ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการทรัพยากรมนุษย์สำหรับ การจ้างแรงงานวัยเกษียณในภาคเอกชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นปัจจัยส่วนบุคคล ด้านงานและองค์การ ด้านเศรษฐกิจ แรงจูงใจ และความตั้งใจที่จะทำงานภายหลังเกษียณของพนักงานบริษัทเอกชน 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านงานและองค์การ ด้านเศรษฐกิจ และแรงจูงใจ มีอิทธิพลต่อความตั้งใจที่จะทำงานต่อภายหลังเกษียณอายุของพนักงานบริษัทเอกชนและ 3) เพื่อนำเสนอบทสรุปข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการทรัพยากรมนุษย์ สำหรับการจ้างแรงงานวัยเกษียณในภาคเอกชน
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม โดยในส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรในการศึกษาเป็นพนักงานภาคเอกชน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มหลายชั้นและการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ โดยกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้มีจำนวน 396 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารภาคเอกชน พนักงานภาคเอกชน และภาครัฐ ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 8 คน เป็นผู้ให้ข้อมูลหลักการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์แบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับ ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านงานและองค์การด้านเศรษฐกิจ และแรงจูงใจ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางถึงมาก และพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านงานและองค์การ และด้านเศรษฐกิจ มีอิทธิพลทางตรงและอิทธิพลทางอ้อมผ่านแรงจูงใจต่อความตั้งใจที่จะทำงานภายหลังเกษียณ จากการบูรณาการผลการศึกษาทั้งหมด สามารถนำเสนอบทสรุปข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการทรัพยากรมนุษย์สำหรับการจ้างแรงงานวัยเกษียณในภาคเอกชน อาศัยความร่วมมือ 3 ฝ่าย ได้แก่ พนักงานภาคเอกชน สถานประกอบการภาคเอกชน และภาครัฐ ใน 5 ประเด็น ดังนี้ (1) การวางแผน (2) การสรรหา (3) การพัฒนา (4) การจูงใจ และ (5) ค่าตอบแทนและสวัสดิการ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
** ข้อความ ข้อคิดเห็น หรือข้อค้นพบ ในวารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสารเป็นของผู้เขียน ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อผลทางกฎหมายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากบทความและงานวิจัยนั้น ๆ โดยมิใช่ความรับผิดชอบของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี **
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2560, 23 มีนาคม). ชุดความรู้การดูแลตนเองและพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ “มีงานทำ”.
http://ltc-older.dop.go.th/download/knowledge/th1548051163-113_0.pdf
เกษร อึ้งสวรรค์. (2559). การพัฒนาตัวแบบเชิงนโยบายแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่เสริมสร้างสมรรถนะการทำงานของผู้สูงอายุ
ที่กลับสู่กำลังแรงงาน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เกริกศักดิ์ บุญญานุพงศ์. (2539). นโยบายของรัฐและแนวทางการจัดบริการสังคมสำหรับผู้สูงอายุในอนาคต.
สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
แก้วขวัญ ตั้งติพงศ์กูล และ ศุภชัย ศรีสุชาติ. (2559, 22 มีนาคม). ถอดบทเรียนสถานประกอบการที่มีการจ้างแรงงานสูงวัย. มูลนิธิ
สถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. https://thaitgri.org/?p=37632
“ขยายอายุการจ้างงานวัยเกษียณ”, (ม.ป.ป, 2 เมษายน).
https://dol.thaihealth.or.th/resourcecenter/sites/default/files/documents/lo3_wayeksiiyn.pdf
จักร อินทจักร. (2548). คู่มือการบริหารทรัพยากรบุคคล. บุ๊คแบงก์.
จำเนียร จวงตระกูล. (2553). การวิจัยเชิงคุณภาพ: เครื่องมือการสร้างองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาประเทศ. ศูนย์กฎหมายธุรกิจอินเตอร์เนชั่นแนล.
เฉลิมพล แจ่มจันทร์ และ สวรัย บุณยมานนท์. (2554). แรงงานสูงวัยและการคาดการณ์ผลกระทบจากการขยายกำหนด
เกษียณอายุ. ประชากรและสังคม 2554: จุดเปลี่ยนประชากร จุดเปลี่ยนสังคมไทย. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2550). การฝึกอบรมบุคลากรในองค์กร. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนยศ สุมาลย์โรจน์ และ ฮานานมูฮิบบะตุดดีน นอจิ สุขไสว. (2558). ผู้สูงอายุในโลกแห่งการทำงาน: มุมมองเชิงทฤษฎีทางกายจิตสังคม. วารสารปัญญาภิวัฒน์,7(1), 242-254.
ธเนศ ศรีวิชัยลําพันธ์. (2558). เศรษฐศาสตร์แรงงาน. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธีร์ธรรม วุฑฒิวัตรชัยแก้ว. (2559, 3 พฤษภาคม). ศึกษาการจ้างแรงงานผู้สูงอายุในภาคเอกชน. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนา ผู้สูงอายุ. https://thaitgri.org/?p=37637
พยอม วงศ์สารศรี. (2552). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. (พิมพ์ครั้งที่ 5). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
พรรัตน์ แสดงหาญ. (2561). การจ้างงานผู้สูงอายุในธุรกิจโรงแรมภาคตะวันออกของประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 15(2), 131-157.
“พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2560” (31 สิงหาคม 2560). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 8 ก, 1-44.
พัชรพงศ์ ชวนชม. (2561). ลักษณะงานที่เหมาะสมกับแรงงานผู้สูงอายุ. วรสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(1), 127-138.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. นานมีบุคส์พับลิเคชั่นส์.
วรรณภา ลือกิตินันท์. (2560). องค์ประกอบในการบริหารแรงงานสูงอายุในอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 8(1), 12- 20.
วรเวศม์ สุวรรณระดา. (2556). บทเรียนประสบการณ์ทางนโยบายการขยายอายุการทำงานจากประเทศญี่ปุ่น. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2561, 30 เมษายน). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยประจำปี พ.ศ. 2561.
http://www.dop.go.th/download/knowledge/th1573033396-261_0.pdf
สถิตพงศ์ ธนวิริยะกุล. (2556). มโนทัศน์ใหม่นิยามผู้สูงอายุและการขยายอายุเกษียณ. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.
สมรักษ์ รักษาทรัพย์, ถวิล นิลใบ และ นงนุช อินทรวิเศษ. (2551). รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์โครงการนำร่องศึกษา ความ
เหมาะสมในการทำงานของแรงงานหลังเกษียณอายุ. สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สังคมสูงวัยกับความท้าทายของตลาดแรงงานไทย. (2561, 3 กุมภาพันธ์). โครงการศึกษาด้านโครงสร้างเศรษฐกิจไทยที่มีนัยต่อการดำเนินนโยบาย สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย. https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/DocLib_/Article_01Aug2018
สวรัย บุณยมานนท์ และ ปภัศร ชัยวัฒน์.(2556). โครงการทบทวนวรรณกรรมบทเรียนประสบการณ์ทางนโยบายการขยายอายุการทำงานจากสามประเทศ (สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และสิงคโปร์). มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทยและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเริมสุขภาพ.
สาคร สุขศรีวงศ์. (2551). การจัดการ: จากมุมมองนักบริหาร. จีพีไซเบอร์พรินท์.
สุภางค์ จันทวานิช. (2548). การวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 13). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรีย์ เข็มทอง, จิระภรณ์ ตันติชัยรัตนกูล, อัจฉรา ชีวะตระกูลกิจ, ภาวิน ชินะโชติ, กัลยนุช กิตติพงศ์พิทยา, สุรเดช หวังทอง และ อัจฉรีย์ ลิมปมนต์. (2559). นโยบายการจ้างงานบุคลากรผู้สูงอายุในธุรกิจโรงแรมเครือข่ายไทย. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อรนุช หงษาชาติ, ชีพสุมน รังสยาธร และ อภิชาติ ใจอารีย์. (2558). การทำงานหลังเกษียณอายุราชการของบุคลากรสายวิชาการสังกัดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ในเขตกรุงเทพมหานคร. Veridian EJournal, Silpakorn University, 8(2), 2875-2891.
อรพินธ์ สพโชคชัย และ นพวรรณ ศรีเกตุ. (2556). การกำหนดนโยบายและแนวทางการดำเนินงานเพื่อรองรับปัญหาของสังคมสูงอายุของประเทศเกาหลีใต้. สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส).
Anjali Datéa and M. Katharine Berlinguette. (2019). Will my pension be enough Bridge employment
intentions of Canadian Armed Forces members. Journal of Military, 12(3), 23 – 39.
Atchley, R. C. (1989). A Continuity Theory of Normal Aging. The Gerontologist, 29(1), 34 – 44.
Barbara L. Rau and Gary A. Adams. (2012). Aging, Retirement and Human Resources Management: A
Strategic Approach. Oxford University Press.
Creswell, J. W. (1998). Qualitative inquiry and research design: Choosing among five traditions. SAGE.
Gong Xiuun. (2018). Empirical Reseach on Retirement Expectations in Chaina. Journal of Applied
Business and Economics, 20(9), 23 – 55.
Gregg Lunceford. (2017). What is Retirement in the 21st century? Weatherhead School of Management. Designing Sustainable Systems.
Herzberg, F. et al. (1959). The Motivation to work. John Wiley and Sons.
Maslow, A. H. (1943). A Theory of Human Motivation. Psychological Review, 50(4), 11-23.
Patton, M. Q. (1990). Qualitative evaluation and research methods (2nd ed.). CA: Sage.
Preeti Tarkar, Somesh Dhamija and Aruna Dhamija. (2016). An Analysis on Post Retirement Intention to
work: An Empirical Study. NMIMS Management Review, 20(9), 3 – 13.