กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษา ตลาดชุมชนบ้านตะปอน จังหวัดจันทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม และปัญหา อุปสรรคการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมของตลาดชุมชนบ้านตะปอน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี โดยวิธีเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการวิเคราะห์จากเอกสาร ลงพื้นที่ สัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม และจัดเวทีระดมความคิดเห็นกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ กลุ่มแกนนำ และคณะกรรมการตลาดชุมชนตะปอน กลุ่มสมาชิกเครือข่ายของตลาดชุมชนตะปอน พบว่า กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม จะพัฒนาได้อย่างยั่งยืนและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อคนท้องถิ่น ต้องเริ่มต้นจาก “การมีส่วนร่วม”ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มทั้งผู้ที่อยู่ในชุมชนและผู้อื่นที่ได้รับ จากการใช้มรดกทางวัฒนธรรมเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวผ่านแกนนำสมาชิกจนเกิดเป็นเครือข่ายความสำเร็จร่วมกัน ใช้การเจรจาพูดคุย สร้างข้อตกลงร่วมกันระหว่างสมาชิกเครือข่าย เป็นการทำงานในลักษณะหุ้นส่วนความสำเร็จในการรับผลประโยชน์ร่วมกัน ยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงการสร้างความรัก ความสามัคคี การสืบสานอนุรักษ์ของคนในหมู่บ้าน ตลาดชุมชนแห่งนี้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยพบว่าปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นประกอบด้วย 2 ประการ คือ การขาดงบประมาณสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง และการบริหารจัดการตลาดยังไม่มีประสิทธิภาพดีพอเพื่อให้เกิดความยั่งยืน
Article Details
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
ชายชาญ ปฐมกาญจนา และ นรินทร์ สังข์รักษา. (2558). แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมของชุมชนตลาดบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. Academic Services Journal Prince of Songkla University, 26(1), 118-129.
ชิตาพร กันหลง. (2543). กระบวนการสื่อสารในการผลักดันรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540. (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพมหานคร. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐนันท์ วงษ์ประสริฐ. (2557). กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวงานประเพณีรับบัวของอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารบัณฑิตศึกษา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 3(2), 1-18.
นุชนารถ รัตนสุวงศ์ชัย. (2554). กลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. วารสารมนุษยศาสตร์, 18(1),
31-50.
ปรียนันท์ สิทธิจินดาร์. (2551). การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตร-วัฒนธรรม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลตะปอน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). จันทบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
พระครูปลัดสุวัฒนจริยคุณ. (2559). การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม: วิกฤตหรือโอกาสของวัดในล้านนา. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 1(2), 135-145.
พุฒิธร อุดมพงษ์. (2548). กระบวนการสื่อสารในการผลักดันนโยบายและมาตรการจัดระเบียบโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2546. (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพมหานคร. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มาฆะ ขิตตะสังคะ และคณะ. (2553). การศึกษาการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน กรณีศึกษา จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน. (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). เชียงราย. วิทยาลัยนานาชาติภูมิภาคลุ่มน้ำโขง มหาวิทยําลัยราชภัฏเชียงราย.
วัชระ ชัยเขต, พล เหลืองรังษี และธิญาดา แก้วชนะ. (2560). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการเลือกแหล่งท่องเที่ยว กรณีศึกษาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนในจังหวัดสงขลา (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
สำนักงานจังหวัดจันทบุรี. (2558). คู่มือการท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์บริษัท พี.เอ.ลิฟวิ่ง จำกัด.
Berlo, D.K. (1960). The process of communication. New York: Holt, Rinehart and Winston.
World Tourism Organization. (2001). Sustainable development of tourism. Report of the Secretary-General(Document No. E/CN.17/2001/PC/21). New York. UN