การสื่อสารวัฒนธรรมร่วมในการใช้ชีวิตของแรงงานชาวกัมพูชา ในจังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

อภิวรรณ ศิรินันทนา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการการสื่อสารกับคนไทยของแรงงานชาวกัมพูชาในจังหวัดจันทบุรีเพื่อค้นหากลยุทธ์การสื่อสารกับแรงงานชาวกัมพูชาของคนไทยในจังหวัดจันทบุรี เพื่อเข้าใจปัญหาและอุปสรรคการสื่อสารระหว่างแรงงานชาวกัมพูชาและคนไทยในจังหวัดจันทบุรีการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาแบ่งเป็น 2 กลุ่มได้แก่ แรงงานชาวกัมพูชา จำนวน 15 คน และกลุ่มคนไทย จำนวน 15 คน โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง


          ผลการวิจัยพบว่า 1) วิธีการการสื่อสารกับคนไทยของแรงงานชาวกัมพูชาในจังหวัดจันทบุรี ได้แก่ มีวิธีการสื่อสาร วิธีการสื่อสารแบบการไม่แสดงออกให้เห็น  วิธีการสื่อสารแบบการแสดงออกให้เห็น และวิธีการสื่อสารแบบการแสดงออกให้เห็นชัดเจนมาก 2) กลยุทธ์การสื่อสารกับแรงงานชาวกัมพูชาของคนไทยในจังหวัดจันทบุรี ได้แก่ การใช้ล่ามแปลภาษา  การจัดทำคู่มือการทำงานให้กับแรงงานชาวกัมพูชา            การสาธิตการทำงานให้ดูเป็นตัวอย่าง และการไม่ใช้คำพูดกดขี่แรงงานชาวกัมพูชา  3) ปัญหาและอุปสรรคการสื่อสารระหว่างแรงงานชาวกัมพูชาและคนไทยในจังหวัดจันทบุรี  ได้แก่ อุปสรรคด้านความรู้และความคิด อุปสรรคด้านทัศนคติและความรู้สึก และอุปสรรคด้านพฤติกรรม 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลพร หิรัญบูรณะ. (2556). บทความวิจารณ์Intercultural Communication: Globalization
and Social Justice. วารสารวิชาการของสถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 12(3), 111-
116. ทรงพันธ์ ตันตระกูล. (2557). รูปแบบการนำเข้าแรงงานต่างด้าวเพื่อทำงานในประเทศไทยจากมุมมองนายจ้างใน
พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ณัฐกานต สุรพงษ์พิทักษ์. (2560).การสื่อสารกับแรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือในไซต์ก่อสร้าง. สาขาวิชาการจัดการ
โครงการก่อสร้าง ภาควิชาเทคนิคสถาปัตยกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
นภาพร อติวานิชยพงศ์และคณะ. (2560) แรงงานเพื่อนบ้านกับคนไทย : ทำงานและอยู่ร่วมกันด้วย
ความเข้าใจ. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ้งภากรณ์.
ปทิตตา คิมประโคน. (2551). การสื่อสารข้ามเชื้อชาติระหว่างคนไทยและคนไทยเชื้อสายอินเดีย.
กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พีรยุทธโอรพันธ์. (2551) การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายมลายูในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ของ
ประเทศไทยและชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยในรัฐกลันตันประเทศมาเลเซีย. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กรุงเทพฯ.
เมตตา วิวัฒนานุกูล. (2548). การสื่อสารต่างวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม.
กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัชรินทร์ ยงศิริ. (2547). เอเชียรายปี . กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคลังจังหวัดจันทบุรี. (2561). รายงานภาวะเศรษฐกิจจังหวัดจันทบุรีและการเพิ่มศักยภาพ
ในการพัฒนาเศรษฐกิจจันทบุรี โดยใช้สี่เสาหลักเศรษฐกิจเป็นตัวขับเคลื่อน. สำนักงาน
คลังจังหวัดจันทบุรี.
สุภางค์ จันทวานิช. (2555).ทฤษฎีสังคมวิทยา.กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เสาวธาร โพธิ์กลัด. (2554). ปัญหาของแรงงานข้ามชาติกรณีศึกษาแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่าใน
เขตพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. โครงการวิจัยบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธนบุรี.
องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน. (2552). การย้ายถิ่นข้ามชาติในประเทศไทย ฉบับปี 2552.
กรุงเทพฯ: พิมพ์ลักษณ์.
อนันต์ พันนึก. (2554). การวิจัยและพัฒนาโปรแกรมพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.