การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากลายสักยันต์ไทย สำหรับกลุ่มคนเจเนอเรชั่นวาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากลายสักยนต์ไทย สำหรับกลุ่มคน เจเนอเรชั่น วาย เป็นงานวิจัยที่ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และนำลายสักยันต์ไทยมาออกแบบให้เข้ากับสังคมปัจจุบัน และเพื่อพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จากลายสักยันต์ไทย โดยการพัฒนาลวดลายลายสักยันต์ จัดทำแบบร่างผ่านผู้เชี่ยวชาญ 3 ด้าน คือ ด้านการออกแบบกราฟิก ด้านออกแบบผลิตภัณฑ์ และด้านการออกแบบแฟชั่น พิจารณา ปรับต้นแบบ และสอบถามกลุ่มเป้าหมายจำนวน 100 คน และสร้างต้นแบบในผลิตภัณฑ์ รวมถึงวางแผนด้านธุรกิจผ่านการทำแบบจำลองธุรกิจ
ผลการศึกษาพบว่าลายสักยันต์สามารถแบ่งออกตามความเชื่อทางไสยศาสตร์ได้ 2 แบบ คือความเชื่อด้านมหาอุด สะท้อนออกด้วยรูปแบบของเสือ และความเชื่อด้านมหานิยม สะท้อนออกด้วยรูปแบบของ นกคู่ (สาลิกา) เมื่อนำมาพัฒนาต้นแบบพบว่า แบบที่ 4 ในหมวดมหาอุด และแบบที่ 2 ในหมวดมหานิยม เหมาะสมในการนำไปพัฒนาต้นแบบ พบว่าพฤติกรรมผู้ซื้อสินค้า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 26-30 ปี มีรายได้เฉลี่ยที่ 20,000 บาท สินค้าที่เลือกซื้อเป็นประจำคือ เสื้อผ้า คิดเป็นร้อยละ 98 มูลค่าการซื้อแต่ละครั้งประมาณ 501-1,000 บาท ความถี่ในการซื้อที่เดือนละ 1 ครั้ง โดยใช้การตัดสินใจจาก รูปแบบดีไซน์ (Design) ราคา และสามารถใช้งานได้หลายโอกาส ตามลำดับ นิยมซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ โดยจาก Instagram สูงสุดคิดเป็นอัตราร้อยละ 69 ผู้วิจัยได้ทำการออกแบบผลิตภัณฑ์ลายสักยันต์ไทย 2 คอลเลคชั่น โดยแต่ละชุดประกอบด้วย เสื้อยืด กระเป๋าสะพาย หมวก กระเป๋าใส่ธนบัตร และพวงกุญแจ โดยแบ่งเป็นหมวดมหาอุด และหมวดมหานิยม และดำเนินการวางแผนด้านธุรกิจ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง. (2562, 14 สิงหาคม). คุยกับนักปรัชญา. ความธรรมดาที่ไม่ธรรมดาของการตลาดและสินค้าความเชื่อ. https://voicetv.co.th/read/gGayEm1RM
ธีรโชติ เกิดแก้ว. (2555). การศึกษาเชิงวิเคราะห์สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในยันต์ไทย. วารสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2(19), 13-25.
เบญจรงค์ อินทรวิรัตน์. (2557). การศึกพฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่ม Gen Y ซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานคร
และปริมณฑล. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่มีตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต
เปรมปรีดิ์ ไทยเที่ยง. (2553, 3 สิงหาคม). ความเชื่อของคนไทยในสมัยโบราณ.
https://www.stou.ac.th/study/projects/training/culture/content/2558/3/ความเชื่อของคนไทยในสมัย โบราณ.pdf
ผู้จัดการออนไลน์. (2563). ศูนย์พยากรณ์ศก. ม.หอการค้าฯ จัด 10 อันดับ ธุรกิจดาวรุ่ง ดาวร่วง ปี 2563.
https://mgronline.com/smes/detail/9620000120626
พิมลพรรณ ธนเศรษฐ. (2558). โครงการธุรกิจออกแบบผลิตและจำหน่ายกระเป๋าแฟชั่น. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่มีตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วรรณนิภา ชวนชม. (2553). ความเชื่อเรื่องการสักยันต์ห้าแถวหนุนดวง “กรณีศึกษาสำนักสักยันต์อาจารย์หนู กันภัย”. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Brandbuffet. (2557). Superstitious Marketing เพิ่มเสน่ห์ให้ธุรกิจ ด้วยแนวคิดการตลาดโชคลาง. https://www.brandbuffet.in.th/2014/03/superstitious-marketing-cmmu-seminar/
Posttoday. (2553). ดาราดังแห่สักยันต์เพิ่มเสน่ห์.
https://www.posttoday.com/ent/news/48053
Sothornprapakorn, P. (2561). ออกแบบ Collection ใหม่ Develop Design ไปทางไหนดี? http://www.neverlandeffects.com/how-to/ออกแบบ-collection-ใหม่-develop-design-ไปทางไหนดี/
Springnews. (2561). 10 ธุรกิจดาวรุ่ง-ดาวร่วง ปีหน้า หมอดู-เครื่องราง มาแรง. https://www.springnews.co.th/news/158825
Thansettakij. (2560). ประชากรไทย GenY ใหญ่สุด พฤติกรรมสร้างโอกาส-ความเสี่ยง.