ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกรับชมซีรีส์วายของผู้บริโภค Generation Z
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจเลือกรับชมซีรีส์วายของผู้บริโภค Generation Z ได้กำหนดวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และปัจจัยการตลาดดิจิทัลที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจเลือกรับชมซีรีส์วายของผู้บริโภค Generation Z ในประเทศไทย ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด โดยเน้นศึกษาประชากรเป้าหมาย คือ ผู้บริโภค Generation Z ที่เคยรับชมซีรีส์วาย รวม 400 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น (Non-probability sampling) ด้วยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) และวิเคราะห์ผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้เพื่อการวิเคราะห์ทางสถิติ (SPSS) เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ(Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการส่งเสริมการตลาด และปัจจัยการตลาดดิจิทัลที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจเลือกรับชมซีรีส์วายของผู้บริโภค Generation Z ซึ่งด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ไม่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจเลือกรับชมซีรีส์วายของผู้บริโภค Generation Z ซึ่งผู้ประกอบการละครซีรีส์วายสามารถนำผลการวิจัยนี้ไปออกแบบกลยุทธ์การตลาดเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
กชพรรณ เผือกพิพัฒน์. (2562). ส่วนประสมทางการตลาดและการสื่อสารการตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อ การตัดสินใจรับชมละครเวทีของคนในกลุ่ม Gen Y. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. หลักสูตรนิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
กิตติภูมิ สุวรรณโภคิน, และมนฑิรา ธาดาอำนวยชัย. (2564). พฤติกรรมความรุนแรงและการยอมรับขัดขืนภาพตัวแทนชายรักชายในซีรีย์ชายรักชาย กรณีศึกษาปี 2559-2560. วารสารนิเทศศาสตร์ปริทัศน์, 25(1).
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (2563). ส่องมูลค่าตลาด 'ซีรีส์วาย' เรื่องรัก 'ชายชาย' ที่ได้ใจคนดูทุกเพศ.https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/884794?_trms=bd521543c28f69c3.1624000613925
นัทธนัย ประสานนาม. (2562). นวนิยายยาโออิของไทย : การศึกษาเชิงวิเคราะห์.วารสารวิชาการหอสมุดแห่งชาติ, 7(2), 16-32.
ภาจรี ใจห้าว. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกรับชมภาพยนตร์ผ่านเว็บออนไลน์ ในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศิรินภา นรินทร์, รุ่งนภา พิมมะศรี ประชาชาติธุรกิจ. (2563). “วาย” จากวัฒนธรรมเฉพาะกลุ่มก้าวสู่กระแสหลัก ขุมทรัพย์ใหม่ธุรกิจบันเทิง-หนังสือ. https://www.prachachat.net/d-life/news-538162.
พิมพ์อัปสร กุหลาบซ้อน. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการเพื่อรับชมภาพยนตร์ผ่าน Netflix ของข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สาขาการจัดการ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อลิสา ชินคงอำนาจ. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลตอ่การเลือกรับชมรายการ The Mask Singer หน้ากากนักร้อง. [การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อัจฉริยา ทุ่งแจ้ง. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลตอ่การตัดสินใจเลือกรับชมรายการผ่านทางสื่อออนไลน์. [การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Alya Ramadhanti & Helnii Mutiara Jumhur, S.H, M.H (2019). The influence of marketing interest on interest in buying album music korean pop. In e-Proceeding of Management, 7(2), 5429-5433.
Chaffey, D. (2013). Definitions of E-marketing vs Internet vs Digital marketing, Smart Insight Blog. https://www.smartinsights.com/digital-marketing-strategy/online-marketing-mix/definitions-of-emarketing-vs-internet-vs-digital-marketing/
Chen, Yuxiao & Cabrera, Densil. (2020). The effect of concert hall color on preference and auditory perception. Applied Acoustics, 171. https://doi.org/10.1016/j.apacoust.2020.107544.
Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques (3rd ed). New York.: John Wiley & Sons, Inc.,
Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16, 297-334.
Daegon Cho, Michael D. Smith, & Rahul Telang. (2017). An empirical analysis of the frequency and location of concerts in the digital age. Information Economics and Policy, 40, 41-47.
G Armstrong, & P Kotler (2017). Principles of Marketing (17th ed.). United States of America: Pearson Education, Inc.
G Armstrong, S Adam, S Denize, & P Kotler (2015). Principles of Marketing. (6th ed.). Melbourne, Australia: Pearson Education.
Key, T.M., & Czaplewski, A. J. (2017). Upstream social marketing strategy: An integrated marketing communications approach. Business Horizons, 60 (3), 325-333
Kotler, P. (2012). Kotler on marketing. Simon and Schuster.
Kotler, P., Kartajaya, H., & Setiawan, I. (2017). Marketing 4.0: Moving from Traditional to Digital. Hoboken, New Jersey: John Wiley & Sons, Inc.,
Pittayaviroon, W & Kuris, N. (2014). Digital Marketing Influencing Consumers’ Response in Approaching Marketing Informations. Srinakarinwirot Business Journal, 5 (1), 80-96.
Pop, Rebeka-Anna & Saplacan, Zsuzsa & Dabija, Dan-Cristian & Alt, Monika. (2021). The impact of social media influencers on travel decisions: the role of trust in consumer decision journey. Current Issues in Tourism, 1-21. https://doi.org/10.1080/13683500.2021.1895729
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal for Educational Research, 2, 49–60.
Taiminen, H. M., & Karjaluoto, H. (2015). The usage of digital marketing channels in SMEs. Journal of Small Business and Enterprise Development, 22(4), 633-651.
Wheelen, L.T., & Hunger, J. D. (2012). Strategic management and business policy: Toward Global Sustainability (13th ed.). United States of America.: Pearson Education, Inc.