อิทธิพลของการดำเนินวิถีชีวิตใหม่ต่อคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงานเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอิทธิพลของการดำเนินวิถีชีวิตใหม่ต่อคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงานเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรสำนักงานเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานครจำนวน 263 คนเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า อิทธิพลของการดำเนินวิถีชีวิตใหม่ต่อคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงานเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานครในทิศทางเชิงบวก ได้แก่ การสร้างสมดุลชีวิต รองลงมาได้แก่ การใช้เทคโนโลยี และอินเทอร์เน็ต และการดูแลใส่ใจสุขภาพทั้งตนเองและคนรอบข้าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
กรมสุขภาพจิต. (2564, 28 สิงหาคม). New Normal ชีวิตวิถีใหม่.https://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=2288
ทนงศักดิ์ แสงสว่างวัฒนะ, ณิชนันทน์ ศิริไสยาสน์ และโชติ บดีรัฐ. (2563). New Normal วิถีชีวิตใหม่และการปรับตัวของคนไทยหลังโควิด-19: การงาน การเรียน และธุรกิจ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 4(3), 371-386.
ทิพวรรณ ศิริคณู. (2542). คุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การ: กรณีศึกษาบรรษัทบริหาร
สินทรัพย์สถาบันการเงิน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ดลพร รุจิรวงศ์. (2563, 9 สิงหาคม). COVID-19 : พลิกมุมคิด...วิกฤต หรือ โอกาส.
https://web.tcdc.or.th/th/Articles/Detail/Covid-19-cover-story
ปุริศ ขันธเสมา. (2562). ความพึงพอใจในการทำงานที่บ้านในช่วงโควิดระบาด โควิด-19 ของกลุ่มงานพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสยาม
เสาวรัจ รัตนคำฟู และเมธาวี รัชตวิจิน. (2563, 22 ธันวาคม). ผลกระทบของการทำงานที่บ้าน (Work
from home) ในช่วงโควิด-19: กรณีศึกษาของทีดีอาร์ไอ. https://tdri.or.th/2020/05/impact-
of-working-from-home-covid-19
องค์การอนามัยโลกประจําประเทศไทย. (2563, 24 กรกฎาคม). โรคไวรัสติดเชื้อโคโรนา 2019 (โควิด -19)รายงานสถานการณ์โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ประเทศไทย..https://www.who.int/docs/default-source/searo/thailand
อวาทิพย์ แว. (2563). COVID-19 กับการเรียนรู้สู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในวันนี้. วารสารสมาคมวิชาชีพสุขศึกษา,35(1), 24-29.
Walton, Richard E. (1973). Quality of Working Life: What is it?. Sloan Management Review, 4(7), 20-23.