ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการในกองทัพบกไทย: ศึกษาเฉพาะกรณีกองพลทหารปืนใหญ่

Main Article Content

พชร สาตร์เงิน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Method) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการ ปัจจัยในการปฎิบัติงานที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการกองพลทหารปืนใหญ่ และสภาพปัญหาการปฎิบัติงานของข้าราชการกองพลทหารปืนใหญ่ การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามจำนวน 300 ชุด และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 10 คน
ผลการวิจัยพบว่า ระดับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการกองพลทหารปืนใหญ่ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และปัจจัยในการปฏิบัติงานของข้าราชการในภาพรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยมีความสัมพันธ์เชิงเหตุผลกับความผูกพันต่อองค์การฯ ดังนี้ ลักษณะงานที่ปฏิบัติ ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และความต้องการสำเร็จในงาน มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ความหลากหลายของงาน และความเป็นอิสระในการปฏิบัติงาน มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับสภาพปัญหาการปฎิบัติงานของข้าราชการกองพลทหารปืนใหญ่ ได้แก่ 1) ปัญหาด้านลักษณะนิสัยส่วนตัวของผู้บังคับบัญชา 2) ปัญหาด้านสิ่งจูงใจในการทำงาน 3) ปัญหาด้านความไม่เหมาะสมของปริมาณงาน 4) ปัญหาด้านการสนับสนุนการปฏิบัติงาน และ 5) ปัญหาด้านความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ในการปฎิบัติงาน

Article Details

How to Cite
สาตร์เงิน พ. (2022). ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการในกองทัพบกไทย: ศึกษาเฉพาะกรณีกองพลทหารปืนใหญ่. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 5(4), 58–70. https://doi.org/10.14456/issc.2022.25
บท
บทความวิจัย

References

กองทัพบก. (2551). ระเบียบและหลักสูตรการฝึก การฝึกทหารใหม่เบื้องต้นทั่วไป สำหรับทหารทุกเหล่าของกองทัพบก (10 สัปดาห์). กรมยุทธศึกษาทหารบก.

กำชัย กำบังตน. (2553). ความผูกพันต่อองค์การของนายทหารสัญญาบัตรสังกัดกรมยุทธศึกษาทหารบก. วารสารเสนาธิปัตย์, 59(2) 104-110.

ปฏิวัติ เฟื่องประภัสสร์. (2559). ปัญหาการปฏิบัติิงานตามภารกิจของกำลังพลกองกำลังบูรพา ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสระแก้ว. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

วรวุฒิ จอดนอก. (2557). ความผูกพันกับองค์การของคนงานก่อสร้างในเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

วิมล วงศ์วานิช. (2536). กองทัพบกพัฒนาชาติไทย. สารของผู้บัญชาการทหารบก ในโอกาสจัดทำหนังสือกองทัพบกพัฒนาชาติไทย. กองทัพบก.

สมจิตร จันทร์เพ็ญ. (2557). ความผูกพันต่อองค์การของเจ้าหน้าที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). [สารนิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

เอื้อมพร ม่วงแก้ว. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันของบุคลากรในสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Angle, Harold L. and James L. Perry. (1981). An empirical assessment of organizational effectiveness.1/

Administrative Science Quarterly.

Baron, R.A. (1986). Behavior in Organization. Allyn and Bacon.

Herzberg, F., Mausner, B., & Snyderman, B.B. (1959). Motivation to Work. Michigan: A Bell & Howell Information Company.

Miner, John B. (1992). Industrial Psychology. McGraw-Hill.

Mowday, R.M., et al. (1982). Organization Linkages: the Psychology of Commitment Absenteeism and Turnover. Academic.

Porter and Steers (1983) Motivation and Work Behavior.(3rd ed). McGraw-Hill.

Steer, R.M. (1977). Antecedents and Outcomes of Organizational Commitment. Administrative Science Quarterly.22

Steer, R.M.(1988). Introduction to Organizational Behavior. Glenview, III: Scott, Foresman