ความพึงพอใจและความต้องการเกี่ยวกับรูปแบบการให้บริการธุรกิจรถโดยสารไม่ประจำทางในจังหวัดชลบุรี

Main Article Content

ธชาภินท์ คงห้วยรอบ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาลักษณะประชากรที่แตกต่างกันกับความต้องการเกี่ยวกับรูปแบบการให้บริการธุรกิจรถโดยสารไม่ประจำทางในจังหวัดชลบุรี (2) เพื่อศึกษาลักษณะประชากรที่แตกต่างกันกับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการธุรกิจรถโดยสารไม่ประจำทางในจังหวัดชลบุรี และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ มีความสัมพันธ์กับความต้องการเกี่ยวกับรูปแบบการให้บริการธุรกิจรถโดยสารไม่ประจำทาง ในจังหวัดชลบุรีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ผู้วิจัยได้ทำการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) โดยผู้วิจัยทำการเลือกเฉพาะคือ พนักงานบริษัทเอกชนในเครือสหพัฒน์ ได้แก่ (1) บริษัท ซัมมิท แหลมฉบัง โอโตซีท แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด (2) บริษัท ออโต้อินทีเรียร์ โปรดักส์ จำกัด สาขา 00001 (3) บริษัท ซัมมิท แหลมฉบัง โอโต บอดี้ เวิร์ค จำกัด สาขา 00001 และ (4) บริษัท ซัมมิท แหลมฉบัง โอโต บอดี้ เวิร์ค จำกัด เก็บกลุ่มตัวอย่างผ่านสื่อออนไลน์ โดยใช้โปรแกรม Google docs ในการเก็บกลุ่มตัวอย่างโดยโพสต์แบบสอบถามไปที่ Facebook  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS โดยสถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวน (One-way ANOVA) F-test และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ (Correlation Analysis)


            ผลการวิจัย พบว่า 1) ลักษณะประชากรที่แตกต่างกัน ได้แก่ บริษัทที่สังกัด อายุงาน และรถโดยสารไม่ประจำทางที่ใช้บริการกับความต้องการเกี่ยวกับรูปแบบการให้บริการธุรกิจรถโดยสารไม่ประจำทางในจังหวัดชลบุรีโดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับสถิติ 0.05 2) ลักษณะประชากรที่แตกต่างกัน ได้แก่ บริษัทที่สังกัด อายุงาน และรถโดยสารไม่ประจำทางที่ใช้บริการกับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการธุรกิจรถโดยสารไม่ประจำทางในจังหวัดชลบุรีโดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับสถิติ 0.05 และ 3) ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการโดยรวม มีความสัมพันธ์กับความต้องการเกี่ยวกับรูปแบบการให้บริการธุรกิจรถโดยสารไม่ประจำทางในจังหวัดชลบุรีโดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นไปในเชิงบวก กล่าวคือ เมื่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ โดยรวมเพิ่มมากขึ้น จะทำให้ความต้องการเกี่ยวกับรูปแบบการให้บริการธุรกิจรถโดยสารไม่ประจำทางในจังหวัดชลบุรีเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน โดยความสัมพันธ์ที่พบอยู่ในระดับสูง (r = 0.743)

Article Details

How to Cite
คงห้วยรอบ ธ. (2022). ความพึงพอใจและความต้องการเกี่ยวกับรูปแบบการให้บริการธุรกิจรถโดยสารไม่ประจำทางในจังหวัดชลบุรี. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 5(3), 11–20. https://doi.org/10.14456/issc.2022.2
บท
บทความวิจัย

References

กรมการขนส่งทางบก. (2563). รายงานสถิติการขนส่งประจำปี 2563. สืบค้น 25/2/2564, จาก https://www.dlt.go.th/.

มริษา ไกรงู.(2553). แนวคิดเกี่ยวกบัการบริการสาธารณ. สืบค้น25/2/2564, จาก http://dspace.bu.ac.th

/bitstream/123456789/472/1/marisa_krai.pdf.

รัชนี ตันเวทยานนท์ และ กุลเชษฐ์ มงคล. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจใช้บริการรถโดยสารปรับอากาศชั้น 1: กรณีศึกษาบริษัท ราชบุรีกลุ่ม 76 จำกัด. (ปริญญาโท). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วรัมพร ศรีเนตร และ ภาชญา เชี่ยวชาญ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกรับบริการการเดินทางด้วยรถตู้โดยสารประจำทาง

สายภาคตะวันออก. (ปริญญาโท). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ศุภรัตน์ จุลพงศ์ และ ปรีชา วรารัตน์ไชย์. (2560). รูปแบบการให้บริการรถตู้โดยสารปรับอากาศประจำเส้นทางกรณีศึกษา : สายกรุงเทพ–ปราณบุรี. (ปริญญาโท). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี. (2563). แผนพัฒนาจังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2561-2565 ฉบับทบทวน พ.ศ. 2563. สืบค้น 25/2/2564,

จาก http://old.industry.go.th/chonburi/index.php/about/faqs.

สิทธา คำประสิทธิ์. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการรถทัวร์นครชัยแอร์. (ปริญญาโท). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สิริวงษ์ เอียสกุล. (2557). ความพึงพอใจในการใช้บริการรถตู้และรถโดยสาร กรณีศึกษาจุดผ่านแดนสะพานมิตรภาพไทย - ลาว จังหวัด

หนองคาย. (ปริญญาโท). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุพักตร์ พิบูลย์. (2552). การวิจัยและพัฒนางานวิชาการ (R&D). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อลิสา วิภาสธวัช. (2558). การศึกษาคุณภาพการบริการของรถตู้โดยสารสายกรุงเทพฯ-พัทยา เพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการ

ของรถตู้โดยสาร. (ปริญญาโท). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York : London.

Nunnally, C. Jum. (1978). Psychometric theory. New York : McGraw-Hill.

Rovinelli, R. J. & Hambleton, R. K. (1997). On the Use of Content Specialists in the Assessment of Criterion Referenced Test Item Validity. Dutch Journal of Education Research, 2, 49-60.