การศึกษาการปรับปรุงคุณภาพบริการในสถานการณ์ โควิด-19 ของโรงแรมระดับสี่ดาว เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ณพร เจียมโฆสิต
กัลยรัตน์ เจียมโฆสิต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการปรับปรุงคุณภาพบริการด้านการรับรู้ทางกายภาพในสถานการณ์ โควิด-19 ของโรงแรมระดับสี่ดาวเขตลาดกระบัง 2)  เพื่อศึกษาการปรับปรุงคุณภาพบริการด้านความน่าเชื่อถือในสถานการณ์ โควิด-19 ของโรงแรมระดับสี่ดาวเขตลาดกระบัง และ 3) เพื่อศึกษาการปรับปรุงคุณภาพบริการด้านการตอบสนองในสถานการณ์ โควิด-19 ของโรงแรมระดับสี่ดาวเขตลาดกระบัง โดยกลุ่มประชากรคือ ผู้รับบริการกับโรงแรมระดับสี่ดาว เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน คำนวณโดยใช้สูตร Taro Yamane (1973) ของโรงแรมทั้งหมด 9 แห่ง สำหรับสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลการวิจัย พบว่า ผู้รับบริการมีความคิดเห็นในการปรับปรุงคุณภาพบริการด้านการรับรู้ทางกายภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อแยกเป็นรายปัจจัย พบว่า ทางโรงแรมมีการจัดเตรียมสถานที่ภายในโรงแรมพร้อมต่อการรับมือและป้องกันโรคระบาดที่เกิดขึ้น อยู่ในระดับมาก รองลงมาทางโรงแรมมีการจัดเตรียมอุปกรณ์ให้บริการในการป้องกันโรคโควิด-19 และทางโรงแรมมีการกำหนดมาตรการป้องกันชัดเจน เช่น ป้ายประกาศ ป้ายควบคุม เป็นต้น ตามลำดับ ผู้รับบริการมีความคิดเห็นในการปรับปรุงคุณภาพบริการด้านความน่าเชื่อถือโดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อแยกเป็นรายปัจจัย พบว่า พนักงานบริการมีการเตรียมความพร้อมและมีวินัยในการปฏิบัติตนเองเป็นแบบอย่าง รองลงมาโรงแรมมีการจัดพนักงานคอยทำความสะอาดในจุดให้บริการอย่างถูกอนามัยอย่างเสมอๆ และพนักงานบริการมีการสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นให้กับผู้รับบริการได้รับทราบ ตามลำดับ และผู้รับบริการมีความคิดเห็นในการปรับปรุงคุณภาพบริการด้านการตอบสนองโดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อแยกเป็นรายปัจจัย พบว่า มีการจัดการเว้นระยะห่างในการให้บริการระหว่างพนักงานและผู้รับบริการอย่างเหมาะสม รองลงมามีการจัดเตรียมความพร้อมในการให้บริการอย่างเหมาะสม และพนักงานสามารถให้ข้อมูลถาม-ตอบต่อสถานการณ์กับผู้รับบริการอย่างถูกต้องเหมาะสม ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองสุขศึกษา (2563).กองสุขศึกษา. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. http://www.hed.go.th/information/index/238

นิตยา พร้าวพราม (2558). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริการเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน: กรณีศึกษาโรงแรมในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา.คณะวิทยาการจัดการ ภาควิชาบริหารธุรกิจ.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นพรัตน์ บุญเพียรผล (2558). แนวทางการพัฒนาคุณภาพบริการของธุรกิจร้านอาหารสำหรับนักท่องเที่ยวนานาชาติ ในเขตอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. มหาวิทยาลัยศิลปกร.ปีที่ 10 ฉบับที่ 1.

พิสิทธิ์ อุดชาชน (2558). ความคิดเห็นของประชาชนต่อการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหาร งานของเทศบาลตำบลบ้านฝาง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พรไพลิน จุลพันธ์ (2563). ย้อนรอย ‘เราเที่ยวด้วยกัน’ โปรเจคสุดปัง...แต่เกือบพังเพราะกลโกง!. กรุงเทพธรกิจ.https://www.bangkokbiznews.com/business/914544.

รสสุคนธ์ แซ่เฮีย (2556). ปัจจัยพฤติกรรมการใช้บริการโรงแรม คุณภาพการบริการ ส่วนผสมการตลาดบริการ และคุณค่าตราสินค้าที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าชาวต่างชาติที่ใช้บริการ โรงแรมระดับห้าดาวแห่งหนึ่งในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ศันสนีย์ สีพิมขัด (2556). ความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพการบริการของฝ่ายตอ้นรับ ส่วนหน้าในโรงแรม 5 ดาว.คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

สมประวิณ มันประเสริฐ (2563).อนาคตไทยในโลกหลังโควิด กับกระแสข่าวเปลี่ยนแม่ทัพเศรษฐกิจ. Workpoint TODAY.

Detchana.K. (2563).ธุรกิจโรงแรมปี 63 หดตัวแรงจากโควิด กรุงเทพ-ภูเก็ตติดโผสูญรายได้ท่องเที่ยวหนักสุด.Investing.com.

Parasuraman, A., Berry, L. L. & Zeithaml, V. A., (1990). Delivering quality service: Balancing customer perceptions and expectations. New York: The free press.

Yamane, Taro (1967). Statistics, An Introductory Analysis,2nd Ed., New York : Harper and Row.