การออกแบบของที่ระลึกและบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว หมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การออกแบบของที่ระลึกและบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว หมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน จังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ด้านวัฒนธรรมทางการท่องเที่ยวของหมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน จังหวัดนครราชสีมา และเพื่อพัฒนาของที่ระลึกและบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวหมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน จังหวัดนครราชสีมา โดยผู้วิจัยได้ศึกษาและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยจากแหล่งข้อมูลทางเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ และจากการสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง เพื่อนำมาวิเคราะห์สรุป เปรียบเทียบและจัดลำดับความสำคัญของข้อมูลในเชิงลึก เพื่อหาแนวทางในการออกแบบ ประเมินผล สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ ผลการวิจัยพบว่าผลจากการสำรวจความต้องการสินค้าของที่ระลึกเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนของนักท่องเที่ยว 5 ลำดับแรก ประกอบด้วย กระถางต้นไม้ แม่เหล็กติดตู้เย็น จี้เครื่องประดับ จานรองแก้ว และกระเป๋าผ้า ซึ่งผู้วิจัยได้นำไปออกแบบและพัฒนาเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบประเมินความคิดเห็นพบว่าการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก ที่ค่าเฉลี่ย 4.14 ความคิดเห็นต่อรูปแบบบรรจุภัณฑ์ของที่ระลึกในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก ที่ค่าเฉลี่ย 4.22 และมีผลการประเมินความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว จำนวน 30 คน ที่มีต่อรูปแบบของที่ระลึกและบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวหมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน จังหวัดนครราชสีมา พบว่านักท่องเที่ยวส่วนใหญ่พึงพอใจต่อของที่ระลึกและบรรจุภัณฑ์ในระดับมาก ที่ค่าเฉลี่ย 4.35
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
กรมพัฒนาชุมชน. (2561). คู่มือการดำเนินโครงการหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว 8 เส้นทาง. กรมพัฒนาชุมชนกระทรวงมหาดไทย.
ปทิตตา เจริญธรรม. (2549). รูปแบบบรรจุภัณฑ์ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าที่ระลึกของนักท่องเที่ยว กรณีศึกษาจังหวัดลพบุรี. เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
รจนา จันทราสา และคณะ. (2560). การศึกษามรดกวัฒนธรรมกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กรณีศึกษาเครื่องปั้นดินเผาเตาแม่น้ำน้อย สิงห์บุรี. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
สุธีรา เจริญ. (2551). ทำการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านด่านเกวียน อ.โชยชัย จ.นครราชสีมา. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา