ปรีดี พนมยงค์กับแนวคิดการปฏิรูปการบริหารงานคลังของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องปรีดี พนมยงค์กับแนวคิดการปฏิรูปการบริหารงานคลังของประเทศไทยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาแนวคิดและผลงานของนายปรีดี พนมยงค์ ในการปฏิรูปการบริหารงานคลังของประเทศไทยในด้านรายได้และภาษีอากร ด้านการเงินการคลังและด้านวินัยทางการคลังและงบประมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารชั้นต้นและเอกสารชั้นรอง ประกอบกับการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 15 คนซึ่งเลือกแบบเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า นายปรีดี พนมยงค์มีแนวคิดในการสร้างเศรษฐกิจแห่งชาติ ที่เน้นบทบาทรัฐในการจัดการทางเศรษฐกิจ การปฏิรูปการบริหารงานคลัง ด้านรายได้และภาษีอากร ได้แก่ การออกกฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษีใหม่ การลดและยกเลิกเงินรัชชูปการ ฯลฯ และสถาปนาประมวลรัษฎากร ด้านการเงินการคลังได้แก่การเจรจาแก้ไขสนธิสัญญาทางไมตรีพาณิชย์และการเรือจนสำเร็จนำไปสู่การยกเลิกภาษีร้อยชักสาม จัดตั้งสำนักงานธนาคารชาติไทย และปรับปรุงทุนสำรองของประเทศรวมถึงดำเนินนโยบายผูกหูทองคำในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ส่งผลให้ประเทศไทยมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจช่วงระหว่างและหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ด้านการสร้างวินัยทางการคลังและเสริมสร้างความเข้มแข็งของรัฐสภาในการงบประมาณ ได้ปรับปรุงระบบงบประมาณและออกพระราชบัญญัติอนุญาตให้รัฐบาลจ่ายเป็นไปพลางก่อน พ.ศ. 2489 เป็นที่มาของพระราชบัญญัติเงินคงคลังที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน เป็นการนำแนวคิดการบริหารงานคลังมาใช้ในการปฏิรูปประเทศอย่างเป็นระบบเป็นครั้งแรกหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 จึงมีคุณูปการต่อองค์ความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์ในการบริหารงานคลังสาธารณะที่เป็นการปูพื้นฐานสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืนมาถึงปัจจุบัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
ขจรศักดิ์ บัวระพันธ์. (2560). วิจัยเชิงคุณภาพไม่ยากอย่างที่คิด (พิมพ์ครั้งที่ 7). สำนักพิมพ์คอมม่าดีไซน์แอนด์พริ้นท์.
งามพิศ สัตย์สงวน. (2558). การวิจัยเชิงคุณภาพทางมานุษยวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 7). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชาญวิทย์ เกษตรศิริและธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์. (2560). ปฏิวัติ 2475 (พิมพ์ครั้งที่ 3). มูลนิธิโครงการตำรา สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2535). 100 ปีแห่งการปฏิรูประบบราชการ: วิวัฒนาการอำนาจรัฐและอำนาจการเมือง. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปธาน สุวรรณมงคล. (2523). การปฏิรูปการบริหารราชการ. วารสารสังคมศาสตร์, 17(4), 62-80.
ประเสริฐ ปัทมะสุคนธ์. (2517). รัฐสภาไทยในรอบสี่สิบสองปี (2475-2517). สำนักพิมพ์ ช. ชุมนุมช่าง.
ปรีดี พนมยงค์. (2474). คำอธิบายกฎหมายปกครอง. ใน ประชุมกฎหมายมหาชนและเอกชนของปรีดี พนมยงค์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์สามลดา.
ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์. (2526). ความคิดหรือแนวคิดทางเศรษฐกิจของปรีดี พนมยงค์. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมือง, 3(2), 42-59
เปรมจิตร กลิ่นอุบล. (2536). รัฐในทัศนะของ ดร. ปรีดี พนมยงค์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พนม ทินกร ณ อยุธยา. (2534). การบริหารงานคลังรัฐบาล เล่มที่ 1: การบริหารงานคลังรัฐบาลมหภาค 1 (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์ศิลปสยามการพิมพ์.
ภานนท์ คุ้มสุภาและมาโนช ชุ่มเมืองปัก. (2564). กลวิธีการสื่อสารของกิจการเพื่อสังคมกาแฟอาข่า อ่ามากับการ ขับเคลื่อนธุรกิจและการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกชาวอาข่า. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 4(1), 1-15.
ภีรดา ศิลปะชัยและณัฐชา ธำรงโชติ. (2561) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจูงใจและความมีประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรในหน่วยงานด้านชุมชนสัมพันธ์ของรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 1(2), 217-235
วรเดช จันทรศร. (2531). การปฏิรูปการบริหาร. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 28(1), 75-102.
สภาผู้แทนราษฎร. (2475). รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 3 (สมัยสามัญ) วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2475. กองการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สมคิด เลิศไพฑูรย์. (2536). ตุลาการรัฐธรรมนูญ. สำนักพิมพ์นิติธรรม.
อนุสรณ์ ธรรมใจ. (2557). แนวคิดประชาธิปไตยสมบูรณ์และเค้าโครงเศรษฐกิจของรัฐบุรุษอาวุโสปรีดี พนม ในงานเสวนาวิชาการเนื่องในโอกาสครบรอบ 82 ปี อภิวัฒน์ประชาธิปไตยสยาม 24 มิ.ย. 2475. สถาบันปรีดี พนมยงค์.
อุทัย เลาหวิเชียร. (2547). รัฐประศาสนศาสตร์: ลักษณะวิชาและมิติต่าง ๆ. สำนักพิมพ์เสมาธรรม.
อุทัย เลาหวิเชียร และสุวรรณี แสงมหาชัย. (2556). พื้นฐานการวิจัยทางสังคมศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์. สำนักพิมพ์เสมาธรรม.
Bastable, C. F. (1928). Public finance. Macmillan
Caiden, G. E. (2017). Administrative reform. Routledge. Finan, W. F., & Dean, A. L. (1957). Procedure for the preparation and implementation of administrative reforms. International Review of Administrative Sciences, 23(4), 437-452.
Gilbert Orsoni et Céline Viessant. (2005). Èlèments de finances publiques, Economia.
Grosenick, L., & Mosher, F. C. (1971). Administrative reforms: Goal strategies, instruments and techniques. Interregional Seminar and Major Administrative Reforms in developing Countries, 2(3),11-30.
Guba, E. G., & Lincoln, Y. S. (1994). Competing in qualitative research. In N. K. Denzin & Y. S. Lincoln (Eds.), Handbook of qualitative Research, 105-117. Sage.
Lee, H.-B. (1970). The concept, structure and strategy in public administrative reform: an introduction.
In H.-B. Lee & A. G. Samonte (Eds.), Administrative reforms in Asia. 1-20. The Eastern Regional Organization for Public Administration.