การใช้กลวิธี QAR เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและทัศนคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและศึกษาทัศนคติที่มีต่อการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้กลวิธี QAR ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นสามเณรนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา วัดศรีบุญเรือง กรุงเทพมหานคร จำนวน 10 รูป ซึ่งใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธี QAR, แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ, แบบบันทึกการเรียนรู้, แบบบันทึกการสังเกตการสอน, และแบบสอบถามวัดทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้กลวิธี QAR ดำเนินการทดลองโดยใช้เวลาในการสอนและรวมเวลาในการทำแบบทดสอบทั้งก่อนและหลังการทดลอง จำนวน 10 สัปดาห์ ๆ ละ 2 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 20 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ The Wilcoxon Matched-Pairs Signed–Ranks Test
ผลการวิจัยพบว่า
- ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้กลวิธี QAR ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- ทัศนคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้กลวิธี QAR โดยภาพรวมมีทัศนคติอยู่ในระดับมาก (=3.77, S.D.= 0.67)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
กนิษฐา มหาวงศ์ทอง. (2553). พฤติกรรมการอ่านและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการอ่านของพระนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน. [วิทยานิพนธ์ปริญญานิมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ทศวรรษที่สองของการปฏิรูปการศึกษา. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
จรูญ วิรุฬรัตน์. (2524). ทัศนคติในการเรียนภาษาอังกฤษ.การสอนภาษาอังกฤษ. ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา การศึกษานอกโรงเรียน.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). หลักการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). สุรีวิยาสาส์น.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ องค์การมหาชน. (2562). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2562. สทศ.
สุนีย์ สันหมุด. (2552). ปัญหาด้านการอ่าน (ออนไลน์). สืบค้นวันที่ 28 ตุลาคม 2563 จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/jtermutt/article/view/182833
สถิรพร รักษ์คัมภีร์. (2560). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้QAR สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
แสงนภา ใจเย็น. (2562). การพัฒนาความเข้าใจในการอ่านและความสามารถในการตั้งคาถามแบบคิว เอ อาร์ โดยใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
Au, K. H., & Raphael, T. E. ( 2005). QAR: Enhancing comprehension and test taking across grades and content areas. The Reading Teacher2(3), 206-221.
Bloom's Taxonomy. (1956). Taxonomy of Educational Objectives, the classification of educational goals – Handbook I. In Cognitive Domain. McKay.
Chin, C. (2004). Questioning students in ways that encourage thinking. Teaching science,
(4),16-21.
Clark, K., & Graves, M. (2008). Open and directed text mediation in literature instruction: effects on comprehension and attitudes. Australian Journal of Language and Literacy, 31(1), 9-29.
Cummins, S., Streiff, M., , & Ceprano, M. (2012). Understanding and Applying the QAR Strategy to Improve Test Scores. Journal of Inquiry & Action in Education, 4(3), 18-25.
Davey, B., & McBride, S. (1986). Effects of question-generation training on reading comprehension. Journal of Educational Psychology, 7(8), 252-262.
Flavell. (1985). Cognitive Development. Prentice-Hall.
Gardner, R. C., & Lambert, W. (1972). Attitudes and Morivattons in second language leaming. Rowley, Newbury House.
Kinniburgh, L. H., & Shaw , E. L. (2009). Using Question-Answer Relationships to Build: Reading Comprehension in Science. Science Activities, 45(4), 19-28.
Raphael T. E. (1986). Teaching question-and-answer-relationships, revisited. Reading Teacher, 39(6), 516-522.
Sun, Z. (2012). An Empirical Study on New Teacher-student Relationship and Questioning Strategies in ESL Classroom. Canadian Center of Science and Education, 5(7), 175-183.
Visser, P. S., Holbrook, A. L., Krosnick, J. A.,. (2008). Knowledge and Attitudes. In Wonsbach & M. W. Traugott (Ed.s), Handbook of Public Opinion Rcscarch. Thousand Oaks, Sage Publications.