แนวทางการใช้สื่อออนไลน์เพื่อการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ในจังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

จเร เถื่อนพวงแก้ว
จำเริญ คังคะศรี
อรพรรณ ถาวรยุศม์
ภูริพัฒน์ แก้วตาธนวัฒนา
อังศุมาริน สุชัยรัตนโชค

บทคัดย่อ

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการใช้สื่อออนไลน์เพื่อการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในจังหวัดจันทบุรี เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ธุรกิจอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในจังหวัดจันทบุรี ประกอบด้วย 1) ธุรกิจนำเที่ยว 2) ธุรกิจที่พักแรม 3) ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม 4) ธุรกิจจำหน่ายสินค้าและของที่ระลึก 5) ธุรกิจคมนาคมขนส่ง และ 6) ธุรกิจนันทนาการ จำนวน 400 คน ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบโควตา และสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .84 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยสถิติ      F-test วิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) เปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีเซฟเฟ่ (Scheffe) และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Correlation)


            ผลการวิจัยพบว่า การใช้สื่อออนไลน์เพื่อการตลาดของธุรกิจอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในจังหวัดจันทบุรี มี 5 ด้าน คือ ด้านการโฆษณาออนไลน์ ด้านการประชาสัมพันธ์ออนไลน์ ด้านการส่งเสริมการขายออนไลน์ ด้านการขายโดยบุคคลออนไลน์ และด้านการตลาดทางตรงออนไลน์ โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านการประชาสัมพันธ์ออนไลน์มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ลักษณะของธุรกิจอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกับการใช้สื่อออนไลน์เพื่อส่งเสริมการตลาด มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  


            แนวทางการใช้สื่อออนไลน์เพื่อการตลาด ควรประยุกต์ใช้สื่อออนไลน์ที่เหมาะสมและหลากหลาย มีการบริหารจัดการร่วมกันอย่างเป็นระบบ กำหนดแนวปฏิบัติที่ดี เน้นสื่อสารเนื้อหาทางการตลาดให้สอดคล้องกับความสนใจและพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ของกลุ่มเป้าหมาย มีการตรวจสอบและควบคุมการใช้สื่อออนไลน์ และสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เอื้อต่อการใช้งานสื่อออนไลน์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชนกพล ชัยรัตนศักดิ์ดา. (2557). ประสิทธิภาพของสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ชวัลรัตน์ ทองช่วย และบำรุง ศรีนวลปาน. (2556). กลยุทธ์การใช้สื่อโฆษณาบนสื่ออินเทอร์เน็ตประเภทเว็บไซต์ของธุรกิจที่มีผลต่อการรับรู้ข้อมูลของกลุ่มเป้าหมาย. Journal of Information Science and Technology, 1 (1): 1-13.

เชาว์ โรจนแสง. (2561). เอกสารการสอนชุดวิชาการสื่อสารและการส่งเสริมการตลาด. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ดารา ทีปะปาล. (2553). การสื่อสารการตลาด. อมรการพิมพ์.

ธนกฤต วันต๊ะเมล์. (2557). การสื่อสารการตลาด Marketing Communications. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปรีชา ศรีศักดิ์หิรัญ. (2561). เอกสารการสอนชุดวิชาการสื่อสารและการส่งเสริมการตลาด. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ภัทรวรรณ สมประสงค์ และมฑุปายาส ทองมาก. (2558). การใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. วารสารระบบสารสนเทศด้านธุรกิจ (JISB), 1(1), 86-101.

ภูริพัฒน์ แก้วตาธนวัฒนา. (2561). การใช้สื่อออนไลน์เพื่อส่งเสริมการตลาดของธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดชายทะเลภาคตะวันออก. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกริก.

รติวัลย์ วัฒนสิน. (2555). การส่งเสริมการขายที่มีประสิทธิภาพในธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ : มุมมองของผู้บริโภคและผู้บริหาร. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

สำนักงานบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก. (2561, มกราคม). ยุทธศาสตร์

การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก พ.ศ.2558–2561. สืบค้นจาก http://www.eastosm.com

อภิชญา ณัฐพงศ์พฤทธิ์. (2559). การรับรู้ข้อมูลการท่องเที่ยวจากสื่อออนไลน์ ความน่าเชื่อถือและพฤติกรรมการตัดสินใจท่องเที่ยว

ต่างประเทศ. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร มหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

เอกรัตน์ ลตวรรณ. (2550). การใช้การสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานในการตลาดเพื่อโลกสีเขียวของเดอะบอดีช็อป. กรุงเทพฯ:

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

Alice. (1996). Gender, Internet identification, and Internet anxiety: Correlates of Internet use. Cyber Psychology &

Behavior, 8 (4): 371-378.

Brown, J., Broderick, A. & Lee, N. (2007). Word of Mouth Communication within Online Communities: Conceptualizing the Online Social Networking. Journal of Interactive Marketing, 21 (3): 2-20.

Dickman, S. (1996). Tourism : An Introductory Text. Sydney: Hodder Education.

Fink, S., & Zerfass, A. (2010). Social media governance 2010. Results of a survey among communications professionals from companies, governmental institutions and non-profit organizations in Germany. Leipzig, Wiesbaden: University of Leipzig, FFPR.

Madupu, V. (2006). Online brand community participation : Antecedents and consequences. (Doctoral dissertation). Available from ProQuest Dissertations and Theses database. (UMI No. 3230964).

Macnamara, J., & Zerfass, A. (2012). Social media communication in organizations: The challenges of

balancing openness, strategy, and management. International Journal of Strategic Communication, 6 (4): 287-308.