ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ตามแนวคิดโซลตาล โคดาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

ตระกูลเพชร แก้วพิลึก
วิวัฒน์ เพชรศรี
ชญานิธิ แบร์ดี้
ศิริพร อยู่ประเสริฐ

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ตามแนวคิดโซลตาล โคดาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ตามทฤษฎีของโซลตาน โคดาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์และทักษะการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุด กิจกรรมการเรียนรู้การเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ตามแนวคิดโซตาล โคดายกับเกณฑ์ร้อยละ 80 (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ตามแนวคิดโซตาล  โคดาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1  จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ตามแนวคิดโซตาล โคดาย , แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ ,แบบทดสอบ ทักษะการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ และ แบบสอบถามความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ย รีคอร์เดอร์ สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ใช้การทดสอบ


ผลการวิจัย พบว่า (1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ตามแนวคิดโซลตาล โคดาย  มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.06/88.00 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 (2) การเปรียบ เทียบผลสัมฤทธิ์และทักษะการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ย รีคอร์เดอร์ตามแนวคิดโซลตาล โคดายกับเกณฑ์ร้อยละ 80 แบ่งได้เป็น 2 ตอนดังนี้ ผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ตามแนวคิดโซลตาล โคดาย สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 , ทักษะการเป่าขลุ่ย รีคอร์เดอร์หลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ตามแนวคิดโซลตาล โคดาย สูงกว่า เกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 (3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การเป่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ที่อยู่ในระดับมากที่สุด


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทยจำกัด.

เครือวัลย์ สุขเจริญ. (2551). การสอนดนตรีสากล. พีระพัธนา.

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2536). พฤติกรรมการสอนดนตรี. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พงษ์ลดา ธรรมพิทักษ์กุล. (2545). ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนดนตรีสากลขั้นพื้นฐาน ตามแนวคิดของ Kodaly ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฤทธิรงค์ ไชยสุข. (2552). การพัฒนาเทคนิคการสอนและสื่อการสอนขลุ่ยรีคอร์เดอร์สําหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยพายัพ.

วิไลพร ภูมิเขตร์. (2560). การพัฒนาทักษะการเป่าขลุ่ยเพียงออโดยใช้กระบวนการปฏิบัติประกอบแบบฝึกทักษะ. [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.