การศึกษาผลการเรียนรู้กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ หน่วยน้ำและอากาศ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษา 8 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 โดยใช้ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E)

Main Article Content

อรอนงค์ สายแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยน้ำและอากาศ โดยใช้ชุดกิจกรรมในการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะการทำงานกลุ่ม ความมีวินัยในการเรียน และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ 2) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยน้ำและอากาศ โดยใช้ชุดกิจกรรมในการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านกะกำ จำนวน 23 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบวัดผลการเรียนรู้ของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลและแปลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเรียนรู้ของนักเรียนหลังการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ประเด็นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะการทำงานกลุ่ม ความมีวินัยในการเรียน และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยน้ำและอากาศ โดยใช้ชุดกิจกรรมในการสอนแบบ 5E ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). แนวทางการวัดและประเมินผลในชั้นเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 . กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
ดวงพร หมวกสกุล. (2555). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7
ขั้น ร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ กศ.ม.,มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.
ธัญญ์นรี วรวิทย์ธานท์. (2559). ผลการจัดการเรียนรู?แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้ชุดการสอนประกอบวิชาวิทยาศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ค.บ. (หลักสูตรและการสอน). นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ปริญภรณ อุไรรัมย. (2555). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง พืชน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบวัฏจักร 5E สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. ใน วารสารศรีวนาลัยวิจัย. 2(4), 10-19.
พงษ์พิศ พงษ์อินทร์ธรรม. (2556). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องน้ำและอากาศ โดยการสืบเสาะหาความรู้ เพื่อเสริมสร้างการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สุวธิดา ล้านสา. (2558). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช)กระบวนการสืบเสาะ
หาความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และจิตวิทยาศาสตร์
สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. ในวารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 9(2), 1134-1348.
Anastasi, A.. (1988). Psychological Testing. New York: The Macmillan Publishing
Company.
Educational Broadcasting Corporation. (2004). What is inquiry-based learning?.
http://www.thirteen.org/edonline/concept2class/inquiry/index.html. (accessed April 27, 2010).
Kuslan, Louis I., and A. Harris, Stone. (1972). Teaching Children Science: and Inquiry
Approach. Belmont, Califorinia; Wadsworth.
Musheno, B.V. and Lawson, A.E. (1999). Effect of Learning Cycle and Traditional
Text on Comprehension of Science Concepts by Students at Differing
Reasoning Level. Journal of Research Science Teaching. 36(1), pp. 23-37.