การคิดเชิงเรขาคณิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่ใช้วิธีการแบบเปิด

Main Article Content

สุดาทิพย์ หาญเชิงชัย
เตือนใจ ศักดิ์สองเมือง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ระดับการคิดเชิงเรขาคณิต ของนักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่ใช้วิธีการแบบเปิด โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต เก็บรวบรวมข้อมูลในภาคเรียนที่ 2                    ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ กล้องบันทึก              วีดิทัศน์ กล้องบันทึกภาพนิ่ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์โพรโตคอลและการบรรยายเชิงวิเคราะห์ ตามแนวคิดวิธีการแบบเปิดของอินทร์ประสิทธิ์ (Inprastiha, 2010) และระดับการคิดเชิงเรขาคณิตของแวนฮีลี (Van Hiele, 1986)


           ผลการวิจัยพบว่า


  1. ขั้นการนำเสนอสถานการณ์ปัญหาปลายเปิด นักเรียนอธิบายลักษณะรูปทรงเรขาคณิต โดยระบุคุณสมบัติของรูปทรงเรขาคณิต และอธิบายองค์ประกอบเกี่ยวกับรูปเรขาคณิตสองมิติในรูปเรขาคณิตสามมิติของรูปทรงเรขาคณิต แสดงถึงการคิดเชิงเรขาคณิตในระดับ 0 และระดับ 1

  2. ขั้นการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียน นักเรียนอธิบายคุณสมบัติ องค์ประกอบ และความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติกับสามมิติ ของรูปทรงเรขาคณิต แสดงถึงการคิดเชิงเรขาคณิตระดับ 0 และระดับ 1

  3. ขั้นการอภิปรายและเปรียบเทียบแนวคิดร่วมกันทั้งชั้นเรียน นักเรียนอธิบายและให้เหตุผลเกี่ยวกับคุณสมบัติ องค์ประกอบ และความสัมพันธ์ของรูปเรขาคณิตกับรูปทรงเรขาคณิต แสดงถึงการคิดเชิงเรขาคณิตระดับ 0 ระดับ 1 และระดับ 2

  4. ขั้นการสรุปโดยเชื่อมโยงแนวคิดของนักเรียน นักเรียนอธิบายและให้เหตุผลโดยใช้คุณสมบัติ องค์ประกอบ ความสัมพันธ์ของรูปเรขาคณิตสองมิติกับสามมิติ และความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับรูปทรงเรขาคณิต แสดงถึงการคิดเชิงเรขาคณิตระดับ 0 ระดับ 1 และระดับ 2

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จริยา สุนทรหาญ, อาพันธ์ชนิต เจนจิตและคงรัฐ นวลแปง. (2563). ผลของการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้วิธีการแบบเปิดที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 22(3), 38-48.
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2546). การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ในโรงเรียนโดยเน้นกระบวนการทางคณิตศาสตร์. ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์.
นิตยา อุดมผล. (2551). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เรื่องวงรีโดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad เป็นเครื่องมือประกอบการเรียนรู้ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาคณิตศาสตรศึกษา.
สมควร สีชมภู. (2549). การศึกษาระดับการคิดทางเรขาคณิตของนักเรียนตามโมเดลของแวนฮีลี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชา คณิตศาสตรศึกษา.
สุลัดดา ลอยฟ้าและไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2547). การสอนโดยใช้วิธีการแบบเปิดในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ญี่ปุ่น. KKU Journal of Mathematics Education, 1(1), 1-15.
Clements, Douglas H. (1998). Geometric and spatial thinking in young children. ERIC,40(120), 1-40.
Becker, J. P. & Shimada, S. (1997). The open-ended approach: a new proposal for teaching mathematics. Virginia: NCTM.
Brahier, D. J. (2005). Teaching secondary and middle school mathematics (2nd ed). USA: Pearson Education.
Eisenberg, T. & Dreyfus, T. (1991). On the reluctance to visualize in mathematics. In W. Zimmermann & S. Cunningham (Eds.) Visualization in teaching and learning mathematics (pp. 25-37). Providence, RI: MAA Notes Series, Vol. 19.
Hsin-Yi and Lin. (2559). A study of applying Van Hiele geometric thinking level theory to develop the multimedia materials of plane geometry for elementary students. Journal of Mathematics and Statistics, 11(7), 386-392.
Inprasitha, M. (2010). One feature of adaptive lesson study in Thailand –designing learning unit. Proceedings of the 45th Korean National Meeting of Mathematics Education. (pp. 193-206). Dongkook University, Gyeongju.
Isoda, M. & Katagiri, S. (2012). Monograph on lesson study for teaching mathematics and sciences Vol.1: mathematical thinking: how to develop it in the classroom. Singapore: World Scientific Printers.
Isoda, M. (2007). Developing mathematical thinking in classroom. Paper presented at APEC project: Collaborative Studies on Innovations for Teaching and Learning Mathematics in Different Cultures (II) Lesson Study focusing on Mathematical Thinking. Japan.
Pólya, G. (1957). How to solve it: A new aspect of mathematical method. Princeton, N.J: Princeton University Press.
Van Hiele, P. M. (1986). Structure and Insight: A theory of mathematics education. Orlando, FL: Academic Press.
Van Hiele, P. M. (1999). Developing Geometrical thinking through activities that begin with play. Teaching Children Mathematics, 5, 310-316.
Saengpun, J. (2020). Multiplicative discourse for making patterns in multiplication table in an open approach classroom teaching: a semiotic analysis. Journal of Education Naresuan University, 20(3), 1-11.
Schoenfeld, A. H. (1992). Learning to think mathematically: problem-solving, metacognition, and sense-making in mathematics. In Grouws, D.A. (Ed.), Handbook of Research on Mathematics Teaching. New York: Macmillan Publishing.
Shulman, L. (1987). Knowledge and Teaching: Foundations of the new reform. Harvard Educational Review, 57(1), 1-21.