การศึกษาความอ่อนตัวและคุณภาพชีวิตด้านร่างกายของผู้สูงอายุจังหวัดจันทบุรีโดยใช้โปรแกรมการฝึกยืดเหยียดกล้ามเนื้อ

Main Article Content

ชิดชนก ศรีราช
ชาญชลักษณ์ เยี่ยมมิตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความอ่อนตัว คุณภาพชีวิตด้านร่างกาย และดัชนีมวลกายของผู้สูงอายุในจังหวัดจันทบุรี และ (2) เปรียบเทียบความอ่อนตัว และคุณภาพชีวิตด้านร่างกายของผู้สูงอายุในจังหวัดจันทบุรี ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 - 74 ปี จังหวัดจันทบุรี จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบความอ่อนตัว และแบบวัดคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง .39-.80 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .82 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factor analysis) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณทางเดียว (One way MANOVA)


ผลการวิจัย พบว่า (1) ความสัมพันธ์ระหว่างความอ่อนตัวกับคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย มีค่าเท่ากับ 0.72 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่ความสัมพันธ์ระหว่างความอ่อนตัวกับดัชนีมวลกาย และคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย (กับดัชนีมวลกายมีค่าเท่ากับ 0.70 และ 0.12 ตามลำดับ ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (2) ผู้สูงอายุกลุ่มที่ใช้โปรแกรมการฝึกยืดเหยียดกล้ามเนื้อมีคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย และความอ่อนตัวมากกว่ากับกลุ่มที่ออกกำลังกายตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
ศรีราช ช., & เยี่ยมมิตร ช. (2022). การศึกษาความอ่อนตัวและคุณภาพชีวิตด้านร่างกายของผู้สูงอายุจังหวัดจันทบุรีโดยใช้โปรแกรมการฝึกยืดเหยียดกล้ามเนื้อ. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 5(3), 180–189. https://doi.org/10.14456/issc.2022.17
บท
บทความวิจัย

References

กรมพลศึกษา. (2556). การยืดเหยียดกล้ามเนิ้อแบบ Dynamic Stretching สำหรับนักกีฬา. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กรมพลศึกษา. (2556). แบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายสำหรับผู้สูงอายุ อายุ 60 - 89 ปี. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

จิราพร เกศพิชญวัฒนา, สุวิณี วิวัฒน์วานิช, อังคณา ศรีสุข, และสหรัฐ เจตมโนรมย. (2561). เรียนรู้เข้าใจวัยสูงอายุ. ยืนยงการพิมพ์.

เจริญ กระบวนรัตน์. (2552). การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ Stretching Exercise. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ดรุณวรรณ สุขสม. (2561). การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิวัฒน์ บุญสม. (2560). การพัฒนาความอ่อนตัวด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร. 10(2): 2173-2184.

ทิพย์วัลย์ เรื่องขจร. (2554). วิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิต. [เอกสารที่ไม่มีการตีพิมพ์].มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

ทิติภา ศรีสมัย และคณะ. (2560). ผลของการออกกำลังกายด้วยรำมวยโบราณประยุกต์ต่อสมรรถภาพทางกาย

ในผู้สูงอายุชาวไทย: การศึกษานำร่อง. จุฬาลงกรณ์เวชสาร. 61(6): 745-55.

ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2556). การประยุกต์ใช้ SPSS วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปราณี ใจกาศ, เพ็ญประภา ศิวิโรจน์ และรัตนา พันธพานิช. (2561). ผลของการออกกำลังกายฤๅษีดัดตนต่อความอ่อนตัวและคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุ. วารสารนเรศวรพะเยา. 11(1): 37-40.

พัชราภรณ์ คนกล้า. (2547). คุณภาพชีวิตในโรงเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์. [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สนธยา สีละมาด. (2547). หลักการฝึกกีฬาสำหรับผู้ฝึกสอนกีฬา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

World Health Organiosation. (2000). Health Promotion Glossary. Switzerland: World Health Organizition.