ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมมารยาทไทยของเยาวชน

Main Article Content

สกลพร ขจรศิลป์

บทคัดย่อ

เมื่อโลกเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ยุคมิติโลกไร้พรมแดนสิ่งที่เข้ามาพร้อมกับกระแสโลกาภิวัตน์คือบริโภคนิยมและวัตถุนิยมนำไปสู่ประเด็นปัญหาวัฒนธรรมมารยาทไทยถูกแปรเปลี่ยนไปตามกระแสโลกเป็นเพราะเยาวชนมีวุฒิภาวะไม่เพียงพอจึงผ่านเลยต่อการวิเคราะห์ว่าสิ่งใดควรที่จะต้องเปลี่ยนแปลงหรือสิ่งใดควรที่จะต้องคงไว้เป็นผลให้มารยาทไทยถูกปรับเปลี่ยนหรือเบี่ยงเบนไปในทิศทางไม่เหมาะสมเป็นความเสื่อมถอยของวัฒนธรรมมารยาทไทยเป็นความสูญเสียอันยิ่งใหญ่ที่มักถูกมองข้ามการเปลี่ยนแปลงมารยาทของเยาวชนขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆจนอาจเรียกได้ว่าอยู่ในขั้น“วิกฤต”โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกิดกับเยาวชนกลุ่มวัยเปราะบางผู้ที่ยังไม่เป็นผู้ใหญ่อย่างสมบูรณ์เต็มตามความหมายทำให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยงได้ง่ายบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์ปัจจัยหลักๆที่มีอิทธิพลทำให้มารยาทของเยาวชนเปลี่ยนแปลงแสดงให้เห็นน้ำหนักความสำคัญของแต่ละปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้องอันจะช่วยให้มีมุมมองกว้างขึ้นซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปปรับใช้เพื่อปกป้องและแก้ไขปัญหาก่อนสถานการณ์จะบานปลายจนยากเกินการแก้ไขจากการสังเคราะห์พบว่าสาเหตุที่ทำให้มารยาทไทยของเยาวชนเปลี่ยนแปลงไปเกิดจากอิทธิพลของหลายปัจจัยร่วมกันที่คุกคามเข้ามาอย่างหนักตามกระแสโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมโลกและเทคโนโลยีที่พัฒนาแบบก้าวกระโดดซึ่งเยาวชนไทยเปิดรับเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตอย่างเต็มที่ส่งผลให้ทัศนคติและค่านิยมของเยาวชนเปลี่ยนแปลงเป็นผลให้มารยาทไทยถูกปรับเปลี่ยนไปตามกระแสนิยมเกิดพฤติกรรมไร้มารยาทแบบสุดโต่งระบาดไปทั่วฉีกกรอบวัฒนธรรมและจารีตประเพณีบทความนี้ให้แง่คิดในเชิงอนุรักษ์เพื่อปกป้องและธำรงรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมมารยาทไทยเอกลักษณ์สำคัญของชาติให้คงอยู่คู่สังคมไทยตลอดไป

Article Details

How to Cite
ขจรศิลป์ ส. (2022). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมมารยาทไทยของเยาวชน. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 5(4), 196–205. https://doi.org/10.14456/issc.2022.38
บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงศึกษาธิการ, กรมวิชาการ. (2546). สมบัติของผู้ดี(พิมพ์ครั้งที่31). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

เกรียงศกดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์.(2546). ภาพอนาคตและคุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี.ที.ซี.คอมมิวนิเคชั่น.

งามพิศ สัตย์สงวน. (2545).ทัศนคติเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ของนักศึกษาไทยและนักศึกษาอเมริกัน : การวิจัยข้ามวัฒนธรรมในประเทศ อเมริกา. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะรัฐศาสตร์, ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา. (2549).สังคมและวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งที่10). กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2546). ไฮเทคาถาปาฏิหาริย์ ว่าด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสังคมไทย.กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มติชน.

นิเทศ ตินณะกุล. (2549). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประเสริฐ แย้มกลิ่นฟุ้ง . . (2544). สังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ผะอบ โปษะกฤษณะ, พ.ต.หญิง คุณหญิง.(2530).มรรยาทไทย. กรุงเทพมหานคร : องค์การค้าของคุรุสภา.

พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิพงษ์. (2547). การจัดระเบียบทางสังคม : ความคิดพื้นฐานทางสังคมวิทยา. คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2539). ศาสนาและเยาวชน (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพมหานคร : สหธรรมิก.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2556). ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะศาสนาประจำชาติ (พิมพ์ครั้งที่19). กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.

พุทธทาสภิกขุ . (2549). เยาวชนกับทางรอดของสังคม. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.

พัทยา สายหู. (2544). กลไกของสังคม (พิมพ์ครั้งที่10) . กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพศาล สุริยะวงศ์ไพศาล. (2544). คิดแบบเอเชีย. กรุงเทพมหานคร : นำอักษรการพิมพ์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2524). พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา อังกฤษ - ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน.กรุงเทพมหานคร : รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977).

ลิขิต ธีรเวคิน. (2548). คนไทยในอุดมคติ. กรุงเทพมหานคร : เอส เอ็ม เอธุรกิจและการพิมพ์.

ศรีศักร วัลลิโภดม.(2549). พัฒนาการทางสังคม วัฒนธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพมหานคร:อัมรินทร์พริ้นติ้ง.

สนิท สมัครการ. (2538). การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมกับการพัฒนาการของสังคม (พิมพ์ครั้งที่2) .กรุงเทพมหานคร : โครงการ ส่งเสริมเอกสารวิชาการสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สมศรี สุกุมลนันท์. (2559). มารยาทสังคม. กรุงเทพมหานคร : ปูนซิเมนต์ไทย.

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก. (2546). พุทโธโลยี .... “แสงส่องใจ พระมหากรุณาของพระพุทธเจ้า”. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์พระพุทธศาสนาประกาศ.

สุพัตรา สุภาพ. (2549). สังคมวิทยา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

สุจิตรา สุคนธทรัพย์ . (2540). การวิเคราะห์คุณลักษณะไทยคุณค่าและกระบวนการถ่ายทอดศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวแบบไทย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาสารัตถศึกษา สาขาวิชาพัฒนศึกษา,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุริชัย หวันแก้ว และสุรพร เสี้ยนสลาย. (2547). ประมวลสาระชุดวิชาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการบริหารการพัฒน (หน่วยที่2-3) นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์.

แสร์ ขจรศิลป์, คุณพระ. (2476). วิชาการครัวและแม่บ้าน. พระนคร : โรงพิมพ์ศรีหงส์.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม.(2556). มารยาทไทย กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

Freud, Sigmund. (1958).Family Relationships and Delinquent Behavior. New York: John Wiley & Son, Inc.

Parsons, T. (1965). The Structure of social action. New York: Free Press.

Erik H. Erikson. (1975). Erikson’s Psychosocial Theory. Retrieved August 5,2563, from https://old-book.ru.ac.th > chapter 3 PDF