การศึกษาตัวชี้วัดระดับความสุขขององค์กรสุขภาวะ กรณีศึกษา : จังหวัดกำแพงเพชร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความสุขในการทำงานขององค์กรภาคเครือข่ายองค์กรสุขภาวะจังหวัดกำแพงเพชร และ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาองค์กรสุขภาวะในจังหวัดกำแพงเพชร ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานขององค์กรภาคีเครือข่ายองค์กรสุขภาวะแบ่งเป็นองค์กรภาครัฐ จำนวน 7 องค์กร และองค์กรภาคเอกชน จำนวน 3 องค์กร ได้มาจากการองค์กรที่มีความสมัครใจให้ทำการวิจัยในครั้งนี้ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแปลความหมายค่าเฉลี่ยเป็นระดับความสุข 5 ระดับ
ผลการวิจัยพบว่า
1) ระดับความสุขในการทำงานขององค์กรภาคเครือข่ายองค์กรสุขภาวะจังหวัดกำแพงเพชร พบว่าระดับความพึงพอใจของบุคลากรเกี่ยวกับระดับความสุขค่าเฉลี่ยรวม (=3.58) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า มีความพึงพอใจในระดับมากทุกข้อตามลำดับ ได้แก่ ด้านการมีน้ำใจงาม (= 4.17) รองลงมาเป็นด้านการมีครอบครัวที่ดี (= 3.98) และด้านที่น้อยที่สุดคือ ด้านการผ่อนคลาย (= 3.12)
2) การเสนอแนวทางพัฒนาองค์กรสุขภาวะในจังหวัดกำแพงเพชร ด้านการผ่อนคลายพนักงานยังไม่มีวิธีลดความเครียดจากการทำงาน ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน ดังนั้น บริษัทฯ ควรสร้างกิจกรรมหรือพื้นที่คลายความเครียด อาจเป็นมุมฟังเพลง มุมหนังสือ นิตยสารต่างๆ ที่สร้างความบันเทิง ห้องคาราโอเกะ เป็นต้น และด้านการมีสุขภาพดีพนักงานควรมีการแบ่งเวลาในการใช้เวลากับการออกกำลังกายทุกสัปดาห์เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงพร้อมกับการทำงาน เช่น กิจกรรมเต้นออกกำลัง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์. (2551). องค์กรแห่งความสุขด้วยความสุข 8 ประการ. หมอชาวบ้าน
ธนวรรณ ตั้งเจริญกิจสกุล. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรการประปานครหลวง สายบริหาร. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาด และบริหารธุรกิจ, 4(2), 696.
ธิดารัตน์ ลือชา และกฤษฎากรณ์ ยูงทอง. (2560). ความสุขในการทำงาน: ความหมายและการวัด.ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 19(2), 9-18.
ยุพาวรรณ ทองตะนุนาม. (2558). ปัจจัยพัฒนาองค์กรแห่งความสุข (ภาครัฐ): การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 9(1), 52.
รวีวรรณ ชินะตระกูล. (2542). การทําวิจัยทางการศึกษา.ที.พี. พรินท.
ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต และคณะ. (2555). คู่มือการวัดความสุขด้วยตนเอง Happinometer. ธรรมดาเพรส.
สุมาลี ดวงกลาง. (2560). ความสุขในการทำงานกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์.[สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกริก.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2552). รายงานประจำปี 2552. คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
อุทัยทิพย์ เจี่ยวิวรรธน์กุล และคณะ. (2560). สรรสาระองค์กรสุขภาวะกิจกรรมนาสุข Happy 8 Menu. พี.เอ. ลิฟวิ่ง.
Knott, J. H. (1993). Comparing public and private management: Cooperative effort and principal-agent relationships. Journal of Public Administration Research and Theory, 3(1), 93-119. doi:10.1093/oxfordjournals.jpart.a037164