แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการโซ่อุปทานผลิตภัณฑ์เตยหอม อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

ศรีศรินทร์ นรเศรษฐโสภณ
รัชนีวรรณ สุจริต
วิริยา บุญมาเลิศ
สิทธิชัย พินธุมา

บทคัดย่อ

                การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเพิ่มศักยภาพด้านโลจิสติกส์ที่ส่งผลต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ใบเตยหอมอำเภอพุทธมลฑล จังหวัดนครปฐม จำแนกตามกิจกรรมโลจิสติกส์ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ทางสถิติ  ได้แก่  การแจกแจงความถี่  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการวิจัย พบว่า  1)ประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 40 – 60 ปี ขนาดพื้นที่เพาะปลูก 1- 2 ไร่ และมีประสบการณ์ในการปลูกใบเตยหอม 3 - 6 ปี  กิจกรรมโลจิสติกส์ของเกษตรกร อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม  2)ด้านการบริหารจัดการการขนส่งที่มีประสิทธิภาพสู่ภายนอกส่วนใหญ่ชาวสวนไม่ได้ออกไปส่งสินค้าเอง จะมีพ่อค้าคนกลางมารับจากในสวน จึงทำให้ไม่เกิดปัญหาในการขนส่งผิดพลาย การขนส่งล่าช้า และลดปัญหาการเน่าเสียของใบเตยหอมของทางชุมชน 3)ด้านการบรรจุภัณฑ์และหีบห่อผลิตภัณฑ์ใบเตยหอมที่ชุมชน อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ได้มีการปลูกเพื่อไว้จำหน่ายนั้น มีการบรรจุหีบห่อที่ดีและทันสมัย เหมาะสำหรับการส่งออกเพื่อไปขายยังสถานที่ต่างๆ ชุมชนมีการพัฒนาหีบห่อ เพื่อจะได้สร้างมูลค่าเพิ่มในผลิตภัณฑ์ของตนเอง การมีบรรจุภัณฑ์ที่ดี และเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ของสินค้าตนเอง การมีบรรจุภัณฑ์ที่ดีจะทำให้ช่วยลดความเสียหายในผลิตภัณฑ์ใบเตยหอมของตนเอง และสามารถจำหน่ายได้ในเราค่าที่สูงมากขึ้น 4)ด้านช่องทางการจำหน่ายนอกจากชุมชนจะมันขายเองในตลาด เนื่องจากว่า แต่ละเดือน สามารถตัดใบขายได้ถึง 4 ครั้ง โดยจะตัดในช่วงก่อนวันพระ 1-2 วัน ในการตัดก็จะเลือกตัดเฉพาะใบที่ไม่มีตำหนิ ตัดจากใบด้านล่างขึ้นมา ปัจจุบัน สามารถเก็บใบเตยได้ครั้งละกว่า   100-200 กิโลกรัม ในราคากิโลกรัมละ 20 บาท และอีกแบบคือ แบบขายต้นแขนง ซึ่งจะเลือกเก็บเฉพาะต้นที่สมบูรณ์ รูปทรงสวย ในราคาแขนงละ 50 สตางค์ โดยลูกค้าจะนำไปมัดรวมกับดอกไม้กำ หรือนำไปขยายพันธุ์ จะมีการขายผ่านทางช่องทางออนไลน์ต่างๆ เช่น การขายออนไลน์ผ่านทาง Facebook , ผ่านทาง Line , Lazada และ Shopee

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ ศลิษา ภมรสถิตย์ และจักรกฤษณ์ ดวงพัสตรา, 2546, การจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์, สำนักพิมพ์ท้อป, กรุงเทพมหานคร.
กาญจน์วจี ธนโชติรุ่งสาทิส. (2557). ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของโลจิสติกส์ขนส่งข้าวไทยในเส้นทางขนส่งจากจังหวัดนครสวรรค์-ส่งออกต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
ชัญญาภัค หล้าแหล่ง. (2559). การจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์ทุเรียนในภาคใต้. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ณัฐพล วัฒนไชย. (2561). การปรับปรุงกระบวนการด้านโลจิสติกส์ตั้งแต่การจองรถจนถึงจุดส่งสินค้าของบริษัทโลจิสติกส์แห่งหนึ่ง. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ทายวุฒิ โพธิ์ทองแสงอรุณ. (2560). กระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์ กลุ่มอุตสาหกรรมน้ำตาล กรณีศึกษาโรงงานน้ำตาลวังขนาย. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยราชภัฏขอนแก่น.
ธนิต โสรัตน์, 2550. การประยุกต์ใช้โลจิสติกส์และโซ่อุปทาน, ประทุมทอง พริ้นติ่ง กรุ๊ป จำกัด.
กรุงเทพฯ, หน้า 68 – 72.
ธนชาติ นุ่มนนท์, 2561. Digital Transformation คือการพัฒนา Platform มิใช้แค่การสร้าง Product หรือ Service. [Online] https://thanachart.org/2018/03/24/digital-transformation -คือการพัฒนา-platform-มิใช่แค/. (1 ตุลาคม 2563)
พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล. โลจิสติกส์ก้าวอย่างประเทศไทยในกระแสโลกาภิวัฒน์. กรุงเทพฯ:
สุขภาพ, 2550.
CSCMP: Council of Supply Chain Management Professionals. 2006. Supply Chain Managementand Logistics Definition. [Online] http://www.cscmp.org/ Website/AboutCSCMP/Definitions/Definitions.asp. (1 October 2020)
Handfield, R.B. and Nichols, E.L. (1999), Introduction to supply chain Management, Prentice-Hall, Englewood Cliffs, NJ.
Lambert, D.M., Baker, A., Huynen, L., Haddrath, O., Herbert, P.D.N. and Millar, C.D. (2003). Is a Large-Scale DNA-Based Inventory of Ancient Life Possible. Journal of Heredity 96(3): 279-284
Mentzer, John T. et al. “Defining Supply Chain Management.” Journal of Business Logistics. 22, 2 (2001): 1-25.