ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสื่อสารทางการตลาดกับบุคลิกภาพตราสินค้าของการจัดงานวิ่งบางแสน 21
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาการรับรู้การสื่อสารทางการตลาดและการรับรู้บุคลิกภาพตราสินค้าของการจัดงานวิ่งบางแสน 21 2. เปรียบเทียบลักษณะทางประชากรที่มีผลต่อการรับรู้บุคลิกภาพตราสินค้าของการจัดงานวิ่งบางแสน 21 3. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารทางการตลาดกับการรับรู้บุคลิกภาพตราสินค้าของการจัดงานวิ่งบางแสน 21 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้วิธีการสำรวจด้วยแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 600 คน
ผลการศึกษาพบว่า
- กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้การสื่อสารทางการตลาดของงานวิ่งบางแสน 21 โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง
- กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้บุคลิกภาพตราสินค้าของงานวิ่งบางแสน 21 อยู่ในบุคลิกภาพผู้มีความสามารถ มากที่สุด รองลงมา คือ บุคลิกภาพน่าตื่นเต้น, บุคลิกภาพห้าวหาญ, บุคลิกภาพจริงใจ และบุคลิกภาพโก้หรู มีระดับ
- เพศแตกต่างกัน ทำให้การรับรู้บุคลิกภาพตราสินค้าแบบโก้หรู มีระดับ ของงานวิ่งบางแสน 21 แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
- รายได้แตกต่างกัน ทำให้การรับรู้มิติบุคลิกภาพตราสินค้าแบบจริงใจ ของงานวิ่งบางแสน 21 แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
- การสื่อสารทางการตลาดของงานวิ่งบางแสน 21 กับการรับรู้มิติบุคลิกภาพจริงใจ มีความสัมพันธ์กันมากที่สุด ที่ระดับ 0.57 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
ก่อพงษ์ พลโยราช. (2551). บุคลิกภาพตราองค์กรในประเทศไทย (รายงานการวิจัย). ขอนแก่น: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
การกีฬาแห่งประเทศไทย. (2564). แผนยุทธศาสตร์การกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๖๔ – พ.ศ. ๒๕๗๐. กรุงเทพ: การกีฬาแห่งประเทศไทย.
จิตรลดา ศักดิ์ศรีพิพัฒน์, (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาพลักษณ์ คุณภาพให้บริการและความตั้งใจซื้อของผู้ใช้บัตรเครดิต ธนาคารซีไอเอ็มบีไทยในเขตกรุงเทพมหานคร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสยาม.
ณัฐจิรภัค บุญทศ. (2556). การเปรียบเทียบการรับรู้บุคลิกภาพตราสินค้าชาพร้อมดื่ม ระหว่าง “โออิชิ” กับ “อิชิตัน” และอิทธิพลของ บุคลิกภาพ “คุณตัน ภาสกรนที” ที่มีต่อการรับรู้บุคลิกภาพตราสินค้าของสองตราสินค้า. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาการตลาด, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ดารา ทีปะปาล. (2553). การสื่อสารการตลาด. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.
ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่กับงานวิ่งคุณภาพระดับอินเตอร์ BANGSAEN 21 นักวิ่งกว่า 3,600 คน จากทั่วประเทศ การันตีว่านี่คืองาน วิ่งฮาล์ฟมาราธอนที่ดีที่สุด. (2558). สืบค้น 3 ธันวาคม 2563, จาก https://www.ryt9.com/s/prg/2321584
ปริทัศน์ พระสุจันทร์. (2557). การรับรู้บุคลิกภาพตราสินค้าแอมเวย์ กรณีศึกษา : ประชากรในเขตอำเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาการตลาด, คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สราลี พุ่มกุมาร และวิรัตน์ สนธิ์จันทร์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสื่อสารทางการตลาดกับบุคลิกภาพตราสินค้าคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 28(2), 295-317.
สักกรินทร์ นิยมศิลป์. (2563). คนไทย 16 ล้านคนเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพ. สืบค้น 3 ธันวาคม 2563, จาก https://www.thaihealthreport.com/articleapr012020
สิญาทิพย์ เพี้ยนภักตร์. (2563). การสร้างแบรนด์กิจกรรม (Event Brand) กรณีศึกษา กิจกรรมงานวิ่ง BANGSAEN 21. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 14(1), 86-120.
Aaker, D. A. (1996). Building strong brands. New York: Free Press.
Aaker, J. L. (1997). Dimensions of brand personality. Journal of Marketing Research, 34(3), 347-356.
Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons.
Duncan, T. (2005). Principle of Advertising & IMC. 2d ed. Boston: McGraw-Hall companies, Inc.
Plummer, J. T. (1984). How Personality Makes a Difference. Journal of Advertising Research, 24(6), 27-31.