การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมของชาวปิล๊อกอีต่อง

Main Article Content

ณัฐวิโรจน์ มหายศ
วรินธร แจ้งโรจน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะการสื่อสารที่แสดงออกถึงความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมของชาวปิล๊อกอีต่อง 2) ศึกษาความเป็นตัวตนของชาวปิล๊อกอีต่อง และ 3) ศึกษาผลกระทบของการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมของชาวปิล๊อกอีต่อง ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการและการสัมภาษณ์เชิงลึก กับกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงทั้งหมด 12 ท่าน


            ผลการศึกษาพบว่า 1. ลักษณะการสื่อสารที่แสดงออกถึงความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมของชาวปิล๊อกอีต่องส่วนใหญ่เป็นการสื่อสารแบบตัวต่อตัว โดยมีเรื่องศาสนา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นสื่อกลางเชื่อมความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ตลอดสร้างความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างกัน 2. ความเป็นตัวตนของชาวปิล๊อกอีต่องเป็นไปในลักษณะผสมกลมกลืนกันจนเป็นเอกลักษณ์ของชาวปิล๊อกอีต่องส่วนใหญ่จะมีตัวตนแบบไทยแต่ยังคงอัตลักษณ์ของตนเองเอาไว้ เช่น ภาษา การแตง่กาย อาหารการกิน บ้านเรือน จนกลายเป็นสถานที่ผสมผสานกกมกลืนทางวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ที่ลงตัว และ 3. ผลกระทบของการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมของชาวปิล๊อกอีต่องนั้นไม่มีเลย เนื่องจากผู้คนในปิล๊อกอีต่องต่างเข้าใจ นับถือกันเป็นญาติมิตร อีกทั้งยังต้องการพัฒนาชุมชนของตนเองให้เท่าเทียมและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์บนหุบเขาที่สวยงาม รวมถึงการยอมรับวัฒนธรรมที่หลากหลายซึ่งกันและกันอย่างสันติวิธี

Article Details

How to Cite
มหายศ ณ., & แจ้งโรจน์ ว. (2022). การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมของชาวปิล๊อกอีต่อง. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 5(4), 36–45. https://doi.org/10.14456/issc.2022.23
บท
บทความวิจัย

References

พัชราภา เอื้ออมรวนิช. (2560). การสื่อสารภายใต้มิติความหลากหลายทางวัฒนธรรมตามแนวคิด Geert Hofstede. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลับบูรพา, 25(47), 223-240.

เมตตา วิวัฒนานุกูล. (2559). การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม = Intercultural communication. พิมพ์ครั้งที่ 2 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

องค์การบริหารส่วนตำบลปิล๊อก. (2564). วารสารประชาสัมพันธ์องค์การบริหารส่วนตำบลปิล๊อก. องค์การบริหารส่วนตำบลปิล๊อก.

K. S. Sitaram and, Michael H. Prosser. (1998). Civic Discourse: Multiculturalism, Cultural Diversity, and Global Communication. USA: Ablex Publishing Corporation.

Glen Lewis & Christina Slade. (2000). Critical Communication. Upper Saddle Reviewer. New Jersy: Printice Hall.

Gudykunst, W.B. & Kim, Y.Y. (1992). Communicating with Strangers. New York: McGraw-Hill.

Larry A. Samovar, Richard E. Porter, Edwin R. McDaneil and Carolyne Sexton Roy. (2015). Interculture Communication. 14th edition. USA: CENGAGE Learning.

Sebahattin Ziyanak. (2015). Critically Assessing Classic Assimilation Theory and Alternative Perspectives for Immigrants and the Second Generation in The United States. Jean Ait Beikhir, Race, Gender and Class Journal, 22,(1-2), 143-179.