ความพึงพอใจของนักศึกษาจีนในระดับปริญญาตรีที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจด้านการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาจีนในระดับปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณจำนวน 49 คน ที่ศึกษาในระหว่างปีการคึกษา 2560 – 2563 รูปแบบการเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามนักศึกษาจีน คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามออนไลน์ที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น แบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจด้านการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาจีนระดับปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี โดยแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับของลิเคิร์ท มีทั้งหมด 6 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านหลักสูตร 2. ด้านอาจารย์ผู้สอน 3. ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน 4. ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก 5. ด้านการวัดและการประเมินผล 6. ด้านการจัดการเรียนการสอน วิเคราะห์เป็นข้อมูล โดยหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1) โดยผลรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากในด้านการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาจีนระดับปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี จำแนกตามปัจจัยในแต่ละด้าน พบว่าความพึงพอใจด้านหลักสูตรอยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจด้านคณาจารย์มากที่สุด ความพึงพอใจด้านกิจกรรมการเรียนการสอนมากที่สุด ความพึงพอใจด้านสิ่งอำนวยความสะดวกมากที่สุด ความพึงพอใจด้านการจัดการเรียนการสอนมากที่สุด ความพึงพอใจด้านวัดและประเมินผลมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
ดิเรก ฤกษ์สาหร่าย. (2528, 23 มกราคม). ทฤษฎีความพึงพอใจ. http//www.research.doae.go.th/Textbook.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560.เสาวภา วิชาดี. (2554). การศึกษาในกระบวนทัศน์ใหม่: การเรียนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน. Executive Journal. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
Peter Bodycott. (2015). Choosing a higher education study abroad destination. Journal of research in
international education, 4(3), 349 – 369
Xiaoyu Jiang. (2012). Chinese International Student's Decision making and Attitudes towards Studying in
the United States. Iowa State University.