการโรงแรมทุกระดับได้รับผลกระทบกันอย่างถ้วนหน้า เนื่องจากมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของรัฐบาลทำให้ผู้ประกอบการโรงแรมในเขตพื้นที่ อ.เกาะช้าง ต้องมีการพัฒนาแนวทางในการจัดการกับวิกฤติโควิด-19 ไปด้วยกัน เพื่อทำให้เกิดการพัฒนาทางด้านราคา การจัดการ การตลาด และการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักท่องเที่ยว
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
กรกนก ทิพรส. (2548). องค์การและการจัดการ. อภิชาตการพิมพ์.
ฑิตาพร รุ่งสถาพร. (2563). พฤติกรรมผู้บริโภคต่อการซื้อสินค้าบนช่องทาง ออนไลน์ ในภาวะวิกฤตโควิด-19 ในเขตกรุงเทพมหานครปริมณฑลและพิษณุโลก. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ธีรภัทร เกื้อชู และยุทธชัย ฮารีบิน. (2564). แนวทางกำหนดกลยุทธ์การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของอุตสาหกรรมโรงแรมในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า2019(COVID-19) พื้นที่ตำบลป่าตอง จังหวัดภูเก็ต. การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ครั้งที่ 14 ประจำปีการศึกษา 2564
นิติ รัตปรีชาเวชและจิตตาภรณ์ ศรีบุญจิตต์. (2559). ศึกษากลยุทธ์การรับมือกับความไม่แน่นอน ของอัตราว่างในช่วงนอกฤดูกาลการเดินทางในธุรกิจโรงแรม. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 38(150), 23-34.
บัวขาว จารุจินดา. (2546). แนวทางการจัดการธุรกิจสถานรับเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียนด้านการเตรียมการก่อนดำเนินการ. เชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปาริชาติ ดีผักแว่น. (2547). การบริหารจัดการการธุรกิจเครื่องปั้นดินเผา ตำบลด่านเกวียน อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา. [การศึกษาปัญหาพิเศษปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศศิพิมล แสงจันทร์. (2560). การจัดการเพื่อเสริมสร้างการเติบโตของธุรกิจโรงแรมขนาดเล็กในเขตภาคตะวันออกของประเทศ ไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลอลงกรณ์.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). กลยุทธ์ทางการตลาดและการบริหารการตลาด. ธีระฟิล์มและไซแท็กซ์,
Epuran, G., Ivasciuc, I. S., & Micu, A. (2015). From 4P's to 4 E's–How to avoid the risk of unbalancing the marketing mix in today hotel businesses. Annals of Dunarea de Jos University of Galati Fascicle Economics and Applied Informatics, 21(2), 78-85.
Ha, Y. H., & Perks, H. (2005). Effects of consumer perceptions of brand experience on the web: Brand familiarity, satisfaction and brand trust. Journal of Consumer Behavior, 4(6), 438-452.
Konhäusner, P., Shang, B., & Dabija, D.-C. (2021). Application of the 4Es in online crowdfunding platforms: A comparative perspective of Germany and China.Journal of Risk and Financial Management, 14(2), 1-19.
Kotler, Philip. (1997). Marketing management : analysis, planning, implementation and control (9th ed). A Simon & Schuster Company.
Marketingoops. (2563). Highlight: ผลสำรวจ ‘Adobe’ แนะกลยุทธ์ฟื้นธุรกิจหลัง COVID-19 เน้นสื่อสารระดับพอเหมาะ – ใช้ data วิเคราะห์ CX strategy.