ปัญหาทางกฎหมายในการสอบสวนเปรียบเทียบตามมาตรา 60 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน

Main Article Content

เรวัต พลรักษา
สุระทิน ชัยทองคำ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ 1.) เพื่อศึกษาถึงความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎี และความสำคัญของการสอบสวนเปรียบเทียบตามมาตรา 60 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน 2.) เพื่อศึกษาถึงกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขต่างๆ เกี่ยวกับการสอบสวนเปรียบเทียบ 3.) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาในการสอบสวนเปรียบเทียบ 4.) เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการสอบสวนเปรียบเทียบ


                        ผลการวิจัยพบว่า


                        การสอบสวนเปรียบเทียบตามมาตรา 60 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินยังมีปัญหาและความไม่ชัดเจนในการดำเนินการ ได้แก่ ขอบเขตของการสอบสวนเปรียบเทียบซึ่งไม่มีการให้ความหมายของการสอบสวนเปรียบเทียบไว้ ระยะเวลาในการสอบสวนเปรียบเทียบที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งไม่ได้กำหนดคุณสมบัติของเจ้าพนักงานที่ดินผู้ทำการสอบสวนเปรียบเทียบให้ชัดเจนข้อเสนอแนะของงานวิจัยนี้ ได้เสนอแนะเพิ่มเติม โดยกำหนดความหมายของการสอบสวนเปรียบให้มีความชัดเจน กำหนดระยะเวลาดำเนินการ และกำหนดคุณสมบัติของเจ้าพนักงานที่ดินผู้ดำเนินการสอบสวนเปรียบเทียบให้มีความเหมาะสมและชัดเจนยิ่งขึ้น

Article Details

How to Cite
พลรักษา เ., & ชัยทองคำ ส. (2024). ปัญหาทางกฎหมายในการสอบสวนเปรียบเทียบตามมาตรา 60 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 7(2), 108–120. https://doi.org/10.14456/issc.2024.29
บท
บทความวิจัย

References

กมลชัย รัตนสกาววงศ์. (2532). ความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับดุลพินิจฝ่ายปกครองของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน.วารสารกฎหมายปกครอง, 8(2), 1-32.

กรมที่ดิน. (2553). คู่มือการสอบสวนเปรียบเทียบ ตามมาตรา 60 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน. กรมที่ดิน.

กรมที่ดิน. (2561). ประมวลกฎหมายที่ดินและการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน. กรมที่ดิน.

ชำนาญ ชัชวาลกำธร. (2566, 24 กุมภาพันธ์). เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรี สาขาสัตหีบ. สัมภาษณ์.

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2562). รายงานศึกษาฉบับสมบูรณ์เรื่องปัญหาเขตอำนาจศาลในคดีพิพาทเกี่ยวกับการใช้อำนาจหรือการดำเนินการทางปกครองในเรื่องสิทธิในที่ดิน. เดือนตุลา.

วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2554). กฎหมายปกครองภาคทั่วไป. นิติราษฎร์.

วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. (2543). สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. วิญญูชน.

สิริโรจน์ วงศ์สิริภาส. (2566, 24 กุมภาพันธ์). นักวิชาการที่ดินชำนาญการพิเศษ. สัมภาษณ์.

สมเกียรติ วรปัญญาอนันต์. (2563). รายงานฉบับสมบูรณ์เรื่องข้อความคิดว่าด้วยการครอบครองตามกฎหมายลักษณะทรัพย์สิน. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.