ปัจจัยด้านภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยว และคุณภาพการบริการ ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจ ของนักท่องเที่ยวสูงวัยชาวไทยในการท่องเที่ยวในประเทศ

Main Article Content

รินระดา นิโรจน์
สุพิชา บูรณะวิทยาภรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ของนักท่องเที่ยวสูงวัยชาวไทยที่แตกต่างกัน ที่มีผลต่อค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในการท่องเที่ยวในประเทศที่แตกต่างกัน 2) ศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ของนักท่องเที่ยวสูงวัยที่แตกต่างกัน ที่มีผลต่อค่าเฉลี่ยความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวในประเทศที่แตกต่างกัน 3) ศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ของนักท่องเที่ยวสูงวัยที่แตกต่างกัน ที่มีผลต่อค่าเฉลี่ยความคิดเห็นต่อคุณภาพการบริการในการท่องเที่ยวในประเทศที่แตกต่างกัน 4) ศึกษาปัจจัยภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยว ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวสูงวัยชาวไทยในการท่องเที่ยวในประเทศ 5) ศึกษาปัจจัยคุณภาพการบริการ ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวสูงวัยชาวไทยในการท่องเที่ยวในประเทศ


กลุ่มตัวอย่างสำหรับงานวิจัยคือ นักท่องเที่ยวสูงวัยชาวไทยผู้ที่เดินทางท่องเที่ยวในประเทศ ‘Silver age tourist’  จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาหา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และทำการทดสอบสมมติฐานด้วย F-test (One-way ANOVA) และ Multiple regression analysis


ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า นักท่องเที่ยวสูงวัยชาวไทยผู้ที่เดินทางท่องเที่ยวในประเทศที่มีรายได้ที่แตกต่างกัน จะมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ ความคิดเห็นด้านภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวและความคิดเห็นด้านคุณภาพการบริการที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับปัจจัยด้านภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการท่องเที่ยวในประเทศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 พบว่า มี 5 ด้าน โดยเรียงลำดับตามความสำคัญได้ดังนี้ ด้านบริการที่พัก ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการบริการเสริม และด้านสิ่งดึงดูดใจ และยังพบว่าปัจจัยด้านคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการท่องเที่ยวในประเทศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 พบว่า มี 5 ด้าน โดยเรียงลำดับตามความสำคัญได้ดังนี้ ด้านความเข้าใจในความรู้สึกของผู้อื่น ด้านการตอบสนอง ด้านความมั่นใจได้ ด้านรูปธรรมการบริการ และด้านความเชื่อถือได้ ซึ่งหน่วยงานและผู้ประกอบการในธุรกิจท่องเที่ยวและบริการสามารถนำข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยนี้ ไปใช้ในการแบ่งกลุ่มการตลาด หรือนำไปปรับปรุงต่อยอดปัจจัยภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยว และปัจจัยคุณภาพการบริการเพื่อพัฒนาความสมบูรณ์ของความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวสูงวัยในการท่องเที่ยวในประเทศต่อไป

Article Details

How to Cite
นิโรจน์ ร., & บูรณะวิทยาภรณ์ ส. (2022). ปัจจัยด้านภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยว และคุณภาพการบริการ ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจ ของนักท่องเที่ยวสูงวัยชาวไทยในการท่องเที่ยวในประเทศ. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 5(4), 81–92. https://doi.org/10.14456/issc.2022.27
บท
บทความวิจัย

References

กนกพร โชคจรัสกุล. (2563, 10 สิงหาคม). ตลาด ‘Silver Age’ มาแรง...แซงทุกวัย!. กรุงเทพธุรกิจ. https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/892871

กมลชนก เศรษฐบุตร. (2564). การพัฒนาและประเมินแนวทางกระดานสนทนาสุขภาพเพื่อผู้ดูแลผู้สูงอายุไทยในครอบครัว. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 15(2), 58-69.

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. (2563, 14 กันยายน). เทรนด์เที่ยวสูงวัยมาแรง! เช็คลิสต์ 5 ที่เที่ยวเอาใจวัย 'เกษียณ'. กรุงเทพธุรกิจ. https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/897706

กองวิจัยการตลาด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2561). การศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีศักยภาพในการใช้จ่าย.

กาญจนา ทวินันท์ และแววมยุรา คำสุข. (2558). คุณภาพการบริการ ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าในธุรกิจการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทย. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 7(2), 151-167.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย [ททท]. (2563). Sixty is sassy. TAT Review, 6(1). 5-11. https://www.tatreviewmagazine.com/e-magazine/vol-6-no-1-january-march-2020-2/

คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ. (2553). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2555-2564) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552.

ทีมข่าวเศรษฐกิจ. (2561, 17 เมษายน). ธุรกิจพรึ่บ! รับ 'ตลาดวัยเก๋า'. ฐานเศรษฐกิจ. https://www.thansettakij.com/general-news/275921

ธนวรรณ วินัยเสถียร. (2561, 27 ธันวาคม). “ท่องเที่ยว” ปี 61 โตเกินเป้า! ลุยปั๊มรายได้ปีหน้า 3.3 ล้านล้าน. ฐานเศรษฐกิจ. https://www.thansettakij.com/general-news/366103

ธันยนันท์ สมบูรณ์รัตนโชค และวิสันต์ ลมไธสง. (2563). การเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 14(2), 12-22.

นลินทิพย์ ภัคศรีกุลกำธร. (2559, 27 ธันวาคม). โอกาสจากนักท่องเที่ยววัยเก๋า. https://positioningmag.com/1112868

พบพร โอทกานนท์ และเยาวภา ปฐมศิริกุล. (2556). รูปแบบคุณภาพการบริการ ภาพลักษณ์แหล่งท่องเที่ยว และความพึงพอใจที่ส่งผลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวของชาวยุโรปและอเมริกัน. วารสารธรรมศาสตร์, 32(1), 35-56.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย [มส.ผส.]. (2562). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2561.

รุ่งฤดี แย้มจรัส. (2564). การบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในเขตอุทยานแห่งชาติจังหวัดระนอง. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 15(1), 179-187.

เลิศพร ภาระสกุล. (2559). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2538). พฤติกรรมผู้บริโภค ฉบับพื้นฐาน. พัฒนาศึกษา.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2560). การบริหารการตลาดยุคใหม่ ฉบับปรับปรุงใหม่ ปี 2560. เพชรจรัสแสงแห่งโลกธุรกิจ.

สิรารมย์ เตชะศรีอมรรัตน์. (2564, 28 มกราคม). ท่องเที่ยวไทยเป็นอมตะแต่จะไม่มีวันเหมือนเดิม. https://workpointtoday.com/tat-interview-tourism-future/

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน. (2564, 27 ธันวาคม). ข้อมูลทั่วไปด้านประชากร. https://www.boi.go.th/index.php?page=demographic&language=th

อนุรักษ์ ทองขาว และคณะ. (2564). การเปรียบเทียบความแตกต่างของคุณภาพการให้บริการ และภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเมืองรองติดชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย จำแนกตามปัจจัยประชากรศาสตร์. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี Interdisciplinary Sripatum Chonburi Journal (ISCJ), 7(2), 98-112.

อรชร มณีสงฆ์, และ พัชรา ตินติประภา. (2561). ความพึงพอใจต่อบรรยากาศการตลาดกับความตั้งใจในการมาซ้ำของผู้มาเยือนแหล่งท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 14(1), 59-76.

BrandBuffet. (2561, 27 ธันวาคม). ทำความรู้จัก Silver Age 'วัยแซ่บในกลุ่มสูงวัย' พร้อมวิธีสื่อสารให้โดนใจ และการทำคอนเทนต์เพื่อให้คนกลุ่มนี้แชร์. https://www.brandbuffet.in.th/2018/09/cmmu-insight-content-marketing-for-silver-age/

Marketeer. (2563, 2 มกราคม). จาก YOLD สู่ Silver Gen อินไซด์สูงวัย 55+ ที่นักการตลาดไม่ควรละเลย. https://marketeeronline.co/archives/177647

Buhalis, D. (2000). Marketing the Competitive Destination of the Future. Tourism Management, 21(1), 97-116.

Chi, C. G., & Qu, H. (2008). Examining the structural relationships of destination image, tourist satisfaction and destination loyalty : An integrated approach. Tourism Management, 29(4), 624-636.

Cronin, J. J., & Taylor, S. A. (1992). Measuring service quality : A re-examination and extension. Journal of Marketing, 56(3), 55-68.

Dickman, S. (1996). Tourism : an Introductory Text (2 ed.). Hodder Education.

Dorfman, P. (1979). Measurement and meaning of recreation satisfaction : A case study in camping. Environment and Behavior, 11(2), 483-510.

Kotler, P., & Dupree, J. (1997). Marketing Management : Analysis, Planning, Implementation and Control, Test Item File. Prentice Hall.

Maddox, R. N. (1985). Measuring satisfaction with tourism. Journal of Travel Research, 23(3), 2-5.

Middleton, V. (1994). Marketing in Travel Tourism. Butterworth Heineman.

Nunnally, J. (1978). Psychometric theory. (2nd ed.). Mcgraw-Hill.

Pearce, P. L. (1988). The Ulysses Factor : Evaluating Visitors in Tourist Settings. Springer-Verlag.

Urry, J. (1991). Progress in Tourism, Recreation and Hospitality Management 3. University of Surrey.

Whipple, T. W., & Thach, S. V. (1988). Group tour management : Does good service produce satisfied customers?. Journal of Travel Research, 27(2), 16-21.