แนวทางการเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุราชการ ของข้าราชการกรมแพทย์ทหารเรือ

Main Article Content

ศันศินีณ์ พิณเนียม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุราชการของข้าราชการกรมแพทย์ทหารเรือ 2) เพื่อเปรียบเทียบการเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุราชการของข้าราชการกรมแพทย์ทหารเรือจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล  และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุราชการของข้าราชการกรมแพทย์ทหารเรือ


กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา  ได้แก่ ข้าราชการทุกชั้นยศที่สังกัดกรมแพทย์ทหารเรือที่มีอายุตั้งแต่ 40-60 ปีจำนวน 327 ราย และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants)ในการสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งเป็นผู้บริหาร ที่มีอายุราชการมากกว่า 30 ปี จำนวน 3 ราย และเป็นผู้ปฏิบัติงานระดับหัวหน้าหน่วยที่มีอายุราชการมากกว่า 20 ปี  จำนวน 7 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถาม การเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุราชการของข้าราชการกรมแพทย์ทหารเรือ จำนวน 25 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น(Reliability) .935 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง โดยใช้สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ         t –test สถิติติความแปรปรวนทางเดียว (One – Way ANOVA) และการวิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์


  1. ระดับการเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุราชการของข้าราชการกรมแพทย์ทหารเรือ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก รายด้านพบว่า ด้านสุขภาพร่างกายมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านทรัพย์สินเงินทอง และด้านกิจกรรมและการมีส่วนร่วมในสังคม มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด

  2. เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา ชั้นยศ ระยะเวลารับราชการ รายได้ ลักษณะที่พักอาศัย แตกต่างกันมีการเตรียมความพร้อมต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง

สถิติที่ระดับ .05 ส่วนเพศ สถานภาพ ภาระหนี้สิน ผู้อยู่ในอุปการะดูแลแตกต่างกันมีการเตรียมความพร้อมไม่ต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  


  1. ผลการศึกษาแนวทางการเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุราชการของข้าราชการ

กรมแพทย์ทหารเรือ ด้านสุขภาพ ด้านทรัพย์สินเงินทอง ควรเตรียมความพร้อมตั้งแต่อายุยังไม่มาก และด้านการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมสังคมยังมีการเตรียมตัวน้อยต้องหันมาส่งเสริมและรณรงค์จัดกิจกรรมให้มีส่วนร่วมทางสังคมมากยิ่งขึ้น 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลวรา พิมใจใส. (2557). การเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุตามหลักภาวนา 4 ของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช
วิทยาลัยส่วนกลาง. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
คณุตม์ ปิ่นทองคำ. (2559). การเตรียมความพร้อมเพื่อความมั่นคงในการดำเนินชีวิตหลังวัยเกษียณอายุราชการของข้าราชการทหาร
เรือ สังกัดกองเรือยามฝั่ง กองเรือยุทธการ. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ทยณฐ ชวนไชยสิทธิ์ สุพรรณี รัตนานนท์ และเมธี จันทชาติ. (2555). รูปแบบการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณ
อายุงาน กรณีศึกษาครูโรงเรียนเอกชน จังหวัดนนทบุรี. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 4(1), 82-101.
ทักษอร ศรีภา. (2541). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเตรียมตัวก่อนเกษียณอายุราชการของข้าราชการตำรวจภูธร ภาค 1.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ทิพาพร ทองสว่าง. (2541). ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมตัวก่อนเกษียณอายุของผู้ใหญ่วัยกลางคน. มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ.
ธิดา ทองวิเชียร. (2550). ความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรปราการ. มหาวิทยาลัยมหิดล.
เนษพร นาคสีเหลือง. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการออมเพื่อเตรียมความพร้อมการเกษียณอายุของพนักงานธนาคารกรุงเทพ จำกัด
(มหาชน) สำนักงานใหญ่. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ปรีชา อุปโยคิน. (2541). ไม้ใกล้ฝั่ง สถานภาพและบทบาทของผู้สูงอายุ โครงการศึกษาวิจัยครบวงจรเรื่องผู้สูงอายุในประเทศไทย.
มหาวิทยาลัยมหิดล.
ปิยดา วงศ์วิวัฒน์ และชาญเดช เจริญวิริยะกุล. (2552). การเตรียมความพร้อมการเกษียณอายุของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏ
สวนสุนันทา. วารสารสมาคมนักวิจัย, 24(3), 348-361.
พลอยพัชร์ กิจเจริญเกษม. (2558). การเตรียมความพร้อมเพื่อการเกษียณอายุของพนักงานธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน).
มหาวิทยาลัยมหิดล.
พวงผกา ชื่นแสงเนตร. (2538). ความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพในครอบครัว พฤติกรรมการดูแลตนเองและความพึงพอใจในชีวิต
ของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ เขตพื้นที่พัฒนา อุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี.
มหาวิทยาลัยมหิดล.
สาธิต จินดากุล. (2559). การเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุของพนักงานรัฐวิสาหกิจการประปาส่วนภูมิภาคเขต 1. มหาวิทยาลัย
บูรพา.
Atchley, W. R. (1994). Molecular evolution of the MyoD family of transcription factors. Proceedings of the National
Academy of Sciences, 91(24), 11522-11526.
Barrow, R., & Milburn, G. (1990). A critical dictionary of educational concepts: An appraisal of selected ideas and
issues in educational theory and practice. Harvester Wheatsheaf.
Pender, N. J., Murdaugh, C. L., & Parsons, M. A. (1996). Health promotion in nursing practice Stamford. Appleton
& Lange.