ทิศทางวิชาชีพ แนวโน้มและความคาดหวังในการศึกษาต่อหลักสูตรการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ในยุคโลกพลิกผัน (Disruption Era)

Main Article Content

อวยพร พานิช
ทัศนีย์ ดำเกิงศักดิ์
นันธิการ์ จิตรีงาม
กันทลัส ทองบุญมา
สิทธา อุปนิกขิต

บทคัดย่อ

               บทความเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคาดหวังต่อหลักสูตรการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ในยุคโลกพลิกผัน (Disruption Era) ของนักศึกษาปีที่ 1 คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอกชน ศึกษาความคิดเห็นของนักวิชาชีพทางการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ที่มีต่อคุณสมบัติพึงประสงค์ รายวิชาและแนวโน้มวิชาชีพทางการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ในยุคโลกพลิกผัน และศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตร์ สาขาการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประชากรและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์หลักสูตรสาขาวิชาการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวน 10 สถาบัน


              ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ความคาดหวังของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการเรียนนิเทศศาสตร์มากที่สุด คือเรียนให้จบเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางนิเทศศาสตร์ โดยระบุรูปแบบการเรียนการสอนที่ต้องการมากที่สุด คือ อาจารย์สอนให้นักศึกษาผลิตสื่อต่าง ๆกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อรายวิชาด้านนิเทศศาสตร์โดยรวมอยู่ในระดับควรเพิ่ม โดยมีกลุ่มวิชาแกน วิชาที่ควรเพิ่มมากที่สุด คือ วิชาการสื่อสารในสื่อใหม่ กลุ่มวิชาเอกบังคับ วิชาที่ควรเพิ่มมากที่สุด คือ วิชาการสร้างสรรค์สารและเนื้อหา กลุ่มวิชาเอกเลือก วิชาที่ควรเพิ่มมากที่สุด คือ วิชาการผลิตสื่อความคาดหวังของสถานประกอบการ เห็นว่า ความรู้ที่จำเป็นที่บัณฑิตควรมีมากที่สุด คือ การวิเคราะห์ ผู้รับสาร ทักษะที่ควรมีมากที่สุด คือ ทักษะด้านการเขียนแผนประชาสัมพันธ์ คุณสมบัติส่วนบุคคลที่จำเป็นสำหรับผู้สำเร็จการศึกษามากที่สุด คือ การมีความพยายามแก้ปัญหาความสำคัญของรายวิชาด้านนิเทศศาสตร์ที่จำเป็นสำหรับหลักสูตร ควรเพิ่มมากที่สุด คือ กลุ่มวิชาเอกบังคับควรเพิ่มวิชาการเข้าถึงผู้บริโภค กลุ่มวิชาแกนควรเพิ่มวิชาการสื่อสารในสื่อใหม่ กลุ่มวิชาเลือกควรเพิ่มวิชาการสร้างสรรค์เนื้อหาและการผลิตสื่อดิจิทัลแนวโน้มวิชาชีพที่ควรมีอย่างยิ่ง คือ การปฏิบัติงานโฆษณาและงานประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อใหม่ และแนวโน้มวิชาชีพที่เป็นไปได้ คือ การโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ กับตลาดแรงงงาน สำหรับแนวโน้มวิชาชีพด้านนิเทศศาสตร์ ที่สถานประกอบการต้องการมากที่สุด คือ วิชาด้านคอนเทนต์และสื่อดิจิทัล


                ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า มีชื่อสาขาวิชาการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ จำนวน 5 แห่งนิเทศศาสตร์ จำนวน 3 แห่ง และมีจำนวนหน่วยกิตอยู่ระหว่าง 123 ถึง 141 หน่วยกิต กลุ่มรายวิชาทฤษฎี และปฏิบัติมีความคล้ายคลึงกัน กลุ่มรายวิชาที่แตกต่างกันต่างตามจุดเน้นของแต่ละมหาวิทยาลัย แนวโน้มรายวิชาที่มีความทันสมัยจะระบุคำว่าการตลาด สื่อใหม่ ดิจิทัล คอนเทนต์มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ ปรับชื่อสาขาวิชาการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ โดยเติมคำบอกความเป็นสมัยใหม่ เช่น ดิจิทัลและนวัตกรรม ในชื่อสาขาวิชา เช่น สาขาวิชานวัตกรรมการสื่อสารและแบรนด์ สื่อสารการตลาดดิจิทัล การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อดิจิทัลและการจัดกิจกรรม และมีการระบุคำว่าการตลาดและความเป็นสมัยใหม่ เช่น ดิจิทัลและสื่อใหม่ในชื่อรายวิชาต่าง ๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). กระทรวงอุตสาหกรรม: กรุงเทพฯ.
ชวลิต ชูกำแพง. (2561). การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร: แนวคิดและกระบวนการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2558). การพัฒนาหลักสูตร: ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: วีพริ้นท์.
ธำรง บัวศรี. (2543). ทฤษฎีหลักสูตร: การออกแบบและพัฒนา. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
พนม คลี่ฉายา. (2557). แนวโน้มวิชาชีพ หลักสูตรและคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของบัณฑิตสาขาวิชาการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์. คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). หลักและพื้นฐานการอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภาคิน บัวจีบ. (2559). ความพึงพอใจเเละความคิดเห็นของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายเเละบัณฑิตใหม่ที่มีต่อหลักสูตรคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ประจำปีการศึกษา 2559. คณะนิเทศศาสตร์. มหาวิทยาลัยสยาม.
รวีพรรณ อุดมรินทร์ และคณะ. (2560). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร คณะวิทยาการจัดการ. มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2562). การจัดการเรียนรู้ในยุค Disruptive Innovation. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.
วิฆเนศวร ทะกอง และคณะ. (2560). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
ศุภณิช จันทร์ส่อง. (2553). การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. คณะวิทยาการจัดการ. มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552. เอกสารอัดสำเนา.
วไลรัตน์ ยุทธศิลป์. (2546). การประเมินหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต ปีการศึกษา 2546. คณะนิเทศศาสตร์. มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.
หนึ่งฤทัย ขอผลกลาง. (2545). แนวโน้มของการพัฒนาหลักสูตรนิเทศศาสตร์ในประเทศไทย. นครราชสีมา:สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
Alexander, D. (2004). Changing the public relations curriculum: A new challenge for educators.
Prism 2. Retrieved Jul 11, 2013, from http://praxis.massey.ac.nz
Colin Marsh and Ken Stafford. (1984). Curriculum: Australian Practice and Issues. Sydney: McGraw-Hill.
Commission on Public Relations Education. (2006). The Professional Bond-Public Relations Education and the Practice. Public Relation Society of America (PRSA)., Commission on Public Relations Education Report.
Gibson, D.C. (1983). Public Relations Education in a time of Change Suggestions for academic Relocation and Renovation. Public Relations Quarterly, 32(3) 25-31.
Hilda Taba (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. New York: Harcourt Brace & World.
Victor Nolet and Margaret J. McLaughlin (2000). Accessing the General Curriculum Including Students with Disabilities in Standards-Based Reform. California: Corwin.
Wise, K. (2005). The importance of writing skills. Public Relations Quarterly, 50(2). 37-48
Wilcox, D.L. (2006). The Landscape of Today’s Global Public Relations. Anlisi. 34, 67-85.
Zlateva, M. (2003). Public relations education-an instrument for the transformation and development of human resources. Higher Education in Europe, 28(4), 511-518.