แนวทางการพัฒนารูปแบบการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมคุณค่าตราสินค้า การท่องเที่ยวชุมชน จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

สมพงษ์ เส้งมณีย์
โสภัทร นาสวัสดิ์
นธกฤต วันต๊ะเมล์

บทคัดย่อ

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมคุณค่าตราสินค้าของการท่องเที่ยวชุมชน จังหวัดจันทบุรี 2) ศึกษาอิทธิพลของเครื่องมือการสื่อสารการตลาด        แบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมคุณค่าตราสินค้าของการท่องเที่ยวชุมชน จังหวัดจันทบุรี และ 3) ศึกษาหาแนวทางการพัฒนาการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมคุณค่าตราสินค้าของการท่องเที่ยวชุมชน จังหวัดจันทบุรี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ ในส่วนของระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตจากผู้ที่มีบทบาทสำคัญด้านการท่องเที่ยวในชุมชนบางสระเก้า อ. แหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี จำนวน 5 คน และนำผลวิจัยมาพัฒนาในระยะที่ 2 เป็นการวิจัย  เชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม ในการเก็บข้อมูลจากนักท่องเที่ยวชุมชนบางสระเก้าจำนวน 400 คน จากนั้นนำผลวิจัยมาพัฒนาต่อในระยะที่ 3  ในระยะนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) เพื่อหาฉันทามติซึ่งเกี่ยวกับแนวทางการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมคุณค่าตราสินค้าของการท่องเที่ยวชุมชน จังหวัดจันทบุรี จากผู้เชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ในการทำงานด้านการท่องเที่ยวทั้งภาครัฐและเอกชนทั้งหมด 15 คน ผลวิจัยพบว่า รูปแบบการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมคุณค่าตราสินค้าของการท่องเที่ยวชุมชนที่การท่องเที่ยวชุมชนบางสระเก้าได้ใช้ การโฆษณา (Advertising) การประชาสัมพันธ์ (Public Relations) การใช้พนักงานขาย (Personal Selling) การตลาดเชิงกิจกรรม (Event Marketing) และ การตลาดออนไลน์ เครื่องมือการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่มีอิทธิพลต่อการส่งเสริมคุณค่า ตราสินค้าของการท่องเที่ยวชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ การใช้พนักงานขาย ( = .27) และการตลาดเชิงกิจกรรม ( = .27) และแนวทางการพัฒนาการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมคุณค่าตราสินค้าของการท่องเที่ยวชุมชน จังหวัดจันทบุรี ควรมีการวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน กำหนดกลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ กลุ่มศึกษาดูงานของหน่วยงานต่าง ๆ กลุ่มเป้าหมายรอง ได้แก่ กลุ่มครอบครัว, กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มที่ชื่นชอบท่องเที่ยววิถีชีวิตชุมชน การกำหนดจุดเด่น ได้แก่ “เสื่อบางสระเก้า”, “วิถีชีวิต”, “ศูนย์การเรียนรู้”, “ตลาดสี่มุมเมรุ” และ “การท่องเที่ยวที่ปลอดภัย” กำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนตามด้านของคุณค่าตราสินค้า กำหนดเครื่องมือการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการโดยใช้การใช้พนักงานขายและการตลาดเชิงกิจกรรมเป็นเครื่องมือหลักและใช้เครื่องมือการสื่อสารการตลาดอื่นการส่งเสริมในการสื่อสาร มีการประเมินผลทั้งแบบภาพรวมและแยกแต่ละประเภทเครื่องมือโดยมีระยะเวลาในการใช้แผน 1 ปี

Article Details

How to Cite
เส้งมณีย์ ส., นาสวัสดิ์ โ., & วันต๊ะเมล์ น. (2022). แนวทางการพัฒนารูปแบบการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมคุณค่าตราสินค้า การท่องเที่ยวชุมชน จังหวัดจันทบุรี. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร, 5(3), 1–10. https://doi.org/10.14456/issc.2022.1
บท
บทความวิจัย

References

ชนิดา พุ่มศรี. (2561). การพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการเพื่อสร้างการรับรู้คุณค่าการ ท่องเที่ยวเชิงนิเวศจังหวัดราชบุรี. วาสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. 5(2), 1-14.

นรีนุช ยุวดีนิเวศ. (2561). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของนักท่องเที่ยวในงานเทศกาลแห่ เทียนเข้าพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 13(1), 123 – 131.

นธกฤต วันต๊ะเมล์. (2555). การสื่อสารการตลาด. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.

ณฤดี คริสธานินทร์. (2560). สื่อสารอย่างไรให้เข้าถึงหัวใจผู้บริโภค. TAT REVIEW, 2(5), 42.

สราวุธ อนันตชาติ. วารินยา ลีลายุวัฒน์ และณัฏฐภาวรรณ ศรีภิรมย์. (2554). เอกสารการสอนชุดวิชาการสื่อสารการตลาดหน่วยที่ 1-7. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สัจจา ไกรสรรัตน์ และ วรรักษ์ สุเฌอ. (2560). กระบวนการสร้างตราสินค้าให้กับตลาดชุมชนโบราณลุ่มน้ำสุพรรณบุรีในฐานะของแหล่งท่องเที่ยว. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 19(2), 35-48.

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดจันทบุรี. (2562). สรุปการจัดประเภทชุมชนท่องเที่ยว. เอกสารการประชุม.

เสรี วงษ์มณฑา และ วรสุวิทย์ โพธิสัตย์. (2561). แนวทางในการเสริมสร้างคุณค่าสินค้า OTOPและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน: กรณีศึกษาอำเภอ

ศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารรัชต์ภาคย์, 12(25), 1-24.

อรรธิการ พังงา, ศรีสุดา จงสิทธิผล, เสรี วงษ์มณฑา และ ชุษณะ เตชคณา. (2560) การสร้างตราสินค้าเมืองท่องเที่ยวเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน กรณีศึกษา การท่องเที่ยวเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. วาสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 12(39), 25-36.

อัจฉรา สุจา. (2562). การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนจากต้นทุนทางวัฒนธรรมของตำบลต้นเปา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่.วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Aaker, D. A. (1991). Managing Brand Equity. New York: The Free Press.

Andrews, J. C., & Shimp, T. A. (2017). Advertising, Promotion, and other aspects of Integrated Marketing Communications (10th ed.). Mason, Ohio: Thomson South-Western.

Armstrong, G., & Kotler, P. (2003). Marketing and introduction. (6th ed.). New Jersey: Pearson.

Kliatchko, J. (2005). Towards a new definition of integrated marketing communications (IMC). International Journal of Advertising, 24(1), 7-34.

Kotler, p. (2003). Marketing Management (11th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Shafaei, F., & Mohamed, B. (2015). Involvement and brand equity: a conceptual model for Muslim tourists. International Journal of Culture, Tourism and Hospitality Research, 9(1), 54–67.