ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการซ้ำร้านอาหารญี่ปุ่นประเภทอิซากายะในกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ: (1) เพื่อศึกษาความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความตั้งใจใช้บริการซ้ำร้านอาหารญี่ปุ่นประเภทอิซากายะในกรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกัน (2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการซ้ำร้านอาหารญี่ปุ่นประเภทอิซากายะในกรุงเทพมหานคร (3) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของผู้บริโภค (7Cs) ที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการซ้ำร้านอาหารญี่ปุ่นประเภทอิซากายะในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคที่เคยใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นประเภทอิซากายะในกรุงเทพมหานคร จำนวน 200 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านโปรแกรมสำเร็จรูป (Statistical Package for Social Sciences : SPSS) โดยสิถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิตเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : SD) และใช้สถิติเชิงอนุมานการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – Way ANOVA) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้บริโภคที่เคยใช้บริการซ้ำร้านอาหารญี่ปุ่นประเภทอิซากายะที่มีด้านอาชีพที่แตกต่างกัน จะมีค่าเฉลี่ยความตั้งใจใช้บริการซ้ำร้านอาหารญี่ปุ่นอิซากายะในกรุงเทพมหานคร ที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการซ้ำร้านอาหารญี่ปุ่นอิซากายะในกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 พบว่า มี 1 ด้าน คือ ด้านกระบวนการ และยังพบว่าปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของผู้บริโภค (7Cs) ที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการซ้ำร้านอาหารญี่ปุ่นอิซากายะในกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 พบว่า มี 5 ด้าน โดยเรียงลำดับความสำคัญได้ดังนี้ ด้านคุณค่าที่ลูกค้าได้รับ ด้านการดูแลเอาใจใส่ของพนักงาน ด้านต้นทุน ด้านความสะดวก และด้านการตอบสนองความต้องการ ซึ่งผู้ประกอบการร้านอาหารญี่ปุ่ประเภทอิซากายะสามารถนำข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยนี้ ไปใช้ในการแบ่งกลุ่มการตลาด หรือนำไปปรับปรุงต่อยอดปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด เพื่อการพัฒนาสินค้าและบริการ ให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นประเภทอิซากายะต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
กนกพรรณ สุขฤทธิ์. (2557, 27 กรกฎาคม). ส่วนประสมการตลาดบริการและพฤติกรรมการใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นย่าน Community Mall ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. http://ir.swu.ac.th/xmlui/bitstream/handle/123456789/4524/Kanokpan_S.pdf?s
ชิดชนก เชิงเชาว์. (2539,11 มีนาคม). วิธีวิจัยทางการศึกษา. ปัตตานี: โครงการผลิตตำรา. https://library1.parliament.go.th/cgi-bin/koha/opac-detail.pl?biblionumber=6284&shelfbrowse_Itemnumber=7446
ณัฐเกียรติ พุทธจง. (2558, 10 ตุลาคม). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการซ้ำของลูกค้าร้านอาหารญี่ปุ่นประเภทราเมนในห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์พาร์ครังสิต. http://dspace.bu.ac.th/handle/123456789/2386
ณัฐชา ธำรงโชติ. (2561). กลยุทธ์การตลาดเชิงกิจกรรมสำหรับผู้บริโภคกลุ่มครอบครัว. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 1(2-3), 125-143.
ณธัชพงศ์ โชติปรีชารัตน์. (2558, 11 มีนาคม). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคในการเลือกใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นย่าน ถนนนิมมานเหมินทร์ อำเภอเมืองเชียงใหม่.
http://repository.cmu.ac.th/handle/6653943832/9584
ธนัทอร นาราสุนทรกุล. (2558, 25 ตุลาคม). กลยุทธ์ทางการตลาดในมุมมองของผู้บริโภค กรณีศึกษาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก. http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2015/TU_2015_5723030085_3428_2131.pdf
ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ. (2542). การวิเคราะห์ผู้รับสาร. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วารุณี ตันติวงศ์วาณิช และคณะ. (2554). หลักการตลาด Principles of Marketing (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์บริษัทเพียร์สันเอ็ดดูเคชั่นอินโดไชน่า จำกัด.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2558). การศึกษาปัจจัยประชากรศาสตร์ ด้านพฤติกรรมผู้บริโภค และปัจจัยด้านเว็บไซต์พระเครื่องพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเช่าหรือประมูลพระเครื่องออนไลน์ (ECOMMERCE). In อ.ภ. พิริยะธนภัทร (Ed.). ม.ป.ท.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2546). การบริหารตลาดยุคใหม่. บริษัทธรรมสาร จำกัด.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ.(2564, 18 สิงหาคม). ข้อมูลจำนวนประชากรในกรุงเทพมหานคร. http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx
สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย. (2559, 18 กันยายน). อาหารญี่ปุ่นอาหารยอดนิยม.https://www.th.emb-japan.go.jp/th/jis/publ/59_1.pdf
เสรี วงษ์มณฑา. (2542 ก). กลยุทธ์การตลาด: การวางแผนตลาด. ธีระฟิล์ม และไซแท็กซ์.
เสรี วงษ์มณฑา. (2542 ข). การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค. ไดมอนด์ อินบิสซิเนส เวิร์ด.
องค์กรส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น. (2563, 30 สิงหาคม). การสำรวจร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทยปี 2563. https://www.jetro.go.jp/ext_images/thailand/food/JapaneseRestaurants
Survey2020TH.pdf
อรจันทร์ ศิริโชติ. (2556). การตลาดบริการ. ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยสงขลา.
อารยา คำรูณ และชำนาญ ทองเย็น. (2564). ปัจจัยการตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตของผู้บริโภคในจังหวัดสุโขทัย.วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 4(3), 44-53
Anderson, E. W., Fornell, C., & Lehmann, D. R. (1994). Customer Satisfaction, marketshare, and profitability: Findings from Sweden. Journal of Marketing, 58(3), 53-66.
DeFleur, M. L. & Ball-Rokeach, S. J. (1996). Theories of Mass Communication. Longman.
Nippon. (2019,1 August 2021). Beefing up Japan’s Food and Drink Exports. https://www.nippon.com/en/japan-data/h00400/beefing-up-japan%E2%80%99s-food-and-drink-exports.html
Nunnally, J. (1978). Psychometric theory. (2 Ed.). Mcgraw-Hill.
Zeithmal, V. A., Berry, L. L., & Parasuraman, A. (1996). The behavioral consequences of service quality. Journal of Marketing, 60(2), 31-46