สิทธิที่ถูกลืมบนระบบอินเทอร์เน็ต

Main Article Content

เยาวพา กองเกตุ
พีรพล สิมมา
ปิยะวรรณณ เสนาเจริญ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์หลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติ ในการคุ้มครองสิทธิในการถูกลืมบนระบบอินเทอร์เน็ตตามกฎหมายไทยและต่างประเทศ เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสิทธิในการถูกลืมบนระบบอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย และเพื่อศึกษาและได้เสนอกำหนดแนวทางในการคุ้มครองสิทธิในการถูกลืมบนระบบอินเทอร์เน็ตที่เหมาะสมในประเทศไทยต่อไปโดยทำการศึกษาวิจัยในเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลทางเอกสารในด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องจาก หนังสือ บทความ วิทยานิพนธ์ คำพิพากษาของศาล เอกสารจากฐานข้อมูลออนไลน์ทั้งในและต่างประเทศ ผลการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิในการถูกลืมบนระบบอินเทอร์เน็ต ที่ยังไม่ครอบคลุมชัดเจนและยังไม่มีการออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ในการใช้สิทธิและข้อยกเว้นในการใช้สิทธิในการถูกลืมบนระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งอาจส่งผลให้การใช้สิทธิในการถูกลืมบนระบบอินเทอร์เน็ตไม่มีผลบังคับใช้ได้ครอบคลุมชัดเจนในความจริง ข้อเสนอแนะ จึงควรมีการแก้ไขโดยการออกประกาศหลักเกณฑ์ในการใช้สิทธิและข้อยกเว้นในการใช้สิทธิในการถูกลืมบนระบบอินเทอร์เน็ตที่ชัดเจนครอบคลุมในลักษณะกฎหมายลำดับรอง เพื่อเป็นแนวทางในการคุ้มครองสิทธิในการถูกลืมบนระบบอินเทอร์เน็ตที่เหมาะสมในประเทศไทยต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Alessi, S. (2017). Eternal Sunshine: The Right to Be Forgotten in the European Union after the 2016 General Data Protection Regulation. Emory International Law Review, 32(1), 145-171. https://scholarlycommons.law.emory.edu/eilr/vol32/iss1/4

Kantamanee, Y. (2018). Protection of the Right to be Forgotten(Master of Law, Business Law). Thammasat

University.

Leadford, J. L. (2009). Search Engine Optimization Bible(2nd ed.). Indianapolis: Wiley.

Lee, E. (2016). Recognizing Right in Real Time: The Role of Google in the EU Right to be Forgotten. Retrieved

April 10, 2020, from https://lawreview.law.ucdavis.edu/issues/49/3/Articles/49-3_Lee.pdf

Rosen, J. (2010). The Web Means the End of Forgetting. The New York TIMES Magazine. Retrieved April 10,

, from http://www.nytimes.com/2010/07/25/magazine/25privacy-t2.html

Sangsuvan, K. (2021). The Right to Be Forgotten under the Personal Data Protection Act B.E. 2562. Mae Fah

Luang University Law Journal, 4(1), 13-53

Serirak, N. (2014). Privacy: Thoughts, Knowledge, Truth and Development on Personal Data Protection in

Thailand. Bangkok: P. press.

Verschaeve, S. (2020). Going Dark or Living Forever: The Right to be Forgotten, Search Engines and Press

Archives. SSRN. Retrieved April 10, 2021, from http://dx.doi.org/10.2139/ssrn.3669865